พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,032 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7740/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดิน - เลิกสัญญา - คืนเงินมัดจำ - สิทธิครอบครอง
ที่ดินพิพาทมีเพียงสิทธิครอบครอง โจทก์ผู้จะขายทำสัญญากับจำเลยทั้งสองผู้จะซื้อว่า ที่ดินพิพาทราคา 1,500,000 บาท จะทำการโอนที่ดินใบ ภ.บ.ท.5 ให้แก่จำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองได้วางมัดจำให้โจทก์ไว้เป็นเงิน 730,000 บาท ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำเป็นแบบพิมพ์สำเร็จรูปซึ่งมีการกรอกข้อความไปตามรายการในแบบพิมพ์เพื่อให้เป็นหลักฐานเท่านั้น แต่โดยเจตนาของโจทก์และจำเลยทั้งสองแท้จริงแล้ว เป็นการทำสัญญาซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกัน เพราะที่ดินพิพาทไม่มีเอกสารแสดงสิทธิใดๆ คงมีเพียงสิทธิครอบครองโดยการยึดถือเท่านั้น จึงสามารถโอนการครอบครองแก่กันได้ด้วยวิธีส่งมอบที่ดินที่ครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 เมื่อโจทก์ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาครบถ้วน จำเลยทั้งสองย่อมมีหน้าที่ชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ แทนที่โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามสัญญา แต่โจทก์กลับมาฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ และจำเลยที่ 2 ก็ฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนเงินค่าที่ดินที่รับไว้จำนวน 730,000 บาท กรณีจึงถือได้ว่าคู่สัญญาต่างสมัครใจเลิกสัญญาซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทต่อกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18460/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์: การซื้อขายที่ดิน แม้ไม่มีสัญญาซื้อขาย และการครอบครองอย่างเปิดเผยต่อเนื่อง
เดิมจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 โจทก์เป็นบุตรเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งถึงแก่ความตายแล้วฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว พอจะแปลความหมายได้ว่า โจทก์ประสงค์ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากเจ้าของที่ดินพิพาท และครอบครองโดยความสงบ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะขอให้คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17430/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหนี้จากการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน: สัญญาที่สมบูรณ์และผลบังคับใช้ได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ ซึ่งรวมทั้งบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. ด้วย โดยรัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขวิกฤตของบริษัทต่างๆ ดังกล่าว ด้วยการออก พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 จัดตั้งองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เพื่อดำเนินการแก้ไขฟื้นฟู ชำระบัญชีของบริษัทดังกล่าว ทั้งยังให้อำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในวัตถุประสงค์ขององค์การ ซึ่งรวมทั้งอำนาจถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง แลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักรโดยมีคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 16 (3) กำหนดวิธีการชำระบัญชีและขายทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการที่ไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ ดังนี้ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โดยคณะกรรมการดังกล่าวจึงมีอำนาจขายทรัพย์สินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. ซึ่งรวมทั้งหนี้ของจำเลยทั้งสองได้
แม้โจทก์จะไม่ใช่ผู้ประมูลซื้อหนี้ดังกล่าวกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โดยตรง และขณะนั้นโจทก์ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่อำนาจการจัดการทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกระงับกิจการเป็นอำนาจขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โดยตรงที่จะจัดการขาย โอนหรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกระงับกิจการได้ตามมาตรา 8 (1) ดังนั้น การที่บริษัท ล. ซึ่งเป็นผู้ประมูลหนี้ดังกล่าวได้จากการขายขององค์กรเพื่อปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โอนสิทธิการซื้อดังกล่าวให้แก่โจทก์ในขณะที่โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว โดยองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นผู้กระทำการแทนผู้ขายคือสถาบันการเงินที่ถูกระงับ จึงเป็นอำนาจขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ที่จะกระทำเช่นนั้นได้
