พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารผิดแบบ และการมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมาย
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบแปลนจากที่ได้รับอนุญาตโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 และ42 เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และตามมาตรา 4 เจ้าพนักงานท้องถิ่นหมายความว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครเมื่ออาคารของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครก่อสร้างผิดแบบแปลนจากที่ได้รับอนุญาตโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 และ 42ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารได้ และเนื่องจากมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นให้อำนาจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนได้ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทน และได้ประกาศคำสั่งในกรุงเทพกิจจานุเบกษาแล้ว ผู้อำนวยการเขตพระนครจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้อำนวยการเขตพระนครมาลงชื่อในสมุดลงเวลาทำการในตอนเช้าแล้วไม่ได้อยู่ปฏิบัติราชการที่สำนักงานเขตพระนคร กรณีจึงถือได้ว่าในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตพระนครและเป็นผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการในฐานะรักษาราชการแทนผู้อำนวยการเขตพระนครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 84 วรรคสอง
การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 นั้น นอกจากจะคำนึงถึงความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยแล้ว ยังจะต้องพิจารณาถึงแผนผัง บริเวณ แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนเพียง 4 ชั้น แต่กลับก่อสร้างเป็นอาคารถึง 6 ชั้น จึงเป็นการก่อสร้างที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31และเมื่อเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้ก่อสร้างเป็นอาคาร 6 ชั้น ตามที่ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31 (1)(2) และ (3) ได้ จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารชั้นที่ 5 และชั้นที่ 6 ได้
ตามแผนผังบริเวณของอาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจะต้องมีที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินด้านหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง2 เมตร และด้านหลังของอาคารก็ไม่มีการก่อสร้างเชื่อมต่อกับอาคารของบริษัท ต.เพราะเป็นการก่อสร้างแยกต่างหากอาคารเดิมของบริษัท ต. การที่โจทก์ฝ่าฝืนก่อสร้างอาคารเชื่อมต่อกันปกคลุมที่ว่างด้านหลังโดยไม่หลบเขตเป็นทางเดินด้านหลังอาคารกว้าง 2 เมตร จึงขัดกับมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 ทั้งยังขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4) ด้วย จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมที่ว่างทางเดินหลังอาคารทั้งหมดได้
อาคารที่ก่อสร้างตามใบอนุญาตที่ พ.28/2525 ซึ่งก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 6139 และโฉนดที่ดินเลขที่ 6298 โจทก์ก่อสร้างอาคารบนที่ดินที่ซื้อมาจาก บ. ที่ดินดังกล่าวทางทิศเหนือจดที่ดินเลขที่ 156, 157 และทางสาธารณะ ต่อมาที่ดินแปลงนี้ได้แบ่งแยกออกเป็นที่ดินแปลงย่อยอีก 6 แปลงซึ่งทางทิศเหนือของที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 6137 และ6138 ก็อยู่ติดทางสาธารณะ ต่อมาที่ดินโฉนดเลขที่ 6138 ถูกแบ่งแยกออกเป็น2 แปลงอีก คือที่ดินแปลงทางทิศใต้โฉนดที่ดินเลขที่ 6298 ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่6138 (แปลงคงเหลือ) เป็นที่ดินแปลงทางทิศเหนือเนื้อที่ 0.4 ตารางวา ซึ่งยังติดทางสาธารณะอยู่เช่นเดิม ถัดจากทางสาธารณะขึ้นไปทางทิศเหนือจะเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 1184 เลขที่ดิน 21 พร้อมอาคารของโจทก์ ซึ่งทางทิศตะวันออกจะติดกับอาคารของบริษัท ต.โจทก์ก่อสร้างอาคารของโจทก์ให้เชื่อมต่อกับอาคารของบริษัท ต.โจทก์ต้องก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 6298 ปกคลุมที่ดินโฉนดเลขที่ 6138 และทางสาธารณะด้วย เพื่อให้ไปเชื่อมต่อกับอาคารบนที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 1184 และอาคารของบริษัท ต.ให้เป็นอาคารเดียวกัน ซึ่งขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 69เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้โจทก์รื้อถอนพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางสาธารณะจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 50 กำหนดให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพ-มหานคร และในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามความในข้อ 40 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่29 กันยายน 2515 มีคำสั่งมอบอำนาจดังกล่าวให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทยฝ่ายบริหารปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และปลัดกระทรวงมหาดไทยยังมีคำสั่งมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในงานฝ่ายบริหาร ดังนั้น จำเลยที่ 3ซึ่งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทยที่มีอำนาจปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในงานฝ่ายบริหาร จึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวง-มหาดไทยในหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพมหานครคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 3 ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้อำนวยการเขตพระนครมาลงชื่อในสมุดลงเวลาทำการในตอนเช้าแล้วไม่ได้อยู่ปฏิบัติราชการที่สำนักงานเขตพระนคร กรณีจึงถือได้ว่าในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตพระนครและเป็นผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการในฐานะรักษาราชการแทนผู้อำนวยการเขตพระนครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 84 วรรคสอง
การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 นั้น นอกจากจะคำนึงถึงความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยแล้ว ยังจะต้องพิจารณาถึงแผนผัง บริเวณ แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนเพียง 4 ชั้น แต่กลับก่อสร้างเป็นอาคารถึง 6 ชั้น จึงเป็นการก่อสร้างที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31และเมื่อเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้ก่อสร้างเป็นอาคาร 6 ชั้น ตามที่ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31 (1)(2) และ (3) ได้ จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารชั้นที่ 5 และชั้นที่ 6 ได้
ตามแผนผังบริเวณของอาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจะต้องมีที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินด้านหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง2 เมตร และด้านหลังของอาคารก็ไม่มีการก่อสร้างเชื่อมต่อกับอาคารของบริษัท ต.เพราะเป็นการก่อสร้างแยกต่างหากอาคารเดิมของบริษัท ต. การที่โจทก์ฝ่าฝืนก่อสร้างอาคารเชื่อมต่อกันปกคลุมที่ว่างด้านหลังโดยไม่หลบเขตเป็นทางเดินด้านหลังอาคารกว้าง 2 เมตร จึงขัดกับมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 ทั้งยังขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4) ด้วย จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมที่ว่างทางเดินหลังอาคารทั้งหมดได้
อาคารที่ก่อสร้างตามใบอนุญาตที่ พ.28/2525 ซึ่งก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 6139 และโฉนดที่ดินเลขที่ 6298 โจทก์ก่อสร้างอาคารบนที่ดินที่ซื้อมาจาก บ. ที่ดินดังกล่าวทางทิศเหนือจดที่ดินเลขที่ 156, 157 และทางสาธารณะ ต่อมาที่ดินแปลงนี้ได้แบ่งแยกออกเป็นที่ดินแปลงย่อยอีก 6 แปลงซึ่งทางทิศเหนือของที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 6137 และ6138 ก็อยู่ติดทางสาธารณะ ต่อมาที่ดินโฉนดเลขที่ 6138 ถูกแบ่งแยกออกเป็น2 แปลงอีก คือที่ดินแปลงทางทิศใต้โฉนดที่ดินเลขที่ 6298 ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่6138 (แปลงคงเหลือ) เป็นที่ดินแปลงทางทิศเหนือเนื้อที่ 0.4 ตารางวา ซึ่งยังติดทางสาธารณะอยู่เช่นเดิม ถัดจากทางสาธารณะขึ้นไปทางทิศเหนือจะเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 1184 เลขที่ดิน 21 พร้อมอาคารของโจทก์ ซึ่งทางทิศตะวันออกจะติดกับอาคารของบริษัท ต.โจทก์ก่อสร้างอาคารของโจทก์ให้เชื่อมต่อกับอาคารของบริษัท ต.โจทก์ต้องก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 6298 ปกคลุมที่ดินโฉนดเลขที่ 6138 และทางสาธารณะด้วย เพื่อให้ไปเชื่อมต่อกับอาคารบนที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 1184 และอาคารของบริษัท ต.ให้เป็นอาคารเดียวกัน ซึ่งขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 69เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้โจทก์รื้อถอนพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางสาธารณะจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 50 กำหนดให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพ-มหานคร และในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามความในข้อ 40 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่29 กันยายน 2515 มีคำสั่งมอบอำนาจดังกล่าวให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทยฝ่ายบริหารปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และปลัดกระทรวงมหาดไทยยังมีคำสั่งมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในงานฝ่ายบริหาร ดังนั้น จำเลยที่ 3ซึ่งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทยที่มีอำนาจปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในงานฝ่ายบริหาร จึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวง-มหาดไทยในหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพมหานครคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 3 ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายควบคุมอาคารและการมีอำนาจฟ้องคดีอาญาจากความผิดหลังมีกฎหมายใหม่
แม้จำเลยจะทำการก่อสร้างดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ขออนุญาตระหว่างวันที่21กุมภาพันธ์2535ถึงวันที่15มีนาคม2535ซึ่งอยู่ในระหว่างใช้กฎหมายเก่าก็ตามแต่ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา23ใช้บังคับตั้งแต่วันที่6มิถุนายน2535แก้ไขให้มีบทลงโทษตามมาตรา66ทวิเมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าจำเลยได้ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารก่อสร้างผิดแบบที่ขออนุญาตภายในกำหนด30วันหลังจากที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่2)พ.ศ.2535ใช้บังคับแล้วการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42,66ทวิ,69และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา23หาใช่เป็นเรื่องการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดหรือกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดไม่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตการก่อสร้างอาคารเนื่องจากขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคารและประกาศกระทรวง/ข้อบัญญัติท้องถิ่น
