พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนสิทธิเรียกร้องและหนี้สินสมรส: กำหนดระยะเวลาฟ้องร้องและการหมดอายุความ
การที่โจทก์ฟ้องว่าสามีโจทก์นำสินสมรสออกให้จำเลยที่ 1 กู้ และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนสามีโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นการกล่าวหาว่าสามีโจทก์จัดการสินสมรสโดยฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1476 (เดิม) และมาตรา 1476 (5) ใหม่ โจทก์ในฐานะคู่สมรสฝ่ายที่ได้รับความเสียหายมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้กู้เงินและการสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ดังกล่าวได้ตามมาตรา 1480 ที่บัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ไว้ ซึ่งเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะอยู่แล้ว จะนำบทบัญญัติกรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิในฐานะเจ้าของทรัพย์สินติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนตามมาตรา 1336 และบทบัญญัติเรื่องกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1357 ถึง 1366 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
แม้ปรากฏว่าสามีโจทก์ให้จำเลยที่ 1 กู้เงินในปี 2528 อันเป็นเวลาก่อนที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. (ฉบับที่ 10)ฯ ใช้บังคับ และแม้โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2539 ซึ่งเป็นเวลาที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 63 ให้ใช้กฎหมายก่อนการแก้ไขบังคับซึ่งการเพิกถอนการให้กู้เงินกรณีเช่นนี้ มาตรา 1480 วรรคสาม (เดิม) บัญญัติให้นำความมาตรา 240 มาใช้บังคับโอยอนุโลม อันหมายความว่า โจทก์ต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่รู้เหตุให้เพิกถอนหรือสิบปีนับแต่วันทำนิติกรรมดังกล่าว ดังนั้น ฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการกู้เงินระหว่างสามีโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำนิติกรรม ส่วนกรณีที่สามีโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้แทนสามีโจทก์นั้น ระยะเวลาการเพิกถอนนิติกรรมตามกฎหมายทั้งสองฉบับคงเหมือนเดิม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทราบเรื่องดังกล่าวอย่างช้าภายในเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งเกินกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความทั้งสองกรณี
แม้ปรากฏว่าสามีโจทก์ให้จำเลยที่ 1 กู้เงินในปี 2528 อันเป็นเวลาก่อนที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. (ฉบับที่ 10)ฯ ใช้บังคับ และแม้โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2539 ซึ่งเป็นเวลาที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 63 ให้ใช้กฎหมายก่อนการแก้ไขบังคับซึ่งการเพิกถอนการให้กู้เงินกรณีเช่นนี้ มาตรา 1480 วรรคสาม (เดิม) บัญญัติให้นำความมาตรา 240 มาใช้บังคับโอยอนุโลม อันหมายความว่า โจทก์ต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่รู้เหตุให้เพิกถอนหรือสิบปีนับแต่วันทำนิติกรรมดังกล่าว ดังนั้น ฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการกู้เงินระหว่างสามีโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำนิติกรรม ส่วนกรณีที่สามีโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้แทนสามีโจทก์นั้น ระยะเวลาการเพิกถอนนิติกรรมตามกฎหมายทั้งสองฉบับคงเหมือนเดิม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทราบเรื่องดังกล่าวอย่างช้าภายในเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งเกินกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความทั้งสองกรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกและการเพิกถอนนิติกรรม: ทรัพย์ที่ซื้อด้วยเงินจากมรดกไม่ใช่ทรัพย์มรดกเดิม
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านระหว่างจำเลยกับ ท. บิดาโจทก์ทั้งเจ็ด เป็นการฟ้องเรียกให้ได้ที่ดินและบ้านกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งเจ็ด จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาที่ดินและบ้านนั้นและเมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องโดยอ้างว่า โจทก์แต่ละคนมีสิทธิในที่ดินและบ้านคนละ 1 ใน 8 ส่วนเท่ากัน จึงเป็นหนี้อันอาจแบ่งแยกได้ ต้องถือทุนทรัพย์แยกกันตามรายตัวโจทก์ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดมีคำขอให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านคืนหากไม่สามารถทำได้ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1,000,000 บาท จำนวนหนี้ตามสิทธิของโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ทั้งเจ็ดฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์ทั้งเจ็ดฟังได้ว่า ท. ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านแทนโจทก์ทั้งเจ็ด การขายที่ดินและบ้านแก่จำเลยเป็นเจตนาลวงและเป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งเจ็ด โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและบ้านได้ และจำเลยต้องชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งเจ็ด ล้วนเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ท. ขายที่ดินมรดกบางส่วนไปในขณะที่ยังไม่มีการแบ่งปันมรดกแล้วนำเงินที่ได้ไปซื้อที่ดินแปลงอื่น ที่ดินที่ซื้อมานั้นไม่ถือว่าเป็นทรัพย์ที่มีสถานะเช่นเดียวกับทรัพย์มรดกที่จะนำมาแบ่งปันแก่ทายาท ดังนั้น การที่ ท. โอนที่ดินที่ซื้อมาดังกล่าวให้แก่จำเลย โจทก์ทั้งเจ็ดไม่อาจฟ้องร้องขอให้เพิกถอนได้ คงมีสิทธิฟ้องร้องขอให้เพิกถอนได้เฉพาะการโอนขายที่ดินที่เป็นมรดกแปลงแรกเท่านั้น
ท. ขายที่ดินมรดกบางส่วนไปในขณะที่ยังไม่มีการแบ่งปันมรดกแล้วนำเงินที่ได้ไปซื้อที่ดินแปลงอื่น ที่ดินที่ซื้อมานั้นไม่ถือว่าเป็นทรัพย์ที่มีสถานะเช่นเดียวกับทรัพย์มรดกที่จะนำมาแบ่งปันแก่ทายาท ดังนั้น การที่ ท. โอนที่ดินที่ซื้อมาดังกล่าวให้แก่จำเลย โจทก์ทั้งเจ็ดไม่อาจฟ้องร้องขอให้เพิกถอนได้ คงมีสิทธิฟ้องร้องขอให้เพิกถอนได้เฉพาะการโอนขายที่ดินที่เป็นมรดกแปลงแรกเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023-2026/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินธรณีสงฆ์: ศาลเพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินสงฆ์ แม้เจ้าของที่ดินเดิมจะได้รับโฉนดโดยชอบ
นอกจากคดีนี้แล้วปรากฏว่าศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า การออกโฉนดในบริเวณรอบๆ องค์พระพุทธบาทไม่ชอบเป็นการออกทับที่ธรณีสงฆ์ของผู้ร้องสอด เจ้าหน้าที่ของรัฐหาได้คำนึงถึงเขตพุทธาวาส สังฆาวาส อันเป็นที่ธรณีสงฆ์แต่อย่างใด เมื่อพิจารณาพงศาวดารพระพุทธบาทแล้ว ทำให้เห็นศรัทธาของพระเจ้าทรงธรรมที่ทรงมีต่อองค์พระพุทธบาทอย่างแรงกล้า ทรงดั้นด้นเสด็จพระราชดำเนินทั้งทางน้ำและทางบก ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวยังมีสภาพเป็นป่า การเสด็จพระราชดำเนินกระทำด้วยความยากลำบาก พระองค์มิได้ทรงย่อท้อแต่อย่างใด ดังนั้นที่พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการอุทิศถวายที่ดินที่มีสภาพเป็นป่าในขณะนั้นออกไปเป็นบริเวณโดยรอบหนึ่งโยชน์ (400 เส้น) นั้น จึงสมเหตุสมผล ส่วนที่ต่อมาความเจริญเข้ามาสู่ที่ดินดังกล่าว ประกอบกับผู้ร้องสอดไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง จึงเป็นเหตุให้มีการรุกล้ำทั้งจากเอกชนและหน่วยราชการ รวมทั้งมีการออกโฉนดในที่ดินด้วย และเมื่อพิจารณาตำแหน่งที่ดินของโจทก์แล้ว จะเห็นได้ว่าอยู่ห่างจากวัดผู้ร้องสอดเพียง 20 เส้น จึงฟังได้ว่าเป็นที่ดินของผู้ร้องสอด แม้จะฟังได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในทำนองว่ามี พ.ร.ฎ. ในภายหลังเปลี่ยนสถานะที่ดินของผู้ร้องสอดไปแล้วเป็นเหตุให้ราษฎรสามารถมีกรรมสิทธิ์ได้นั้นก็ตาม แต่พระบรมราชโองการพระราชทานที่ดินมีศักดิ์ทางกฎหมายสูงกว่าพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น แม้จะออก พ.ร.ฎ. จริง ก็ไม่สามารถลบล้างพระบรมราชโองการได้ อีกทั้งที่ดินดังกล่าวอยู่ห่างจากวัดผู้ร้องสอดไม่มากเชื่อว่าผู้ร้องสอดสามารถดูแลได้ ดังจะเห็นได้ว่า ผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสี่เช่าอยู่อาศัยเพียงแต่ขณะที่มีการออกโฉนดทางเจ้าพนักงานมิได้แจ้งให้ผู้ร้องสอดทราบ จึงทำให้ผู้ร้องสอดไม่มีโอกาสคัดค้านการออกโฉนดดังกล่าว เมื่อการออกโฉนดดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ร้องสอดไม่ร้องขอให้เพิกถอน แต่เมื่อฟังได้ว่าที่ดินเป็นของผู้ร้องสอด ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาไม่สุจริตของกรรมการเกินอำนาจกระทบสิทธิลูกหนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องเพิกถอน
การที่จำเลยทำหนังสือเสนอแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยจำเลยใช้หัวกระดาษระบุชื่อโจทก์และสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของโจทก์ ทั้งใต้ลายมือชื่อของจำเลยระบุว่าจำเลยเป็นกรรมการโจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวทำให้บุคคลภายนอกทั่วไปเข้าใจไปได้ว่า จำเลยเสนอแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในนามของโจทก์ซึ่งขัดกับข้อบังคับอำนาจของกรรมการโจทก์ เป็นการแสดงเจตนาไม่สุจริตทำให้เข้าใจว่าจำเลยเสนอแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวในนามของโจทก์ ทั้งที่จำเลยไม่มีอำนาจทำการดังกล่าวได้เพราะขัดกับข้อบังคับอำนาจกรรมการกระทำการแทนโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงและได้เสนอแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อบรรษัท บ.ไปก่อนจำเลยแล้ว และทำให้การพิจารณาของบรรษัท บ. ซึ่งกำลังดำเนินการเกิดความล่าช้าเพราะต้องพิจารณาทั้งแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของโจทก์และของจำเลย เป็นเหตุให้ผู้ถือหุ้นผู้อื่นและบริษัทโจทก์ได้รับความเสียหายเพราะต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้นเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ให้เพิกถอนหนังสือที่จำเลยยื่นแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต้องไม่ซ้ำกับที่มีการเปิดเผยก่อนหน้า การเพิกถอนสิทธิบัตรและการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยอุทธรณ์อ้างว่า ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่ว่าโจทก์ยังไม่ได้ผลิตรั้วตะแกรงเหล็กสำเร็จรูปตามรูปแบบใหม่ออกจำหน่าย และอีกตอนหนึ่งที่ว่าโจทก์ยังอยู่ขั้นทดลองกระบวนการผลิต โจทก์จึงยังมิได้รับความเสียหายไม่นับเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตร นั้น เห็นว่า ตามคำบรรยายฟ้องและทางนำสืบที่คู่ความรับกันได้ความว่า จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นและดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ โดยกล่าวหาว่าโจทก์ผลิตสินค้าเลียนสินค้าของจำเลยที่จดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลย เลขที่ 9914, 9915, 9922 และ 9923 กอปรกับคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในอีกตอนหนึ่งและที่โจทก์นำสืบยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับแบบผลิตภัณฑ์ที่จำเลยได้รับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่ามิใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งหากเป็นจริงย่อมนับว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แบบผลิตภัณฑ์รั้วสำเร็จรูปตามสิทธิบัตรที่พิพาททั้ง 4 ฉบับของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับที่มีการตีพิมพ์อันเป็นการเปิดเผยและแพร่หลายอยู่ก่อนวันขอรับสิทธิบัตรของจำเลยตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จดทะเบียนทั้ง 4 ฉบับ จึงไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามความหมายของ พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 56 สิทธิบัตรทั้ง 4 ฉบับ ของจำเลยย่อมไม่สมบูรณ์ซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 64 แพ่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ
แบบผลิตภัณฑ์รั้วสำเร็จรูปตามสิทธิบัตรที่พิพาททั้ง 4 ฉบับของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับที่มีการตีพิมพ์อันเป็นการเปิดเผยและแพร่หลายอยู่ก่อนวันขอรับสิทธิบัตรของจำเลยตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จดทะเบียนทั้ง 4 ฉบับ จึงไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามความหมายของ พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 56 สิทธิบัตรทั้ง 4 ฉบับ ของจำเลยย่อมไม่สมบูรณ์ซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 64 แพ่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องเพิกถอนการยึดทรัพย์: ผู้ร้องต้องแสดงฐานะผู้มีส่วนได้เสียที่ชัดเจน
ผู้ร้องแถลงขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทเพราะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและผู้ร้องยังไม่ยื่นขอกับส่วนเงินที่จะได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท เหตุเพิกถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวจึงมิได้เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง ทั้งผู้ร้องบรรยายคำร้องเพียงว่า ผู้ร้องเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย และหากให้ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปจะมีปัญหาโต้แย้งระหว่างผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินส่วนหนึ่งกับผู้ซื้อ โดยไม่ปรากฏจากคำร้องว่า ผู้ร้องมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิใด จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่ดินพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8960/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการขายทอดตลาด: การฟ้องขับไล่ทำได้ แม้มีการขอเพิกถอน และการโอนสิทธิไม่กระทบอำนาจฟ้อง
