พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,021 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการบอกเลิกสัญญาอนุญาโตตุลาการต่อข้อพิพาทที่เกิดขึ้นก่อนการบอกเลิก สัญญาฯ ยังมีผลบังคับ
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ผู้คัดค้านชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องตามคำชี้ขาดของอนุญาตโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากอนุญาโตตุลากรสมาคมประกันวินาศภัยไม่มีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องนั้น เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างว่าการบังคับตามคำชี้ขาดและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ. อนุญาตโตตุลาการฯ มาตรา 45 ประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 222 ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้
ตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยบทส่งท้าย ข้อ 35 ที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ร่วมกันทำขึ้นระบุว่า "คู่สัญญามีสิทธิถอนตัวออกจากความผูกพันตามสัญญานี้ได้โดยการมีหนังสือแจ้งการถอนตัวส่งถึงนายกสมาคมประกันวินาศภัยล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 60 วัน ก่อนวันที่การบอกเลิกมีผลบังคับ และผลแห่งการบอกเลิกสัญญานี้ไม่กระทบถึงเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวจะมีผล" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ามูลเหตุแห่งข้อพิพาทตามคำเสนอข้อพิพาทที่ผู้ร้องเสนอต่ออนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวของผู้คัดค้านจะมีผล ดังนั้น ผลแห่งการบอกเลิกสัญญาของผู้คัดค้านจึงไม่มีผลกระทบถึงเรื่องดังกล่าว ผู้ร้องและผู้คัดค้านยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยต่อไป แม้ผู้ร้องจะยื่นคำเสนอข้อพิพาทหลังจากการบอกเลิกสัญญามีผลแล้ว อนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยก็ยังมีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องได้
ตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยบทส่งท้าย ข้อ 35 ที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ร่วมกันทำขึ้นระบุว่า "คู่สัญญามีสิทธิถอนตัวออกจากความผูกพันตามสัญญานี้ได้โดยการมีหนังสือแจ้งการถอนตัวส่งถึงนายกสมาคมประกันวินาศภัยล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 60 วัน ก่อนวันที่การบอกเลิกมีผลบังคับ และผลแห่งการบอกเลิกสัญญานี้ไม่กระทบถึงเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวจะมีผล" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ามูลเหตุแห่งข้อพิพาทตามคำเสนอข้อพิพาทที่ผู้ร้องเสนอต่ออนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวของผู้คัดค้านจะมีผล ดังนั้น ผลแห่งการบอกเลิกสัญญาของผู้คัดค้านจึงไม่มีผลกระทบถึงเรื่องดังกล่าว ผู้ร้องและผู้คัดค้านยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยต่อไป แม้ผู้ร้องจะยื่นคำเสนอข้อพิพาทหลังจากการบอกเลิกสัญญามีผลแล้ว อนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยก็ยังมีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการมีผลต่อเนื่อง แม้มีการบอกเลิกสัญญา หากข้อพิพาทเกิดขึ้นก่อนบอกเลิก
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ผู้คัดค้านชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยทั้ง 16 คำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยไม่มีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องนั้น เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างว่าการบังคับตามคำชี้ขาดและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 222 ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้
สัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัย บทส่งท้าย ข้อ.35 ระบุว่า "คู่สัญญามีสิทธิถอนตัวออกจากความผูกพันตามสัญญานี้ได้โดยการมีหนังสือแจ้งการถอนตัวส่งถึงนายกสมาคมประกันวินาศภัยล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 60 วัน ก่อนวันที่การบอกเลิกมีผลบังคับ และผลแห่งการบอกเลิกสัญญานี้ไม่กระทบถึงเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวจะมีผล" เมื่อมูลเหตุแห่งข้อพิพาทตามคำเสนอข้อพิพาทที่ผู้ร้องเสนอต่ออนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวของผู้คัดค้านจะมีผล การบอกเลิกสัญญาของผู้คัดค้านจึงไม่มีผลกระทบถึงเรื่องดังกล่าว ผู้ร้องและผู้คัดค้านยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยกันต่อไป อนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยจึงมีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้อง
สัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัย บทส่งท้าย ข้อ.35 ระบุว่า "คู่สัญญามีสิทธิถอนตัวออกจากความผูกพันตามสัญญานี้ได้โดยการมีหนังสือแจ้งการถอนตัวส่งถึงนายกสมาคมประกันวินาศภัยล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 60 วัน ก่อนวันที่การบอกเลิกมีผลบังคับ และผลแห่งการบอกเลิกสัญญานี้ไม่กระทบถึงเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวจะมีผล" เมื่อมูลเหตุแห่งข้อพิพาทตามคำเสนอข้อพิพาทที่ผู้ร้องเสนอต่ออนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวของผู้คัดค้านจะมีผล การบอกเลิกสัญญาของผู้คัดค้านจึงไม่มีผลกระทบถึงเรื่องดังกล่าว ผู้ร้องและผู้คัดค้านยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยกันต่อไป อนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยจึงมีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9753/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแฟรนไชส์เป็นสัญญาต่างตอบแทน หากฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายก็มีสิทธิไม่ชำระหนี้ และไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
สัญญาแฟรนไชส์มีข้อตกลงที่ให้โจทก์นำเงินมาลงทุนประกอบการร้านแฟมิลี่มาร์ทโดยใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของจำเลย โจทก์เป็นผู้ประกอบการร้านแฟมิลี่มาร์ทและรับผิดชอบต่อลูกจ้างของตนในฐานะนายจ้าง โดยโจทก์จะต้องโอนเงินรายได้จากการขายสินค้าให้จำเลยและจำเลยจะจ่ายเงินปันผลกำไรประจำเดือนและเงินส่วนแบ่งกำไรสะสมให้โจทก์ สัญญาแฟรนไชส์ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
โจทก์ผิดสัญญาไม่ส่งเงินรายได้จากการขายให้จำเลย โดยที่สัญญาแฟรนไชส์ที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาแก่จำเลยก่อน โจทก์จะมาขอให้จำเลยส่งร้านให้โจทก์เข้าครอบครองไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบร้าน โจทก์จะอ้างเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้เช่นเดียวกัน
โจทก์ผิดสัญญาไม่ส่งเงินรายได้จากการขายให้จำเลย โดยที่สัญญาแฟรนไชส์ที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาแก่จำเลยก่อน โจทก์จะมาขอให้จำเลยส่งร้านให้โจทก์เข้าครอบครองไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบร้าน โจทก์จะอ้างเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9230/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้บริโภค, สัญญาซื้อขาย, การผิดสัญญา, อายุความ, การบอกเลิกสัญญา, หน้าที่ของผู้ขาย
จำเลยเป็นผู้เสนอขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่ ส. ป. และ ฉ. บุคคลทั้งสามจึงเป็นผู้บริโภคตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 3 ซึ่งมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 4 (4) เมื่อผู้บริโภคทั้งสามได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดสัญญาจะซื้อจะขายของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขายและได้ยื่นคำร้องขอต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโจทก์ ซึ่งโจทก์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม โจทก์ย่อมมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานอัยการโดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมอัยการ เพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่จำเลยในศาลและมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคทั้งสามที่ร้องขอได้ด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ขณะโจทก์นำเอกสารมาสืบ จำเลยไม่ได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ จึงถือได้ว่าจำเลยได้ยอมรับถึงการมีอยู่และความแท้จริงของต้นฉบับเอกสารนั้น รวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นถูกต้องกับต้นฉบับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารนั้นได้ตามมาตรา 93 (4) ((93 (1)) (เดิม))
โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า เป็นเรื่องละเมิดสิทธิผู้บริโภค แต่ตามคำบรรยายฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ในฐานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคใช้สิทธิของผู้บริโภคทั้งสามที่ถูกจำเลยละเมิดสิทธิโดยไม่ดำเนินการก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามกำหนดและส่งมอบจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้บริโภคทั้งสามตามสัญญา เป็นการใช้สิทธิดำเนินคดีแทนผู้บริโภคทั้งสามในการบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงต้องถืออายุความตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่อายุความละเมิดตามที่จำเลยอ้างต่อสู้ เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างผู้บริโภคทั้งสามกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยไม่พร้อมที่จะชำระหนี้แก่ผู้บริโภคทั้งสาม ผู้บริโภคทั้งสามจึงยังไม่ต้องชำระหนี้ที่เหลือแก่จำเลย เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แก่ผู้บริโภคทั้งสามภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากจำเลยไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญา เมื่อจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่เพิกเฉย จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาจึงเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดตั้งแต่เวลาที่รับไว้ตามมาตรา 391
ขณะโจทก์นำเอกสารมาสืบ จำเลยไม่ได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ จึงถือได้ว่าจำเลยได้ยอมรับถึงการมีอยู่และความแท้จริงของต้นฉบับเอกสารนั้น รวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นถูกต้องกับต้นฉบับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารนั้นได้ตามมาตรา 93 (4) ((93 (1)) (เดิม))
โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า เป็นเรื่องละเมิดสิทธิผู้บริโภค แต่ตามคำบรรยายฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ในฐานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคใช้สิทธิของผู้บริโภคทั้งสามที่ถูกจำเลยละเมิดสิทธิโดยไม่ดำเนินการก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามกำหนดและส่งมอบจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้บริโภคทั้งสามตามสัญญา เป็นการใช้สิทธิดำเนินคดีแทนผู้บริโภคทั้งสามในการบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงต้องถืออายุความตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่อายุความละเมิดตามที่จำเลยอ้างต่อสู้ เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างผู้บริโภคทั้งสามกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยไม่พร้อมที่จะชำระหนี้แก่ผู้บริโภคทั้งสาม ผู้บริโภคทั้งสามจึงยังไม่ต้องชำระหนี้ที่เหลือแก่จำเลย เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แก่ผู้บริโภคทั้งสามภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากจำเลยไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญา เมื่อจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่เพิกเฉย จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาจึงเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดตั้งแต่เวลาที่รับไว้ตามมาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8509/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายบ้านใหม่บกพร่อง ผู้ขายต้องแก้ไขก่อนโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ในการขายที่ดินพร้อมบ้านในโครงการ จำเลยได้ปลูกสร้างบ้านตัวอย่างให้ลูกค้าดู บ้านตัวอย่างจึงมีส่วนประกอบในการตัดสินใจซื้อ เชื่อว่าที่โจทก์ทั้งสองซื้อเพราะพอใจในคุณภาพการก่อสร้าง แม้วิธีการก่อสร้างบ้านที่จะส่งมอบแก่ลูกค้าอาจไม่เหมือนกับการสร้างบ้านตัวอย่างไปบ้างดังเช่นการเปลี่ยนวิธีสร้างจากก่ออิฐฉาบปูนตามบ้านตัวอย่างมาเป็นการใช้วัสดุสำเร็จรูป แต่คุณภาพการก่อสร้างในส่วนอื่นก็ควรจะใกล้เคียงกับบ้านตัวอย่าง และเมื่อโจทก์ทั้งสองพบเห็นการก่อสร้างบกพร่องก็เป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่จะขอให้จำเลยแก้ไข อันเป็นเรื่องปกติที่ผู้ต้องการจะซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยย่อมต้องการบ้านที่มีคุณภาพพร้อมจะเข้าอยู่อาศัยโดยมิพักต้องมาแก้ไขอีกหลังจากที่ตนเข้าอยู่อาศัยแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องดำเนินการให้ก่อนจะโอนกรรมสิทธิ์ แม้การแก้ไขจะทำให้จำเลยมีภาระต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอันเป็นไปตามข้อสัญญาที่โจทก์ทั้งสองกับจำเลยตกลงกันให้โจทก์ทั้งสองมีโอกาสตรวจสอบบ้านที่จะส่งมอบก่อนที่จะมีการโอนกรรมสิทธิ์กัน ดังนี้ เมื่อจำเลยรับว่าจำเลยยังไม่แก้ไขข้อบกพร่องให้โจทก์ทั้งสองเท่ากับยังมิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ของตนให้ครบ จำเลยทั้งสองจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะเรียกให้โจทก์ทั้งสองรับโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินตามสัญญา โจทก์ทั้งสองชอบที่จะบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8283/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจองซื้อขายผิดนัดชำระเงิน จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำและเบี้ยปรับตามสัญญา
