พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10026/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวน – กรณีล่วงเลยกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 เห็นว่า คำให้การจำเลยไม่ชัดแจ้ง คดีไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องไม่ชอบ พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี หมายถึงให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามรูปคดีคือ หากมีประเด็นข้อพิพาทอื่นที่ต้องสืบพยานก็ให้สืบพยานต่อไปแล้วพิพากษาคดีใหม่ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 มิได้พิพากษาเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานและสืบพยานโจทก์และจำเลยไปแล้วจึงยังมีกระบวนพิจารณาดังกล่าวอยู่ จำเลยไม่อาจอาศัยเหตุการย้อนสำนวนขอยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเพื่อจะได้มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอำนาจฟ้องได้ ทั้งคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถาน จำเลยต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน จึงเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลาง: กำหนดเวลาหนึ่งปีนับจากวันสิ้นสุดสิทธิอุทธรณ์
การขอคืนของกลางตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 36 ซึ่งเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดย่อมมีสิทธิขอคืนต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบรถกระบะของกลางเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561 จำเลยย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 จำเลยไม่ได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์และไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ โจทก์ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์แต่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในเวลาที่ขยายไว้ สิทธิที่ผู้ร้องจะขอคืนของกลางต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดจึงต้องนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6248/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์และการครอบครองปรปักษ์: การยื่นคำร้องขัดทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ผู้ร้องยื่นคำร้องให้ปล่อยทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2560 และประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกในวันที่ 31 มกราคม 2561 โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2561 ซึ่งตามมาตรา 288 (เดิม) ให้ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอก่อนการขายทอดตลาด แต่มาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ มีผลให้ใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560 ให้ยื่นคำร้องขอภายใน 60 วัน นับแต่ที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แม้มาตรา 21 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560 จะบัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ไม่มีผลกระทบถึงกระบวนพิจารณาของศาลและกระบวนวิธีการบังคับของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ได้กระทำไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ" ก็ตาม แต่ก็มิได้มีข้อความบัญญัติต่อไปว่า และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่เริ่มดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวจนถึงที่สุดแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2560 การยื่นคำร้องขัดทรัพย์นับแต่นั้นจึงต้องดำเนินการตามความในมาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมาตรา 323 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยื่นคำร้องภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคำร้องขอภายในระยะเวลาดังกล่าว บุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และได้ยื่นคำร้องขอไม่ช้ากว่า 7 วัน ก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรก คดีนี้เมื่อมีการยึดที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างก่อนวันที่มาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ ใช้บังคับเช่นนี้ การที่จะให้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่กฎหมายใช้บังคับ ก็ไม่มีกฎหมายระบุให้เป็นเช่นนั้น กรณีถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษแล้ว และการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ไม่ช้ากว่า 7 วัน