แม้โจทก์จะไม่ใช่ผู้ประมูลซื้อหนี้ดังกล่าวกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โดยตรง และขณะนั้นโจทก์ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่อำนาจการจัดการทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกระงับกิจการเป็นอำนาจขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โดยตรงที่จะจัดการขาย โอนหรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกระงับกิจการได้ตามมาตรา 8 (1) ดังนั้น การที่บริษัท ล. ซึ่งเป็นผู้ประมูลหนี้ดังกล่าวได้จากการขายขององค์กรเพื่อปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โอนสิทธิการซื้อดังกล่าวให้แก่โจทก์ในขณะที่โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว โดยองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นผู้กระทำการแทนผู้ขายคือสถาบันการเงินที่ถูกระงับ จึงเป็นอำนาจขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ที่จะกระทำเช่นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17094/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง: การซื้อขายที่ดินและการครอบครองเพื่อเป็นเจ้าของ
คำให้การของจำเลยตอนต้นเป็นการกล่าวให้เห็นที่มาของการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทว่าเนื่องมาจากการซื้อจากบุคคลภายนอกโดยมิได้ทำสัญญาซื้อขายกันเพื่อให้เห็นเหตุและเจตนาในการเข้าครอบครอง ส่วนที่ให้การต่อมาว่า จากนั้นจำเลยและครอบครัวจึงเข้าครอบครองทำประโยชน์โดยสงบ เปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 40 ปี ก็เพื่อให้เห็นว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นแล้วโดยการครอบครอง อันเป็นการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกับโจทก์ คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ถือว่าขัดแย้งกัน หากแต่เป็นการลำดับที่มาของการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่แรกจนได้กรรมสิทธิ์โดยชัดแจ้ง เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงต้องวินิจฉัยตามประเด็นดังกล่าวซึ่งจะต้องพิจารณาข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองแล้วหรือไม่ด้วย เพราะหากจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเสียแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงมิได้วินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13955/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์: การซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแม้ยังไม่ได้จดทะเบียน และการเพิกถอนการจดทะเบียนที่ไม่ชอบ
แม้โจทก์จะมิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน ค. ในการขายรถยนต์พิพาท โจทก์ก็นำสืบเรื่องดังกล่าวได้เพราะเป็นการสืบข้อเท็จจริงในรายละเอียด เนื่องจากในการติดต่อทำสัญญาซื้อขายกันอาจทำได้โดยตนเองหรือมีตัวแทนติดต่อทำสัญญาซื้อขายแทนกันก็ได้
ข้อความในสัญญาเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชำระราคาได้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทย่อมโอนไปยังผู้ซื้อทันทีแม้ยังไม่ได้จดทะเบียนรถยนต์พิพาทเป็นชื่อของโจทก์ก็ตาม การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนเปลี่ยนชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทเป็นการไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนโอนรถยนต์พิพาทตามฟ้องได้
ข้อความในสัญญาเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชำระราคาได้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทย่อมโอนไปยังผู้ซื้อทันทีแม้ยังไม่ได้จดทะเบียนรถยนต์พิพาทเป็นชื่อของโจทก์ก็ตาม การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนเปลี่ยนชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทเป็นการไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนโอนรถยนต์พิพาทตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10398/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีซื้อขายสินค้า: เริ่มนับจากวันส่งมอบสินค้า และวันหยุดราชการมีผลต่อการสิ้นสุดอายุความ