โจทก์ทั้งสองผิดนัดไม่ชำระค่างวดตามกำหนด จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินค่างวดที่ 17 และที่ 18 ภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2541 แล้ว นับว่าเป็นการให้โอกาสโจทก์ทั้งสองในการปฏิบัติตามสัญญา ถือเป็นการกำหนดเวลาให้คู่สัญญาชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 แล้ว เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ชำระเงินค่างวดตามกำหนดรวม 2 งวดติดต่อกันและจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาแล้ว แต่โจทก์ทั้งสองเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาจองเพื่อจะซื้อขายที่ดินและโรงเรือนจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ทั้งสองเนื่องจากโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง แต่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองได้ชำระเงินค่าบ้านและที่ดินบางส่วนและเงินค่าอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อตกแต่งบ้านให้แก่จำเลยก่อนที่สัญญาจะเลิกกัน การที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยตกลงกันตามสัญญาว่าหากผู้จองผิดนัดไม่ชำระราคา ฯลฯ รวม 2 งวด ฯลฯ เมื่อผู้รับจองใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้ว ให้ผู้รับจองมีสิทธิริบเงินมัดจำและเงินที่ผ่อนชำระแล้วได้ทั้งหมดทันที ฯลฯ นั้น ทำให้ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และถ้าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
สำหรับเงินค่าอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อตกแต่งบ้านนั้น มิใช่เงินมัดจำหรือเงินที่ผ่อนชำระตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงไม่ใช่เบี้ยปรับที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ แต่เป็นเงินค่าการงานที่จำเลยได้กระทำให้ก่อนเลิกสัญญา ดังนั้น เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว โจทก์ทั้งสองจะต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นเพื่อให้จำเลยได้กลับสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสาม จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินนี้แก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนเงินค่างวดเป็นเงินที่โจทก์ทั้งสองผ่อนชำระให้แก่จำเลย จึงเป็นเบี้ยปรับตามสัญญา เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของจำเลยทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นสมควรให้จำเลยริบเบี้ยปรับได้บางส่วน และที่โจทก์ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงริบเงินค่างวดที่โจทกทั้งสองชำระไปแล้วตามสัญญาได้ เมื่อศาลฎีกาพิพากษาลดเบี้ยปรับลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ให้จำเลยคืนเบี้ยปรับบางส่วนให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองหามีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเบี้ยปรับที่ได้รับคืนนั้นไม่เพราะการที่จำเลยรับเงินค่างวดดังกล่าวไว้เป็นการใช้สิทธิโดยชอบ
สำหรับเงินค่าอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อตกแต่งบ้านนั้น มิใช่เงินมัดจำหรือเงินที่ผ่อนชำระตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงไม่ใช่เบี้ยปรับที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ แต่เป็นเงินค่าการงานที่จำเลยได้กระทำให้ก่อนเลิกสัญญา ดังนั้น เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว โจทก์ทั้งสองจะต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นเพื่อให้จำเลยได้กลับสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสาม จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินนี้แก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนเงินค่างวดเป็นเงินที่โจทก์ทั้งสองผ่อนชำระให้แก่จำเลย จึงเป็นเบี้ยปรับตามสัญญา เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของจำเลยทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นสมควรให้จำเลยริบเบี้ยปรับได้บางส่วน และที่โจทก์ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงริบเงินค่างวดที่โจทกทั้งสองชำระไปแล้วตามสัญญาได้ เมื่อศาลฎีกาพิพากษาลดเบี้ยปรับลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ให้จำเลยคืนเบี้ยปรับบางส่วนให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองหามีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเบี้ยปรับที่ได้รับคืนนั้นไม่เพราะการที่จำเลยรับเงินค่างวดดังกล่าวไว้เป็นการใช้สิทธิโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7153/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ (ว่าความ) สิทธิบอกเลิกสัญญาและค่าเสียหาย กรณีจ้างไม่แล้วเสร็จ