ก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดครั้งแรกจึงเป็นการยื่นคำร้องขัดทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5520/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมสัญญาประกันภัย: กำหนดเวลาบอกล้าง & การคิดดอกเบี้ย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 175 โมฆียะกรรมในนิติกรรมที่เกิดจากความบกพร่องในความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์ ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ การแสดงเจตนาเพราะสำคัญผิดถูกฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่ รวมถึงบุคคลวิกลจริต และบัญญัติให้มีสิทธิบอกล้างได้ และตามมาตรา 177 ยังบัญญัติว่าอาจให้สัตยาบันเพื่อให้เป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ตั้งแต่เริ่มแรกได้ จึงชี้ชัดว่าโมฆียะกรรมไม่ใช่บทบังคับให้นิติกรรมเสียไปเลยเป็นโมฆะกรรม แต่ขึ้นอยู่กับคู่สัญญาที่แสดงเจตนาทราบเหตุแห่งโมฆียะกรรมแล้วยังคงประสงค์ที่จะให้นิติกรรมดังกล่าวนั้นมีผลบังคับหรือไม่ บทบัญญัติเกี่ยวกับการบอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่ใช่บทบัญญัติเคร่งครัดและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาจึงสามารถตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมโดยแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง ได้ กรณีที่สมาชิกผู้เอาประกันไม่เปิดเผยความจริงหรือแถลงข้อความเท็จ บริษัทจะบอกล้างสัญญาภายในหนึ่งปีนับแต่วันทำสัญญา ทั้งตามเอกสารหมาย ล.6 ส่วนที่ 3 ข้อกำหนดทั่วไปข้อที่ 2 ระบุว่าบริษัทจะไม่โต้แย้งหรือคัดค้านความไม่สมบูรณ์ของสัญญาประกันภัยที่มีผลบังคับมาเป็นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่กรมธรรม์มีผลบังคับ สัญญาจึงมีผลผูกพันผู้ตายกับจำเลย จำเลยไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกล้างเกินกว่าระยะเวลาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3159/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีหลังพ้นกำหนดไม่เป็นอุปสรรคการฟ้องคัดค้านการประเมินภาษี และการตีความ 'ค่าภาษีทั้งสิ้น'
เมื่อพิจารณาถึงความเชื่อมโยงจากมาตรา 38 วรรคหนึ่ง มาตรา 38 ทวิ วรรคหนึ่ง และมาตรา 39 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แล้ว คำว่า "ค่าภาษีทั้งสิ้น" ตามมาตรา 39 ให้หมายความถึงค่าภาษีซึ่งถึงกำหนดชำระและค่าภาษีที่มีสิทธิผ่อนชำระ นอกจากนี้ พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 บัญญัติเรื่อง "ค่าภาษี" ไว้ในหมวด 2 การเก็บภาษี ซึ่งเป็นเรื่องภาษีตามการประเมิน ส่วนคำว่า "เงินเพิ่ม" ถูกบัญญัติไว้ในหมวด 3 ค่าภาษีค้าง ในมาตรา 42 ถึงมาตรา 44 แยกกันต่างหาก โดยไม่มีบทบัญญัติกำหนดหรือนิยามคำว่า "ค่าภาษีทั้งสิ้น" ตามความหมายบทบัญญัติแห่งมาตรา 39 ให้รวมถึงเงินเพิ่มด้วย จึงไม่อาจตีความว่าก่อนการยื่นฟ้องต่อศาลผู้รับประเมินต้องชำระเงินเพิ่มอันเป็นภาษีอากรค้างด้วย ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายอื่น หากต้องการให้เงินเพิ่มถือเป็นเงินค่าภาษีจะต้องมีบทบัญญัติไว้ชัดเจน อีกทั้งเมื่อพิจารณาบทบัญญัติในมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ซึ่งบัญญัติให้อำนาจผู้บริหารท้องถิ่นออกคำสั่งยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระค่าภาษีเพื่อนำเงินมาชำระเป็นค่าภาษี เงินเพิ่ม ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่าย แสดงว่าวัตถุประสงค์ของกฎหมายต้องการให้แยกคำว่า "ค่าภาษี" ซึ่งเป็นค่าภาษีตามการประเมินในหมวด 2 กับคำว่า "เงินเพิ่ม" ในหมวด 3 ออกจากกัน ดังนั้น ค่าภาษีทั้งสิ้นตามความมุ่งหมายในมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จึงไม่อาจรวมถึงเงินเพิ่มอันเกิดจากการมิได้ชำระค่าภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดด้วย
สิทธิฟ้องร้องคัดค้านการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินคงขึ้นอยู่กับความในมาตรา 31 กับมาตรา 39 เท่านั้น การชำระค่าภาษีตามมาตรา 38 เป็นเพียงหลักปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับผู้รับประเมินจะไปชำระค่าภาษีได้ที่ใดและเมื่อใด เป็นเรื่องของการเก็บภาษีในกรณีธรรมดาทั่วไป ซึ่งหากมิได้ชำระภายในเวลาที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 38 ตามมาตรา 42 บัญญัติให้ถือว่าเป็นค่าภาษีค้างชำระอันจะต้องเสียเงินเพิ่ม รวมทั้งอาจถูกบังคับคดียึดอายัดทรัพย์ขายทอดตลาด เพื่อเอาเงินมาเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 43 และมาตรา 44 ต่อไปด้วย อันเป็นคนละเรื่องกับสิทธิในการฟ้องคดี การไม่ชำระค่าภาษีตามมาตรา 38 จึงไม่ได้เป็นสาระสำคัญหรือเงื่อนไขในการฟ้องคดี เพราะหากเป็นกรณีพ้นกำหนดเวลาชำระค่าภาษีไปแล้ว ขณะฟ้องก็ต้องชำระค่าภาษีเสียก่อนฟ้องเช่นเดียวกัน
โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.8) ประจำปีภาษี 2560 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 เป็นค่าภาษีจำนวน 1,092,823.25 บาท ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ (ภ.ร.ด.9) ซึ่งจำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดตามการประเมินให้ชำระค่าภาษีจำนวน 1,092,823 บาท โจทก์ทราบคำชี้ขาดดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 และชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นเงิน 1,092,823 บาท ตามที่ได้ระบุไว้ในใบแจ้งคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2560 ซึ่งเป็นเวลาก่อนโจทก์ฟ้องคดี แม้โจทก์จะไม่ได้ชำระเงินเพิ่มในวันดังกล่าว ก็ย่อมถือว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีครบถ้วนตามคำชี้ขาดอันเป็นค่าภาษีทั้งสิ้นตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สิทธิฟ้องร้องคัดค้านการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินคงขึ้นอยู่กับความในมาตรา 31 กับมาตรา 39 เท่านั้น การชำระค่าภาษีตามมาตรา 38 เป็นเพียงหลักปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับผู้รับประเมินจะไปชำระค่าภาษีได้ที่ใดและเมื่อใด เป็นเรื่องของการเก็บภาษีในกรณีธรรมดาทั่วไป ซึ่งหากมิได้ชำระภายในเวลาที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 38 ตามมาตรา 42 บัญญัติให้ถือว่าเป็นค่าภาษีค้างชำระอันจะต้องเสียเงินเพิ่ม รวมทั้งอาจถูกบังคับคดียึดอายัดทรัพย์ขายทอดตลาด เพื่อเอาเงินมาเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 43 และมาตรา 44 ต่อไปด้วย อันเป็นคนละเรื่องกับสิทธิในการฟ้องคดี การไม่ชำระค่าภาษีตามมาตรา 38 จึงไม่ได้เป็นสาระสำคัญหรือเงื่อนไขในการฟ้องคดี เพราะหากเป็นกรณีพ้นกำหนดเวลาชำระค่าภาษีไปแล้ว ขณะฟ้องก็ต้องชำระค่าภาษีเสียก่อนฟ้องเช่นเดียวกัน
โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.8) ประจำปีภาษี 2560 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 เป็นค่าภาษีจำนวน 1,092,823.25 บาท ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ (ภ.ร.ด.9) ซึ่งจำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดตามการประเมินให้ชำระค่าภาษีจำนวน 1,092,823 บาท โจทก์ทราบคำชี้ขาดดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 และชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นเงิน 1,092,823 บาท ตามที่ได้ระบุไว้ในใบแจ้งคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2560 ซึ่งเป็นเวลาก่อนโจทก์ฟ้องคดี แม้โจทก์จะไม่ได้ชำระเงินเพิ่มในวันดังกล่าว ก็ย่อมถือว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีครบถ้วนตามคำชี้ขาดอันเป็นค่าภาษีทั้งสิ้นตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลทันเวลา ทำให้สิ้นสิทธิในการอุทธรณ์คำพิพากษา คดีอาญา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องในวันเดียวกัน คำสั่งยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้ร้องย่อมมีผลทำให้คำร้องของผู้ร้องนั้นเสร็จสำนวนไปจากศาลจึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 ผู้ร้องชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีแต่ต้องอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 เมื่อผู้ร้องไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงต้องถือว่าเป็นอันยุติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นว่าผู้ร้องไม่อยู่ในฐานะเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2562 ผู้ร้องจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นโจทก์ในคดีอาญา ผู้ร้องจึงไม่อาจอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ ที่ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้วนั้น เป็นคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามคำร้องของผู้ร้องลงวันที่ 23 มกราคม 2563 นั้น เป็นการขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น มิใช่การขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ซึ่งเกินกำหนดเวลาที่ผู้ร้องจะขอขยายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลวิกลจริตทำนิติกรรมให้ที่ดินโมฆียะ โจทก์บอกล้างได้ภายในกำหนด