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวจากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า โจทก์กระทำการโดยสุจริต ส่วนข้ออ้างของจำเลยที่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีรู้เห็นเป็นใจกับโจทก์ขายทอดตลาดในราคาต่ำเป็นเรื่องนอกคำให้การ มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงไม่รับวินิจฉัย ซึ่งเป็นเหตุผลคนละเหตุกับศาลชั้นต้น การที่จำเลยฎีกาโดยคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งสิ้น มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร และด้วยเหตุผลใด จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโจทก์ย่อมได้สิทธิในที่ดินและตึกแถวที่ซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 การที่จำเลยและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดก็เป็นเรื่องของการเพิกถอนการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 อีกส่วนหนึ่ง ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โจทก์ย่อมมีสิทธิในที่ดินและตึกแถวที่ซื้อจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสมบูรณ์ และมีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้อาศัยอยู่ในที่ดินและตึกแถวโดยไม่มีสิทธิให้ออกไปได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย และแม้ว่าโจทก์จะได้โอนขายที่ดินและตึกแถวให้แก่บุคคลอื่นขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ไม่มีผลทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่มีอยู่แล้วในขณะยื่นคำฟ้องหมดสิ้นไปแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและตึกแถวที่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวดังกล่าวยังเป็นของจำเลย เพราะการขายทอดตลาดไม่ชอบ และจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดไว้แล้ว ก็เพื่อประกอบข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่าโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องแย่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอันจะทำให้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ จึงไม่ชอบที่จะมีคำสั่งให้เรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากจำเลยอย่างคดีมีทุนทรัพย์
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโจทก์ย่อมได้สิทธิในที่ดินและตึกแถวที่ซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 การที่จำเลยและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดก็เป็นเรื่องของการเพิกถอนการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 อีกส่วนหนึ่ง ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โจทก์ย่อมมีสิทธิในที่ดินและตึกแถวที่ซื้อจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสมบูรณ์ และมีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้อาศัยอยู่ในที่ดินและตึกแถวโดยไม่มีสิทธิให้ออกไปได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย และแม้ว่าโจทก์จะได้โอนขายที่ดินและตึกแถวให้แก่บุคคลอื่นขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ไม่มีผลทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่มีอยู่แล้วในขณะยื่นคำฟ้องหมดสิ้นไปแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและตึกแถวที่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวดังกล่าวยังเป็นของจำเลย เพราะการขายทอดตลาดไม่ชอบ และจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดไว้แล้ว ก็เพื่อประกอบข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่าโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องแย่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอันจะทำให้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ จึงไม่ชอบที่จะมีคำสั่งให้เรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากจำเลยอย่างคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8316/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ศาลมีอำนาจสั่งวางเงินประกันและยกคำร้องหากไม่ปฏิบัติตาม