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของจึงอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. โจทก์ในฐานะผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญา (ถอนจากการเป็นทนายความ) ได้ตราบใดที่การที่จ้างยังทำไม่ได้แล้วเสร็จ เพียงแต่โจทก์จะต้องเสียค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลยผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 605 แต่ข้อสัญญาจ้างว่าความที่กำหนดห้ามโจทก์บอกเลิกสัญญามิได้ห้ามเด็ดขาดเพียงแต่หากเลิกสัญญา โจทก์จะต้องชำระค่าทนายความ (ค่าจ้าง) ที่ค้างอยู่ทั้งหมดทันทีเท่านั้น ข้อสัญญานี้จึงไม่ตกเป็นโมฆะ ส่วนข้อสัญญาให้โจทก์ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดชำระค่าจ้างที่ค้างอยู่ทั้งหมดนั้น ก็เป็นข้อตกลงที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลใช้บังคับได้เช่นกัน ดังนั้น เมื่อสัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของ ผู้ว่าจ้างจะชำระค่าจ้างเต็มตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้รับจ้างทำการที่จ้างแล้วเสร็จ เมื่อจำเลยยังทำการที่จ้างไม่แล้วเสร็จจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน การที่ตกลงให้โจทก์ผู้ว่าจ้างรับผิดเต็มจำนวน จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7153/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างทำของ (ทนายความ) และการกำหนดค่าเสียหายเบื้องต้น (เบี้ยปรับ)
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของจึงตกอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 7 โจทก์ในฐานะผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญา (ถอนจากการเป็นทนายความ) ได้ตราบใดที่การที่จ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ เพียงแต่โจทก์จะต้องเสียค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 605 แต่ข้อสัญญาจ้างว่าความที่กำหนดห้ามโจทก์บอกเลิกสัญญามิได้ห้ามเด็ดขาดเพียงแต่หากเลิกสัญญา โจทก์จะต้องชำระค่าทนายความ (ค่าจ้าง) ที่ค้างอยู่ทั้งหมดทันทีเท่านั้น ข้อสัญญานี้จึงไม่ตกเป็นโมฆะ ส่วนข้อสัญญาให้โจทก์ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดชำระค่าจ้างที่ค้างอยู่ทั้งหมดนั้น ก็เป็นข้อตกลงที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลใช้บังคับได้เช่นกัน ผู้ว่าจ้างจะชำระค่าจ้างเต็มตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้รับจ้างทำการที่จ้างแล้วเสร็จ เมื่อจำเลยที่ 1 ยังทำการที่จ้างไม่แล้วเสร็จจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน การที่ตกลงให้โจทก์ผู้ว่าจ้างรับผิดเต็มจำนวน จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดและก่อสร้างสาธารณูปโภคไม่ครบถ้วน โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย
จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ได้ตามกำหนดเวลาในสัญญา และไม่ได้ก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ให้ตรงตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 ดังนั้น เมื่อสิทธิเลิกสัญญาเมื่อเกิดขึ้นมีอยู่แล้วย่อมใช้ได้โดยฝ่ายที่มีสิทธิเลิกนั้นแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง การแสดงเจตนาจะทำอย่างไร และมีผลขึ้นเมื่อใดต้องไปตามหลักนิติกรรมและการแสดงเจตนาตาม ป.พ.พ. มาตรา 149, 150 และมาตรา 168 เมื่อโจทก์เบิกความว่า สิ้นปี 2541 จำเลยก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญา โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืน แต่พนักงานของจำเลยอ้างว่าต้องปรึกษาคณะกรรมการก่อนแล้วเพิกเฉยไม่ชำระเงินคืนให้แก่โจทก์ ซึ่ง ว. เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านยอมรับว่า หลังครบกำหนดในปี 2541 โจทก์เคยไปขอเงินคืน แต่จำเลยไม่ได้คืนเงินให้โจทก์ แสดงว่าเมื่อจำเลยผิดนัดไม่โอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยได้แสดงเจตนาทวงถามเงินคืนให้จำเลยทราบ จึงถือว่าชอบตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ทั้งโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาก่อนที่จำเลยจะมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว มิพักต้องบอกกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 393 ทั้งไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจถือเอาเงื่อนเวลาการส่งมอบห้องชุดเป็นสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า, การคิดค่าเช่าค้างชำระ, ค่าป่วยการ, การบอกเลิกสัญญา, การรื้อถอนอาคาร