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549 จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ และเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 จำเลยลงชื่อรับสินค้าตามใบส่งของ การซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเข้าลักษณะสัญญาต่างตอบแทนที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ ฝ่ายเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันและฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน โจทก์จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินค้านับแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบจึงมีกำหนดอายุความสองปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ครบกำหนดสองปีในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาและเป็นวันหยุดราชการประจำปี ศาลหยุดทำการ แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา และอายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. ตั้งแต่มาตรา 193/1 ถึงมาตรา 193/8 ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ วันมาฆบูชาเป็นวันหยุดราชการเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันทั่วไป ศาลรู้ได้เองและหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ คู่ความไม่จำต้องนำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10185/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินส่วนหนึ่งกลายเป็นทางสาธารณะ โจทก์ซื้อที่ดินรวมส่วนสาธารณะแล้ว ไม่มีกรรมสิทธิ์ฟ้องรื้อถอน
ว. เจ้าของที่ดินเดิมมีเจตนาอุทิศที่ดินส่วนที่เป็นทางเดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะเพื่อให้ประชาชนใช้ร่วมกัน จึงย่อมมีผลให้ที่ดินส่วนที่เป็นทางเดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) ทันที โดยไม่จำต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อที่ดินส่วนที่เป็นทางเดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วก่อนที่ ว. จะขายที่ดินให้แก่โจทก์ กรณีจึงไม่จำต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่ประชาชนทั่วไปในละแวกนั้นจะได้ใช้ทางเดินพิพาท และเมื่อทางเดินพิพาทตกเป็นทางสาธารณประโยชน์เสียก่อนแล้ว การที่จำเลยได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานทางเดินพิพาทตามแนวทางเดินเดิมที่ตกเป็นทางสาธารณประโยชน์แล้ว ทางเดินพิพาทจึงมิอาจโอนให้แก่กันได้โดยทางนิติกรรม เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 29420 ซึ่งรวมเอาทางเดินพิพาทไว้ด้วยภายหลังจากที่ทางเดินพิพาทตกเป็นทางสาธารณประโยชน์แล้ว โจทก์ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9782/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายยางแผ่นดิบ รมควัน และการชำระหนี้ดอกเบี้ย ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นความขัดแย้งของคำให้การ และการคิดดอกเบี้ย
คำให้การของจำเลยทั้งสอง ข้อ 1.1 จำเลยที่ 1 ให้การว่า ได้รมควันแผ่นยางดิบที่ได้รับจากโจทก์ และส่งมอบแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยอมรับข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างรมควันยางแผ่นดิบให้แก่โจทก์และส่งมอบแผ่นยางดิบรมควันคืนแก่โจทก์ตามสัญญาครบถ้วนแล้วส่วนคำให้การของจำเลยทั้งสอง ข้อ 1.2 จำเลยที่ 1 ปฏิเสธว่า ไม่เคยได้รับมอบยางแผ่นดิบจากโจทก์ เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยได้รับมอบยางแผ่นดินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องคืนยางแผ่นดิบจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวมิได้กล่าวถึงยางจำนวนเดียวกัน จึงเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น โดยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง หาขัดแย้งกันไม่
โจทก์ซื้อยางแผ่นดิบตามฟ้องจากพ่อค้าหรือเกษตรกรตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้โจทก์กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อนำเงินไปซื้อยางแผ่นดิบในราคาสูงเพื่อพยุงราคายางพาราแก่เกษตรกรแล้วนำไปว่าจ้างจำเลยที่ 1 รมควันแล้วนำไปขาย โจทก์จะได้กำไรหรือขาดทุนจากการขายยางแผ่นดิบรมควันก็ขึ้นอยู่กับราคายางพารารมควันในท้องตลาดในขณะที่โจทก์นำไปขาย ดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องชำระแก่ธนาคารเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปจากการดำเนินการเพื่อพยุงราคายางพาราแก่เกษตรกรเท่านั้น หาได้เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามที่โจทก์ฎีกา ทั้งโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายสืบเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบยางแผ่นรมควันแก่โจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถนำยางแผ่นรมควันไปขายจนได้กำไรตามจำนวนที่ขอ หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถคืนแผ่นยางดิบแก่โจทก์ได้ โจทก์คงคิดดอกเบี้ยจากราคายางแผ่นดิบที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนแก่โจทก์ได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 7 เท่านั้น