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 ไปในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงกรณีตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ซึ่งในวรรคสามของมาตราดังกล่าวให้นำวรรคห้าของมาตรา 296 มาใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง โดยอนุโลม มาตรา 296 วรรคห้า บัญญัติว่า "ในการยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรานี้... ฯลฯ... ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลนั้นได้ ถ้าผู้ยื่นคำร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 2 นำเงินจำนวน 4,000,000 บาท มาวางเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ภายในวันที่ 11 กันยายน 2549 จำเลยที่ 2 ไม่นำเงินมาวางภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีก เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 2 ดังนี้ คำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า ประกอบมาตรา 309 ทวิ วรรคสาม จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปอีก
การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องจะต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่า จะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 โดยเห็นว่าจำเลยที่ 2 โดยเห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องจะต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่า จะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 โดยเห็นว่าจำเลยที่ 2 โดยเห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8276/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเกี่ยวกับการเพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นที่สุดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้ไม่อุทธรณ์ได้
คดีนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คำสั่งของศาลตาม ป.วิ.พ. ตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง เป็นที่สุด ย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่รับอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 จึงยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ย่อมเป็นที่สุดตามวรรคสี่ จึงให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 จึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นโดยวินิจฉัยถึงเหตุเดียวกัน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 จึงฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งฉบับลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 โดยมิได้สั่งเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งฉบับลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 โดยมิได้สั่งเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8160/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยไม่จดทะเบียน & สิทธิในการเพิกถอนการจำนองที่ดินจากการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยชอบ
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แก่โจทก์โดยทำเป็นหนังสือ แต่ไม่ได้นำไปจดทะเบียนโอนสิทธิกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 4 ทวิ แต่จำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทและโอนการครอบครองโดยส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์และโจทก์เข้าครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตั้งแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายแล้วดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลง และโจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377 และ 1378 โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มา เมื่อจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่ดินพิพาทอีกต่อไป จึงไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นของตนและไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 เพราะผู้ที่จะจำนองทรัพย์สินได้ต้องเป็นเจ้าของในขณะนั้น การจำนองจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองสุจริตหรือไม่ เพราะสิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทน โดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง นั้นต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อการออกโฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิที่เกิดจากโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบดังกล่าวหาได้ไม่ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ ส่วนคำขอของโจทก์ที่ว่าให้จำเลยที่ 1 จดเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนจากจำเลยที่ 1 มาเป็นชื่อโจทก์นั้น เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ขอออกโฉนดโดยไม่ชอบดังที่ได้วินิจฉัยแล้วข้างต้น โจทก์จะขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่ เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ใน ป. ที่ดิน