คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิครอบครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,083 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13069/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการครอบครองห้องชุดหลังการขายทอดตลาด: ผู้ซื้อไม่ต้องรับผิดชำระหนี้เดิม เจ้าของเดิมต้องรับผิดชอบ
ประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีระบุว่าผู้ซื้อจะต้องตรวจสอบภาระหนี้สินและเป็นผู้ชำระหนี้สินค้างชำระต่อนิติบุคคลอาคารชุดก่อนจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ เมื่อโจทก์ประมูลซื้อห้องชุดได้แต่ไม่ยอมชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางพร้อมเบี้ยปรับที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทคนเดิมค้างชำระ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองรายการหนี้หรือการปลดหนี้ห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลชั้นต้นมิได้ระบุวันเริ่มต้นให้ชำระเงินเพิ่ม เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย แก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอในฟ้องแย้ง เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์แก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14704/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การพิสูจน์สิทธิโดยการส่งมอบการครอบครองและการมีเหตุผลอันสมควร ทำให้ไม่มีเจตนาบุกรุก
โจทก์และจำเลยยังนำสืบโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในการครอบครองที่ดินพิพาทกันอยู่ แม้โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 6869 แต่ก็รับว่าไม่เคยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยนำสืบต่อสู้ว่าจำเลยได้สิทธิในที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของที่ดินเดิมโดยการส่งมอบการครอบครอง และมีกรณีฟ้องร้องเพราะเหตุที่มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 2434 โดยไม่ชอบทับที่ดินของบุคคลอื่นอีกหลายคดี ซึ่งที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์แบ่งแยกมาจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยืนยันโดยมีเหตุผลตามสมควรว่า จำเลยมีสิทธิครอบครอง เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวโต้แย้งกันทางแพ่ง จึงต้องรับฟังว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิด การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9500/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลฎีกาวินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักกว่า และแก้ไขค่าขึ้นศาล
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่ จำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย และฟ้องแย้งห้ามมิให้โจทก์และบริวารเข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นกำหนดจำนวนทุนทรัพย์เป็นเงิน 240,000 บาท จึงเป็นคดีมโนสาเร่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 189 ประกอบ พ.ร.ฎ.กำหนดจำนวนเงินในคดีมโนสาเร่ พ.ศ.2546 มาตรา 3 (1) ซึ่งเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามมาตรา 190 จัตวา วรรคหนึ่ง (เดิม) และตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) ที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นจากโจทก์ และจำเลยในส่วนของฟ้องแย้งเกินกว่า 200 บาท จึงไม่ถูกต้อง และต้องคืนเงินส่วนที่เกิน 200 บาท ให้แก่โจทก์และจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9499/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานการครอบครอง - สิทธิครอบครอง - หลักฐานการซื้อขาย - การครอบครองประโยชน์ - พยานหลักฐาน
โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอันทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง แต่ฝ่ายจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ครอบครองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ก็ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเช่นกันจึงไม่อาจนำข้อสันนิษฐานของกฎหมายมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่คู่ความฝ่ายใดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7324/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน กสน.5: ภาระการพิสูจน์ตกแก่ผู้ฟ้องเมื่อไม่มีหลักฐานสนับสนุน
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) ออกโดยส่วนจัดนิคมสหกรณ์ในสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ดินพิพาทดังกล่าวมีหนังสือแสดงการทำประโยชน์เป็นหลักฐาน จึงมิใช่อสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดินของสำนักงานที่ดินอำเภอหรือจังหวัดในกรมที่ดิน ซึ่งกฎหมายต้องการให้แสดงออกซึ่งกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียนยิ่งกว่าการครอบครอง ที่ดินที่มีหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) เป็นหลักฐานจึงถือได้ว่าเป็นที่ดินมือเปล่าที่มีหลักฐานอื่น ๆ เช่นเดียวกับที่ดินที่มีแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) ใบไต่สวน หรือหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่เป็นหลักฐานแสดงสิทธิ ซึ่งล้วนแต่ไม่ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 อีกทั้งคู่กรณีต่างก็กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทตกอยู่ในเขตหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) ของตน ทั้งโจทก์และจำเลยก็ไม่มีฝ่ายใดได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวว่าเป็นฝ่ายมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและกรณีมิใช่จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกา ภาระการพิสูจน์จึงยังคงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ให้สมตามที่กล่าวอ้างมาในฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ไม่นำสืบพยานก็ไม่มีทางจะรับฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13999/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินปฏิรูปฯ ยังเป็นที่ดินของรัฐ แม้มีการเพิกถอนสภาพสาธารณสมบัติ การครอบครองจึงไม่อาจอ้างสิทธิได้
ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 36 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้มาก็เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มิได้มุ่งหมายให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกับเจ้าของทรัพย์สินทั่วไปที่มีสิทธิใช้สอย จำหน่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ดังนั้น เมื่อที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน แม้ถูกเพิกถอนสภาพจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเนื่องจากการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4) ก็ตาม ก็ยังคงเป็นที่ดินของรัฐอยู่เพียงแต่เปลี่ยนประเภทของที่ดินวัตถุประสงค์และการใช้ประโยชน์ในที่ดินและเปลี่ยนหน่วยงานของรัฐที่จะเป็นผู้จัดให้ใช้ประโยชน์เท่านั้น
เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และเป็นที่ดินของรัฐแล้วย่อมต้องห้ามมิให้บุคคลทั่วไปยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 หากการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเป็นการออกทับที่ดินที่บิดาจำเลยและจำเลยมีสิทธิครอบครองจริง ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปดำเนินการขอเพิกถอนหรือแก้ไขตามระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการเพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง พ.ศ.2529 และฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเท่านั้น หาใช่ฝ่าฝืนที่จะอยู่ในที่ดินของรัฐต่อไปได้ไม่
การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของรัฐแต่ไม่ใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันหรือที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง เท่านั้น ทั้งการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็เป็นการครอบครองต่อเนื่องจากบิดาของจำเลยที่ครอบครองทำประโยชน์มาก่อนนานแล้ว จึงมีสาเหตุที่ทำให้จำเลยอาจเข้าใจไปได้ว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทมาก่อน และการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเมื่อปี 2535 เป็นการออกทับที่ดินของจำเลย พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยจึงไม่ร้ายแรงนัก กรณีจึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7740/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดิน - เลิกสัญญา - คืนเงินมัดจำ - สิทธิครอบครอง
ที่ดินพิพาทมีเพียงสิทธิครอบครอง โจทก์ผู้จะขายทำสัญญากับจำเลยทั้งสองผู้จะซื้อว่า ที่ดินพิพาทราคา 1,500,000 บาท จะทำการโอนที่ดินใบ ภ.บ.ท.5 ให้แก่จำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองได้วางมัดจำให้โจทก์ไว้เป็นเงิน 730,000 บาท ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำเป็นแบบพิมพ์สำเร็จรูปซึ่งมีการกรอกข้อความไปตามรายการในแบบพิมพ์เพื่อให้เป็นหลักฐานเท่านั้น แต่โดยเจตนาของโจทก์และจำเลยทั้งสองแท้จริงแล้ว เป็นการทำสัญญาซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกัน เพราะที่ดินพิพาทไม่มีเอกสารแสดงสิทธิใดๆ คงมีเพียงสิทธิครอบครองโดยการยึดถือเท่านั้น จึงสามารถโอนการครอบครองแก่กันได้ด้วยวิธีส่งมอบที่ดินที่ครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 เมื่อโจทก์ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาครบถ้วน จำเลยทั้งสองย่อมมีหน้าที่ชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ แทนที่โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามสัญญา แต่โจทก์กลับมาฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ และจำเลยที่ 2 ก็ฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนเงินค่าที่ดินที่รับไว้จำนวน 730,000 บาท กรณีจึงถือได้ว่าคู่สัญญาต่างสมัครใจเลิกสัญญาซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทต่อกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11036/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: บุคคลภายนอกสุจริตได้สิทธิเหนือผู้ครอบครองก่อน หากจดทะเบียนสิทธิแล้ว
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งมีอาณาเขตติดกับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ จ. ต่อมาที่ดินทั้งสองแปลงถูกเวนคืนไปบางส่วนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล ทำให้ที่ดินของ จ. ถูกแบ่งแยก บางส่วนที่ดินพิพาทยังเหลือติดอยู่กับที่ดินของโจทก์ และโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินของ จ. บริเวณดังกล่าวเรื่อยมาจนได้สิทธิครอบครอง ต่อมา จ. โอนขายที่ดินพิพาทให้ ก. ต่อมา ก. ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง สิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ถ้ายังไม่ได้จดทะเบียน จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทต่อจาก ก. ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจาก จ. เป็นคนแรก และได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิในที่ดินพิพาทมาโดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิแล้ว เมื่อโจทก์มิได้กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทและจดทะเบียนสิทธิโดยไม่สุจริต ซึ่งนอกจากไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตหรือไม่แล้ว จำเลยที่ 1 ยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ด้วยว่ากระทำการโดยสุจริต การที่โจทก์เป็นผู้ได้ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองซึ่งเป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและยังมิได้จดทะเบียน จึงไม่อาจยกสิทธิที่ได้มาโดยการครอบครองขึ้นต่อสู้กับจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10738/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินนิคมฯ ผู้ได้รับการจัดสรรมีสิทธิเหนือผู้บุกรุก จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ที่ดินพิพาททางนิคมสร้างตนเองปราสาทได้จัดสรรให้แก่โจทก์และยังอยู่ในระยะเวลาตามเงื่อนไขและวิธีการของการจัดสรรที่ดินดังกล่าว โจทก์จึงยังคงมีสิทธิเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทได้ จำเลยมิใช่สมาชิกผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินพิพาทไม่อาจยกเอาเรื่องสิทธิครอบครองโดยอ้างว่าจำเลยเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทย่อมได้สิทธิครอบครอง ส่วนโจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ได้สิทธิมาโดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามเงื่อนไขและวิธีการจัดสรรที่ดินของนิคม เมื่อจำเลยเข้ายึดถือและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิดีกว่าโจทก์ จำเลยจึงต้องออกจากที่ดินพิพาท
การที่จำเลยเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นการกระทำที่ไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจะต้องชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ การกำหนดค่าเสียหายว่าแค่ไหนเพียงใดนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินแม้มีข้อพิพาท: การรบกวนการครอบครองที่ดินที่มีโฉนด แม้มีการเพิกถอนโฉนดยังไม่สิ้นสุด ถือเป็นความเสียหายฟ้องร้องได้
ที่ดินพิพาทมีชื่อโจทก์ร่วมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แม้สำนักงานธนารักษ์ตรวจสอบแล้วปรากฎว่าโฉนดออกในที่ราชพัสดุและมีการขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าว แต่ขั้นตอนในการเพิกถอนโฉนดยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ และผลในการเพิกถอนยังไม่ปรากฏว่าจะเพิกถอนได้หรือไม่ เมื่อมีบุคคลมารบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์ร่วมดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่กระทบต่อสิทธิในการครอบครองที่ดินของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย
of 109