พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องคัดค้านคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่น: ต้องยื่นต่อ กกต. เท่านั้น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 144 และ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มีเจตนารมณ์ที่ให้การจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งตั้งแต่เริ่มจัดการการเลือกตั้งจนถึงการประกาศผลการเลือกตั้ง ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ย. เสียสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองควาย เนื่องจากขาดคุณสมบัติไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นการยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 50 ประกอบมาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิได้ให้ยื่นต่อศาลยุติธรรม การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลยุติธรรมจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาในกรณีเพิกถอนคุณสมบัติผู้สมัครหลังเลือกตั้ง: ศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำวินิจฉัยของ กกต. หลังวันเลือกตั้ง
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 34 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลฎีการับวินิจฉัยคำร้องของผู้สมัครในกรณีที่ผู้สมัครไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง กับมาตรา 34/1 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลฎีการับวินิจฉัยคำร้องของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งในกรณีที่ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัคร ซึ่งทั้งสองกรณีผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาก่อนวันเลือกตั้งเท่านั้น กรณีตามคำร้องของผู้ร้อง ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในวันเลือกตั้งอยู่ก่อนแล้ว และผู้ร้องได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงสุดในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดกาญจนบุรี แต่เพิ่งมาถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่าผู้ร้องขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) และมีคำสั่งให้งดการประกาศผลการเลือกตั้งกับให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายหลังจากวันเลือกตั้ง ในกรณีนี้ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจศาลฎีกาที่จะสั่งเพิกถอนคำวินิจฉัยและคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าวได้ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะให้รับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องมีคำสั่งเป็นหนังสือ การมีเพียงมติของ กกต. ยังไม่ถือเป็นการเพิกถอนสิทธิ
การเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของบุคคลหนึ่งบุคคลใดคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องทำคำสั่งเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่พิจารณาวินิจฉัยทุกคน แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ไม่ปรากฏว่าภายหลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของผู้ร้องแล้วคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ร้องเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่พิจารณาวินิจฉัยทุกคน มติของคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ร้องเป็นเพียงกระบวนการเพื่อนำไปสู่การออกคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ร้อง ตราบใดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งยังไม่มีคำสั่งดังกล่าว มติของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของผู้ร้องยังไม่มีผลทางกฎหมาย จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 106 (4) แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 อันจะเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 109 (3) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากไม่แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามประกาศกกต.เฉพาะเขต
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 21 และ 22 กำหนดให้ผู้ที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งและผู้ที่ไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ประจำเขตเลือกตั้ง ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุดรธานีประกาศให้ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านเฉพาะในเขตเทศบาลนครอุดรธานีแจ้งเหตุต่อบุคคลรับแจ้งเหตุลำดับที่ 55 ถึง 61 ณ สถานที่รับแจ้งเหตุ สำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลนครอุดรธานี การที่ผู้ร้องซึ่งมีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลนครอุดรธานีได้มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปแจ้งเหตุต่อ ล. บุคคลผู้รับแจ้งเหตุลำดับที่ 4 ที่สำนักงานทะเบียนอำเภอเมืองอุดรธานี ซึ่งมีหน้าที่รับแจ้งเหตุเฉพาะนอกเขตเทศบาลนครอุดรธานี แต่ไม่มีหน้าที่รับแจ้งเหตุของผู้มีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จึงถือไม่ได้ว่าการแจ้งเหตุของผู้ร้องดังกล่าวเป็นการแจ้งเหตุตามมาตรา 21 และมาตรา 22 การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งหลังสุดและไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลผู้มีอำนาจและหน้าที่รับแจ้งเหตุในเขตเทศบาลนครอุดรธานีตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งประจำจังหวัดอุดรธานี ผู้ร้องย่อมเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 68 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 23
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากไม่แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามประกาศกกต.เฉพาะเขต