แม้โจทก์จะมีความสามารถตามกฎหมาย แต่ไม่มีความสามารถที่จะดูแลตนเองหรือผลประโยชน์ของตนเองได้ในความเป็นจริงอันอาจเป็นเพียงบางช่วงเวลา ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติทางจิตใจหรือความผิดปกติทางร่างกายที่มีผลกระทบต่อจิตใจ โจทก์สามารถประกอบกิจวัตรได้เพียงทางกายภาพบางช่วงเวลาเท่านั้น แต่โจทก์ยังมีภาวะผิดปกติทางจิตที่มีความผิดปกติทางความคิด อารมณ์ พฤติกรรมบางอย่างมากจนไม่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง หากดูจากภายนอกย่อมไม่อาจทราบได้ว่าแท้จริงแล้วโจทก์เป็นผู้ป่วยทางจิตเวชอยู่ ไม่อาจตัดสินใจเรื่องใดในทางสมเหตุสมผลได้เหมือนคนปกติ และหลายครั้งที่ผู้ป่วยทางจิตเวชต้องทำอัตวินิบาตกรรม เนื่องจากไม่อาจทนทุกข์ทรมานกับโรคที่เป็นอยู่จนไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไปเพราะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทไม่สมดุล กรณีของโจทก์แพทย์จึงต้องใช้ยาต้านเศร้าร่วมด้วยนอกเหนือจากยาคลายวิตกกังวลและยานอนหลับเพื่อปรับอารมณ์ของโจทก์ให้เกิดความสมดุลมากขึ้น ขณะที่โจทก์ทำนิติกรรมจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาททั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยนั้น โจทก์ขาดการรักษาและไม่ได้รับประทานยาต่อเนื่องเป็นเวลานานเชื่อว่า โจทก์ยังคงมีความวิตกกังวลสูง ฟุ้งซ่าน คิดในเรื่องไม่สมเหตุสมผล สภาพภายในจิตใจของโจทก์ยังคงทุกข์ทรมานอย่างมากจนไม่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง เจตนาที่แสดงออกมาจึงวิปริต เมื่อโจทก์ไม่มีความสามารถที่จะดูแลตนเองหรือผลประโยชน์ของตนเองได้ในความเป็นจริง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ โจทก์จึงเป็นบุคคลวิกลจริตแล้ว ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 175 (4) นั้น บุคคลวิกลจริตผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 30 จะบอกล้างนิติกรรมเสียได้ในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว
โจทก์มีอาการดีขึ้นและสติสัมปชัญญะเหมือนเช่นคนปกติจนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ดังเดิมอันเป็นเวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2561 ต่อมาประมาณต้นปี 2562 โจทก์โทรศัพท์ทวงถามให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาททั้งสามแปลงคืนให้แก่โจทก์ ถือเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์บอกล้างโมฆียกรรมนั้นแล้ว ซึ่งเมื่อนับแต่เวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้ถึงช่วงเวลาดังกล่าวไม่เกินกำหนดเวลาหนึ่งปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 181 เมื่อโจทก์บอกล้างโมฆียกรรมโดยชอบย่อมมีผลทำให้นิติกรรมที่โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่จำเลยโดยเสน่หาตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีอาการดีขึ้นและสติสัมปชัญญะเหมือนเช่นคนปกติจนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ดังเดิมอันเป็นเวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2561 ต่อมาประมาณต้นปี 2562 โจทก์โทรศัพท์ทวงถามให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาททั้งสามแปลงคืนให้แก่โจทก์ ถือเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์บอกล้างโมฆียกรรมนั้นแล้ว ซึ่งเมื่อนับแต่เวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้ถึงช่วงเวลาดังกล่าวไม่เกินกำหนดเวลาหนึ่งปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 181 เมื่อโจทก์บอกล้างโมฆียกรรมโดยชอบย่อมมีผลทำให้นิติกรรมที่โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่จำเลยโดยเสน่หาตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณวันคำพิพากษาถึงที่สุดเพื่อขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 ต้องยึดตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่ตามวันที่ศาลอนุญาตขยายเวลา
การร้องขอคืนของกลางตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 36 นั้น เจ้าของที่แท้จริงซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดย่อมมีสิทธิร้องขอคืนของกลางต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งคำว่า "วันคำพิพากษาถึงที่สุด" นี้ ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง บัญญัติว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งใดซึ่งอาจอุทธรณ์ฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้นั้น ถ้ามิได้อุทธรณ์ฎีกาหรือร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง..." ซึ่งก็คือ เมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟัง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 และมาตรา 216 ในกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฎีกาแล้วมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาตามที่ได้ขอขยายระยะเวลาไว้ วันคำพิพากษาถึงที่สุดย่อมต้องกลับไปใช้ระยะเวลา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดโดยกฎหมาย คือ เมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟัง คดีนี้เมื่อมีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ให้คู่ความความฟัง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 โจทก์และจำเลยทั้งสองใช้สิทธิฎีกาได้ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2564 ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้ขอขยายระยะเวลาฎีกา และมิได้ใช้สิทธิฎีกา ส่วนโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาและศาลชั้นต้นอนุญาตถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2564 แต่โจทก์มิได้ฎีกา คำพิพากษาย่อมถึงที่สุดในวันที่ 15 มีนาคม 2564 อันเป็นวันครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ให้คู่ความฟัง สิทธิของผู้ร้องที่จะขอคืนของกลางต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด จึงต้องนับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2564 มิใช่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 ดังที่ผู้ร้องอุทธรณ์ ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนของกลางเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565 จึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36 ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล อุทธรณ์ของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการเฉลี่ยทรัพย์หลังศาลรับฟังว่าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอ ชี้ว่าการฟื้นฟูกิจการเกิดขึ้นหลังพ้นกำหนดเวลาเฉลี่ยทรัพย์
เมื่อกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้บัญญัตินิยามความหมายของคำว่า "การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์" ไว้เป็นการเฉพาะ การตีความความหมายของคำดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/12 (5) ที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้ศาลไม่จำต้องงดการบังคับคดีไว้ในกรณีที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น คงต้องพิจารณาเทียบเคียงกับกรณีกิจการที่ได้กระทำไปแล้วหากมีกรณีที่ลูกหนี้ล้มละลาย เนื่องจากผลของการล้มละลายหรือการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมไม่อาจกระทบกระเทือนต่อกิจการที่ได้กระทำไปจนเสร็จสิ้นแล้วเช่นเดียวกัน การที่มาตรา 110 วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีของผลของการล้มละลายเกี่ยวกับกิจการที่ได้กระทำไปแล้ว ได้ให้ความหมายของคำว่า การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตาม ป.วิ.พ. โดยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 326 วรรคห้า ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การขอเฉลี่ยทรัพย์ ในกรณีอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเสียก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงิน ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินตามเช็คที่ผู้ร้องนำส่งตามหนังสือแจ้งอายัดที่พิพาทนี้ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 กำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตาม ป.วิ.พ. ดังกล่าวคือวันที่ 5 มิถุนายน 2563 จำเลยยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงินถือว่าการบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องงดการบังคับคดีไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ แม้มีหนังสือบอกกล่าวเกินกำหนด
แม้โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 เกินกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 วรรคหนึ่ง แต่นอกจากจำเลยที่ 2 จะถูกฟ้องในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันแล้ว ยังถูกฟ้องในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 อีกด้วย จำเลยที่ 2 จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 ไม่มีจำกัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077 (2) ประกอบมาตรา 1087 จำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดไม่ถูกจำกัดความรับผิดดังเช่นในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกัน จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในต้นเงินและดอกเบี้ยตลอดจนค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยของค่าธรรมเนียมดังกล่าว