โจทก์ซื้อยางแผ่นดิบตามฟ้องจากพ่อค้าหรือเกษตรกรตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้โจทก์กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อนำเงินไปซื้อยางแผ่นดิบในราคาสูงเพื่อพยุงราคายางพาราแก่เกษตรกรแล้วนำไปว่าจ้างจำเลยที่ 1 รมควันแล้วนำไปขาย โจทก์จะได้กำไรหรือขาดทุนจากการขายยางแผ่นดิบรมควันก็ขึ้นอยู่กับราคายางพารารมควันในท้องตลาดในขณะที่โจทก์นำไปขาย ดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องชำระแก่ธนาคารเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปจากการดำเนินการเพื่อพยุงราคายางพาราแก่เกษตรกรเท่านั้น หาได้เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามที่โจทก์ฎีกา ทั้งโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายสืบเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบยางแผ่นรมควันแก่โจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถนำยางแผ่นรมควันไปขายจนได้กำไรตามจำนวนที่ขอ หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถคืนแผ่นยางดิบแก่โจทก์ได้ โจทก์คงคิดดอกเบี้ยจากราคายางแผ่นดิบที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนแก่โจทก์ได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 7 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8956/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดทางละเมิดจากการซื้อขายสินค้าที่ผิดสัญญาระหว่างสมาชิกผู้จำหน่าย และการกระทำโดยสุจริตของผู้ซื้อ
จำเลยที่ 2 เป็นสมาชิกผู้จำหน่ายของโจทก์ ซื้อสินค้าจากโจทก์ในราคาสมาชิกแล้วจำหน่ายสินค้าให้แก่ จำเลยที่ 1 ซึ่งนำสินค้าเหล่านี้จำหน่ายต่อในราคาที่ต่ำกว่าที่ระบุไว้ที่บรรจุภัณฑ์ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงผิดสัญญาต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 เคยเป็นสมาชิกผู้จำหน่ายของโจทก์และทราบข้อกำหนดห้ามดังกล่าวแต่ขณะซื้อผลิตภัณฑ์ของโจทก์ จากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 มิได้เป็นสมาชิกผู้จำหน่ายของโจทก์ ข้อกำหนดห้ามดังกล่าว จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ให้ต้องปฏิบัติตามด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
แม้จำเลยที่ 1 จะรู้ว่าการที่จำเลยที่ 2 จำหน่ายสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิในการประกอบอาชีพค้าขายโดยเสรี ไปวางจำหน่ายในท้องตลาดเพื่อหากำไรตามอัตภาพ มิใช่กระทำโดยมุ่งประสงค์จะใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421 การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 เคยเป็นสมาชิกผู้จำหน่ายของโจทก์และทราบข้อกำหนดห้ามดังกล่าวแต่ขณะซื้อผลิตภัณฑ์ของโจทก์ จากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 มิได้เป็นสมาชิกผู้จำหน่ายของโจทก์ ข้อกำหนดห้ามดังกล่าว จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ให้ต้องปฏิบัติตามด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
แม้จำเลยที่ 1 จะรู้ว่าการที่จำเลยที่ 2 จำหน่ายสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิในการประกอบอาชีพค้าขายโดยเสรี ไปวางจำหน่ายในท้องตลาดเพื่อหากำไรตามอัตภาพ มิใช่กระทำโดยมุ่งประสงค์จะใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421 การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7130/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลายต้องมีกฎหมายเฉพาะรองรับ การซื้อขายโดยไม่มีกฎหมายรองรับไม่ทำให้ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้อง
การซื้อขายสิทธิเรียกร้องอันจะมีผลให้ผู้ซื้อมีสิทธิบังคับชำระหนี้หรือเข้าสวมสิทธิแทนเจ้าหนี้เดิมบังคับชำระหนี้เอาแก่ลูกหนี้นั้น จะต้องมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้กระทำได้ เช่น พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 หรือการขายทรัพย์สินที่เป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ผู้ร้องซื้อสิทธิเรียกร้องจากกองทุนรวม ก. เจ้าหนี้ในสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ในคดีล้มละลายตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กระทำ ผู้ร้องจึงไม่ได้รับมาซึ่งสิทธิในการได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2