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 68 วรรคหนึ่งและวรรคสอง บัญญัติว่า บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งได้ย่อมเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ และ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง (3) บัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 21 หรือมาตรา 22 หรือแจ้งเหตุแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควรให้ถือว่าผู้นั้นเป็นบุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ตามมาตรา 68 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ให้ผู้นั้นเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น โดยมาตรา 21 และมาตรา 22 กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งและผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ประจำแต่ละเขตเลือกตั้ง ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุดรธานี เรื่อง แต่งตั้งบุคคลรับแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กำหนดให้ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านเฉพาะในเขตเทศบาลนครอุดรธานีแจ้งเหตุต่อบุคคลรับแจ้งเหตุ สถานที่รับแจ้งเหตุสำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลนครอุดรธานี ผู้ร้องซึ่งมีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลนครอุดรธานีจะต้องแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลรับแจ้งเหตุตามประกาศดังกล่าว การที่ผู้ร้องมอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปแจ้งเหตุต่อ ล. ที่สำนักทะเบียนอำเภอเมืองอุดรธานี ซึ่งมีหน้าที่รับแจ้งเหตุเฉพาะนอกเขตเทศบาลนครอุดรธานี แต่ไม่มีหน้าที่รับแจ้งเหตุของผู้มีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จึงถือไม่ได้ว่าการแจ้งเหตุของผู้ร้องดังกล่าวเป็นการแจ้งเหตุตามมาตรา 21 และมาตรา 22 ฉะนั้น การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งหลังสุดและไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลผู้มีอำนาจและหน้าที่รับแจ้งเหตุในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุดรธานีดังกล่าว ผู้ร้องย่อมเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8339/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ: ศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัยหาก กกต. ได้วินิจฉัยแล้ว
กฎหมายมุ่งประสงค์ให้การสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเป็นเรื่องของหัวหน้าพรรคการเมืองกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง อันแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าไม่ประสงค์ให้ศาลฎีกาเข้าไปวินิจฉัยในเรื่องที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้วินิจฉัยมาแล้วผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16075/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.เลือกตั้ง: การแจ้งเท็จต่อ กกต. และการปรับบทความผิด
จำเลยร้องคัดค้านการเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนครพนม กล่าวหาโจทก์ทั้งสองกระทำความผิดต่อกฎหมายเลือกตั้งโดยให้ตัวแทนจ่ายเงินให้แก่ ว. และ บ. เป็นการตอบแทนที่ไปฟังโจทก์ทั้งสองปราศรัยหาเสียงเพื่อลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่โจทก์ทั้งสอง เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของโจทก์ทั้งสอง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ซึ่งเป็นการกระทำคราวเดียวกัน แม้ผลจะเกิดกับโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ซึ่งได้รับการเลือกตั้งคนละตำแหน่งกันก็เป็นความผิดกระทงเดียว
ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสาม แบ่งเป็นสี่วรรค วรรคหนึ่ง เป็นความผิดที่กระทำการอันเป็นเท็จ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าผู้สมัครผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ วรรคสอง ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกลั่นแกล้งให้ผู้สมัครนั้นถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ส่วนวรรคสาม ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการแจ้งหรือให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวกำหนดโทษและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่ผู้กระทำความผิดหนักเบาแตกต่างกัน สำหรับคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นตามมาตรา 4 ให้คำนิยามหมายความว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 หมวดที่ 1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 6 คณะกรรมการการเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญมีองค์ประกอบตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 1 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 229 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสี่คน ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง หมายถึงคณะกรรมการการเลือกตั้งที่อยู่ในส่วนกลาง หรือกรุงเทพมหานคร ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมิได้อยู่ในความหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งการกระทำของจำเลยต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสอง
ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสาม แบ่งเป็นสี่วรรค วรรคหนึ่ง เป็นความผิดที่กระทำการอันเป็นเท็จ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าผู้สมัครผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ วรรคสอง ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกลั่นแกล้งให้ผู้สมัครนั้นถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ส่วนวรรคสาม ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการแจ้งหรือให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวกำหนดโทษและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่ผู้กระทำความผิดหนักเบาแตกต่างกัน สำหรับคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นตามมาตรา 4 ให้คำนิยามหมายความว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 หมวดที่ 1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 6 คณะกรรมการการเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญมีองค์ประกอบตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 1 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 229 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสี่คน ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง หมายถึงคณะกรรมการการเลือกตั้งที่อยู่ในส่วนกลาง หรือกรุงเทพมหานคร ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมิได้อยู่ในความหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งการกระทำของจำเลยต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5988/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง, การชดใช้ค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่, และอำนาจฟ้องของ กกต.
การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2549 ต่อมามีผู้ร้องคัดค้านและคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีคำวินิจฉัยสั่งการ ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2549 ซึ่งช่วงระยะเวลาดังกล่าว พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มีผลใช้บังคับ แม้ต่อมาจะมี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ออกมาใช้บังคับ ซึ่งได้กำหนดสัดส่วนองค์ประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งในมาตรา 8 แตกต่างไปจากกฎหมายฉบับเดิมก็ตาม ศาลจะหยิบยกกฎหมายฉบับที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
ข้อความตามมาตรา 8 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 บัญญัติว่า การประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีกรรมการการเลือกตั้งมาประชุมไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการการเลือกตั้งทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม หมายถึงจำนวนคนไม่ใช่สัดส่วนที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เมื่อขณะลงมติมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน และกรรมการการเลือกตั้งทั้งสามคนได้ลงมติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยและให้มีการเลือกตั้งใหม่ จึงเป็นการลงคะแนนไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการตามนัยแห่งกฎหมายข้างต้นแล้ว
การฟ้องผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้รับผิดค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 99 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวด้วยก็ตาม กรณีมิใช่เป็นเรื่องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เพียงแต่ว่าเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดว่าไม่เคยกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและมีการเลือกตั้งใหม่ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบปฏิเสธความรับผิดตามคำให้การได้ และมีสิทธิอ้างคำพิพากษาในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ และศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวประกอบได้ แต่พยานหลักฐานดังกล่าวจะมีน้ำหนักให้รับฟังได้ประการใดหรือไม่เป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามหลักเรื่องภาระการพิสูจน์และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
มาตรา 99 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้มีการการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 56 หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง...ผู้กระทำการฝ่าฝืน มาตรา 56 หรือผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินค่าใช้จ่ายในการให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องชำระ คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีอำนาจในการยื่นฟ้องเพื่อบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่ง
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครองโดยได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง จึงต้องคืนค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดแก่โจทก์
ข้อความตามมาตรา 8 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 บัญญัติว่า การประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีกรรมการการเลือกตั้งมาประชุมไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการการเลือกตั้งทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม หมายถึงจำนวนคนไม่ใช่สัดส่วนที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เมื่อขณะลงมติมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน และกรรมการการเลือกตั้งทั้งสามคนได้ลงมติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยและให้มีการเลือกตั้งใหม่ จึงเป็นการลงคะแนนไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการตามนัยแห่งกฎหมายข้างต้นแล้ว
การฟ้องผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้รับผิดค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 99 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวด้วยก็ตาม กรณีมิใช่เป็นเรื่องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เพียงแต่ว่าเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดว่าไม่เคยกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและมีการเลือกตั้งใหม่ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบปฏิเสธความรับผิดตามคำให้การได้ และมีสิทธิอ้างคำพิพากษาในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ และศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวประกอบได้ แต่พยานหลักฐานดังกล่าวจะมีน้ำหนักให้รับฟังได้ประการใดหรือไม่เป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามหลักเรื่องภาระการพิสูจน์และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
มาตรา 99 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้มีการการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 56 หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง...ผู้กระทำการฝ่าฝืน มาตรา 56 หรือผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินค่าใช้จ่ายในการให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องชำระ คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีอำนาจในการยื่นฟ้องเพื่อบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่ง
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครองโดยได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง จึงต้องคืนค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเท็จต่อ กกต. ด้วยเอกสารปลอมเพื่อหวังผลทางการเมือง ถือเป็นความผิดอาญาและผิด พ.ร.บ.การเลือกตั้ง
ความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสาม เป็นการแจ้งหรือให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมาตรา 4 ให้หมายถึง คณะกรรมการการเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกระทำการอันเป็นเท็จด้วยการใช้เอกสารปลอมร้องเรียนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมหาสารคาม ดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา114 วรรคสอง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16298/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาจากคำให้การเท็จต่อ กกต. ทำให้เสียสิทธิทางการเมือง
เหตุที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนการเลือกตั้งตามฟ้องและทำการเลือกตั้งใหม่สืบเนื่องจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ไปให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ส่วนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งเพียงแต่ผูกพันเพื่อให้การเลือกตั้งในคราวดังกล่าวต้องถูกเพิกถอนไปเท่านั้นแต่หาได้เป็นเด็ดขาดจนห้ามมิให้มีการดำเนินคดีแก่ผู้ที่ไปให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งจนเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้สมัครในเขตเลือกตั้งดังกล่าวต้องเสียหาย ทั้งมาตรา 135 แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 กำหนดให้ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงและมีอำนาจฟ้องคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และ 28 (2)