แม้หนังสือมอบอำนาจของจำเลยจะระบุข้อความให้ ผ. ลงนามในสัญญาจ้างมิใช่สัญญาเช่าก็ตาม แต่ก็มีข้อความต่อไปว่าเพื่อการอนุญาตเช่าที่ดินของการรถไฟ ฯ เพื่อตั้งสำนักงานหน่วยงานที่พักระหว่างสถานีธนบุรี - ตลิ่งชัน เมื่ออ่านข้อความทั้งหมดประกอบแล้ว ย่อมเห็นเจตนาอันแท้จริงของจำเลยได้ว่าจำเลยประสงค์มอบอำนาจให้ ผ. ไปลงนามในสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์
การที่ ธ. พนักงานของโจทก์ลงนามในสัญญาเช่าโดยมิได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แม้จะถือไม่ได้ว่าทำในฐานะผู้แทนโจทก์ แต่โจทก์ได้รับเอาผลแห่งนิติกรรมนั้นโดยได้ฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมล่วงพ้นระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสอง แต่มาตรา 87 (2) ได้บัญญัติว่า แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้เมื่อ ว. และเอกสารหมาย จ.9 เป็นพยานสำคัญในคดี ทั้งจำเลยได้มีโอกาสถามค้านและนำพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ ไม่ทำให้จำเลยต้องเสียเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ซึ่งเป็นกรณีที่ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในการที่จะให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นสำคัญในคดีเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานสำคัญนั้น ศาลจึงมีอำนาจรับฟังคำเบิกความของ ว. และเอกสารหมาย จ.9 เป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้
เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว จำเลยยังคงอยู่ในที่เช่าต่อไป โดยโจทก์รู้แล้วไม่ทักท้วง ถือว่าโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 ซึ่งข้อตกลงอื่นตามสัญญาใหม่ย่อมต้องเป็นไปตามสัญญาเดิม
จำเลยได้ออกจากพื้นที่เช่าเดือนมิถุนายน 2541 แล้ว โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่เช่าตั้งแต่วันที่เท่าใด คงได้ความจากหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์ว่า โจทก์กำหนดให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่เช่าภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2541 จึงต้องฟังให้เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นว่า จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่เช่าตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2541
การที่ ธ. พนักงานของโจทก์ลงนามในสัญญาเช่าโดยมิได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แม้จะถือไม่ได้ว่าทำในฐานะผู้แทนโจทก์ แต่โจทก์ได้รับเอาผลแห่งนิติกรรมนั้นโดยได้ฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมล่วงพ้นระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสอง แต่มาตรา 87 (2) ได้บัญญัติว่า แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้เมื่อ ว. และเอกสารหมาย จ.9 เป็นพยานสำคัญในคดี ทั้งจำเลยได้มีโอกาสถามค้านและนำพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ ไม่ทำให้จำเลยต้องเสียเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ซึ่งเป็นกรณีที่ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในการที่จะให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นสำคัญในคดีเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานสำคัญนั้น ศาลจึงมีอำนาจรับฟังคำเบิกความของ ว. และเอกสารหมาย จ.9 เป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้
เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว จำเลยยังคงอยู่ในที่เช่าต่อไป โดยโจทก์รู้แล้วไม่ทักท้วง ถือว่าโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 ซึ่งข้อตกลงอื่นตามสัญญาใหม่ย่อมต้องเป็นไปตามสัญญาเดิม
จำเลยได้ออกจากพื้นที่เช่าเดือนมิถุนายน 2541 แล้ว โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่เช่าตั้งแต่วันที่เท่าใด คงได้ความจากหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์ว่า โจทก์กำหนดให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่เช่าภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2541 จึงต้องฟังให้เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นว่า จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่เช่าตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2541