พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดินโดยใช้ลายมือชื่อปลอม ผู้จำนองมีสิทธิเพิกถอนการจดทะเบียน
โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และ ว. มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนดที่ดินพิพาท โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ทั้งสองและ ว. ในหนังสือมอบอำนาจนำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 3 ต่อมาจำเลยที่ 2 ปลอมลายมือชื่อโจทก์ทั้งสองและ ว. ในหนังสือมอบอำนาจไปจดทะเบียนจำนองขึ้นเงินกับจำเลยที่ 3 อีก แม้คดีนี้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องเฉพาะโจทก์ที่ 2 เนื่องจากโจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายก่อนยื่นฟ้อง และในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 ไว้ก็ตาม แต่เมื่อมีการบรรยายข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในคำฟ้อง และโจทก์ที่ 1 นำสืบว่า โจทก์ที่ 2 ไม่เคยมอบอำนาจให้ผู้ใดไปจดทะเบียนจำนอง และไม่เคยรับเงินจากการจำนองที่ดินพิพาท ทั้งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยเกี่ยวกับลายมือชื่อของโจทก์ที่ 2 ไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกปัญหาว่าลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 ปลอมหรือไม่ มาวินิจฉัยให้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และ ว. ปลอม จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และจดทะเบียนจำนองโดยสุจริต โจทก์ที่ 1 ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งย่อมใช้สิทธิแทนโจทก์ที่ 2 และ ว. ครอบไปถึงทรัพย์ทั้งหมดเพื่อเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 และมีอำนาจขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งแปลง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และ ว. ปลอม จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และจดทะเบียนจำนองโดยสุจริต โจทก์ที่ 1 ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งย่อมใช้สิทธิแทนโจทก์ที่ 2 และ ว. ครอบไปถึงทรัพย์ทั้งหมดเพื่อเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 และมีอำนาจขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10694/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด: ประเด็นเหตุเพิกถอนตามมาตรา 296 วรรคสอง มิใช่ 309 ทวิ
คำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 2 มีประเด็นวินิจฉัย 2 ประเด็น คือ เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งประกาศการขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ 2 โดยชอบหรือไม่ และเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดในราคาที่ต่ำเกินสมควรหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยทั้งสองประเด็นและมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งฉบับลงวันที่ 21 สิงหาคม 2549 เฉพาะประเด็นเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งประกาศการขายทอดตลาดโดยมิชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 มิใช่ประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แต่เป็นประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของ มาตรา 309 ทวิ และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นตามมาตรา 296 วรรคสอง เป็นที่สุดการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ฉบับวันที่ 21 สิงหาคม 2549 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10633/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมขายฝากสินสมรสโดยไม่สุจริต และประเภทคดีที่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ซึ่งเป็นคู่สมรส นิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) และเมื่อจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสคืนให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องเรียกเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาเป็นของโจทก์ด้วย หากโจทก์ชนะคดีย่อมได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืน จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนของโจทก์ หากโจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิกถอนทั้งหมด และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เพิกถอนนิติกรรมทั้งหมด โจทก์ย่อมได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดคืนมา จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสคืนให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องเรียกเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาเป็นของโจทก์ด้วย หากโจทก์ชนะคดีย่อมได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืน จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนของโจทก์ หากโจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิกถอนทั้งหมด และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เพิกถอนนิติกรรมทั้งหมด โจทก์ย่อมได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดคืนมา จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8738/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนสินสมรสโดยไม่ยินยอม และประเด็นเรื่องอายุความฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีนำที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสไปโอนให้บุคคลอื่นโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1480 วรรคสอง ได้กำหนดระยะเวลาให้ฟ้องคดีซึ่งเป็นกำหนดระยะเวลาให้ใช้สิทธิเรียกร้อง ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดสิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ จึงเป็นเรื่องอายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/9 ปัญหาเรื่องอายุความไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 193/29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8738/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอม และประเด็นอายุความฟ้องร้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง เป็นกำหนดระยะเวลาให้ใช้สิทธิเรียกร้อง ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความจึงเป็นเรื่องอายุความฟ้องร้องตามมาตรา 193/9
ปัญหาเรื่องอายุความไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จะเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/29
ปัญหาเรื่องอายุความไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จะเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่สาธารณประโยชน์: นายอำเภอมีอำนาจฟ้องได้
ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 (เดิม) ที่ใช้ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ระบุเพียงว่า "เมื่อความปรากฏว่าได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์... ให้แก่ผู้ใดโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนแก้ไข...(2) ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับจังหวัดอื่น..." หมายความว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกผิดพลาดนั้นได้ ซึ่งเป็นอำนาจทางปกครองเท่านั้น ส่วนอำนาจในการฟ้องร้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกโดยไม่ชอบนั้นกฎหมายไม่ได้ระบุว่าเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดแต่เพียงผู้เดียว ทั้งตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 67, 117, 122 ประกอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 62 บัญญัติกำหนดให้อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินสาธารณะประโยชน์อันเป็นของกลางสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้นเป็นของนายอำเภอ เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 29 ที่โจทก์อ้างว่าออกทับที่สาธารณประโยชน์ "หนองหว้า" ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน โจทก์ซึ่งเป็นนายอำเภอเมืองยโสธรจึงมีอำนาจฟ้องห้ามมิให้จำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวนั้นได้ และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 29 ที่ออกให้ในนาม ว. นั้นออกโดยผิดพลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้นได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8551/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การเพิกถอนชื่อใน น.ส.3ก. เมื่อสิทธิไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง
โจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา จำเลยไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท การที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของจำเลยบางส่วนออกทับที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์ครอบครองอยู่ ก็มีผลให้จำเลยยังได้รับคำรับรองของทางราชการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจำเลยเป็นผู้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตาม ป.ที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายในฐานที่มีชื่อในทะเบียนว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ดังนั้น สิทธิของจำเลยที่ได้รับตามกฎหมายจึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยไปยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดิน (น.ส.3 ก.) ดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทที่โจทก์ครอบครองให้แก่โจทก์มาด้วยนั้น พอแปลได้ว่าเป็นคำขอให้เพิกถอนชื่อของจำเลยออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เฉพาะส่วนที่ดินที่ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาเพิกถอนชื่อของจำเลยในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ในส่วนที่ทับที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: การครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่เหตุเพิกถอน หากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ฝ่าฝืนกฎหมาย
ตามคำร้องของผู้ร้องมีความประสงค์ขอให้ศาลยกเลิกการขายทอดตลาดที่ได้ขายไปแล้ว โดยอ้างว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกยึดโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้ร้องประสงค์จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวโดยอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งกรณีจะเป็นเรื่องของ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสองนั้น ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. และเกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี บุคคลดังกล่าวจึงมีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง ขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนแต่ตามคำร้องของผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. แต่ประการใด เพียงแต่กล่าวอ้างว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกยึดโดยการครอบครองปรปักษ์และธนาคารที่รับจำนองทรัพย์ดังกล่าวได้รับจำนองไว้โดยไม่สุจริตจึงไม่ได้รับการคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสองนั้น หากเป็นความจริงก็มิใช่เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงไม่อาจยกเหตุที่ผู้ร้องอ้างมาเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
การที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนแก่ผู้ร้องได้นั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ได้
การที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนแก่ผู้ร้องได้นั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8345/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการบังคับคดีต้องยื่นในคดีที่มีการบังคับคดีนั้น การยื่นในคดีอื่นเป็นไปไม่ได้ตามกฎหมาย
การร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีต้องร้องขอในคดีที่มีการบังคับคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง จะร้องขอในคดีหนึ่งให้เพิกถอนการบังคับคดีอีกคดีหนึ่งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7309/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดต้องเปิดเผยข้อมูลครบถ้วนเพื่อให้ผู้สนใจเข้าสู้ราคาได้อย่างเป็นธรรม หากไม่เป็นไปตามหลักการ ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 โดยไม่ปิดประกาศแจ้งการขายไว้ที่หน้าสำนักงานบังคับคดีจังหวัดจันทบุรีต่างไปจากการขายทอดตลาดในคดีอื่น ย่อมทำให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขายทอดตลาดไม่เป็นที่เปิดเผยตามวิถีทางที่ควรจะเป็น ส่งผลกระทบถึงการตัดสินใจเข้าสู้ราคาและจำนวนผู้เข้าสู้ราคาซึ่งอาจต้องถูกจำกัดให้น้อยลง ขัดต่อเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดที่ต้องเปิดโอกาสให้มีการสู้ราคากันโดยเปิดเผยเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 308 แม้จะเป็นการขายครั้งที่ 4 ซึ่งตามคำสั่งกรมบังคับคดีกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถือเอาราคาที่ผู้เข้าสู้ราคาเสนอสูงสุดซึ่งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของราคาประเมินหรือราคาของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการกำหนดราคาทรัพย์แล้วแต่กรณีเป็นราคาที่สมควรขาย ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบนั้นเสียได้ตามมาตรา 296 วรรคสอง