แม้นับแต่เวลาที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารจนถึงเวลาที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังไม่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครห้ามก่อสร้างอาคารในบริเวณที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างก็ตามแต่ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีจนถึงเวลาที่ศาลฎีกาพิพากษาคดีนี้ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล2ทั้งสองฟากฯลฯและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล2ทั้งสองฟากฯลฯซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา9และมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ออกมาใช้บังคับโดยห้ามมิให้บุคคลใดทำการก่อสร้างอาคารในระยะ15เมตรจากเขตถนนทั้งสองฟากของถนนสุขาภิบาล2และยังมีผลใช้บังคับอยู่ซึ่งรวมถึงบริเวณสถานที่ที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างอาคารของโจทก์ศาลจึงไม่อาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6572/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร ถือเป็นการก่อสร้างใหม่ ต้องรื้อถอน
จำเลยได้ต่อเติมอาคารพิพาทจากหลังคามุงกระเบื้องเป็นดาดฟ้าคอนกรีตทำเป็นชั้นที่ 4 และต่อเติมจากชั้นดาดฟ้าโดยทำหลังคาเป็นชั้นที่ 5 ถือเป็นการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ มิใช่เป็นการซ่อมแซมเพื่อความเป็นระเบียบสวยงามจำเลยจึงต้องรื้อถอนส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมออกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารเกินแบบที่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยเป็นเจ้าของอาคารที่ได้ปลูกสร้างมาก่อนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ออกใช้บังคับโดยมีแนวอาคารและระยะขัดกับข้อบัญญัติดังกล่าว ต่อมาจำเลยได้ขออนุญาตต่อโจทก์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530 เพื่อทำการซ่อมแซมอาคารดังกล่าวโจทก์อนุญาต หลังจากนั้นจำเลยได้ทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารนอกเหนือไปจากแบบแปลนที่ได้ขออนุญาตไว้ โดยต่อเติมด้านหลังอาคารซึ่งเดิมเป็นชั้นเดียวให้เป็นสองชั้น และมีชั้นดาดฟ้าด้วยการสร้างฐานราก เสาตอหม้อ คานคอดิน คานชั้นสอง คานรับดาดฟ้า หลังคาขยายพื้นชั้นสองขนาดประมาณ 24.86 ตารางเมตร ต่อเติมพื้นชั้นดาดฟ้าขนาดประมาณ 18.48 ตารางเมตร เพิ่มหลังคามุมห้องบันได สร้างผนังอิฐกั้นห้องชั้นสอง ซึ่งการดัดแปลงต่อเติมดังกล่าวได้สร้างปิดทางเดินด้านหลังอาคาร สภาพและลักษณะของการต่อเติมและขยายอาคารของจำเลยดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมหรือดัดแปลงเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม แต่เป็นการดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 22 เดิม,31 เดิม และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 30,76,83 และเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย: อำนาจฟ้อง, การก่อสร้างผิดแบบ, และอายุความที่ไม่ใช่ละเมิด
โจทก์กล่าวไว้ในฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจของโจทก์ไว้ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 จำเลยได้รับสำเนาเอกสารดังกล่าวไปพร้อมฟ้องแล้วไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการนำเอกสารมาสืบก่อนวันสืบพยานว่าไม่มีต้นฉบับหรือว่าต้นฉบับปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน สำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับและไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลัง ถือได้ว่าจำเลยยอมรับถึงการมีอยู่ของต้นฉบับและความถูกต้องแท้จริงของต้นฉบับเอกสารนั้นรวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นตรงกับต้นฉบับ ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อ 72 วรรคสาม บัญญัติให้แนวอาคารที่ปลูกสร้างริมทางสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไปให้ร่นแนวอาคารห่างจากแนวถนนอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของแนวถนนนั้น คำว่า "แนวถนน" หมายความว่ารวมความกว้างของถนนและทางเท้าเข้าด้วยกัน ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายมิใช่ความผิดละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์จึงฟ้องขอให้รื้อถอนได้เสมอตราบที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและการปรับโทษตามกฎหมายควบคุมอาคาร โดยมีการใช้กฎหมายที่แตกต่างกันตามช่วงเวลา
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคแรกบัญญัติว่า "ในกรณีที่ฝ่าฝืนมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 24หรือมีการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงานแล้วแต่กรณีระงับการกระทำนั้นได้" บทบัญญัติมาตรานี้มีความมุ่งหมายใช้บังคับแก่กรณีการที่ดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายยังคงมีอยู่เพื่อมิให้มีการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อไป จึงให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ระงับหรือยุติการกระทำที่ฝ่าฝืนนั้นเสียสำหรับการกระทำหรือการก่อสร้างที่ทำไปแล้วจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้น จะต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 วรรคแรกและมาตรา 43 วรรคแรกได้หรือไม่ หากเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนและดำเนินการตามมาตรา 42 ต่อไป ถ้าหากเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารนั้นให้ถูกต้องและดำเนินการตามมาตรา 43 ต่อไป เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคแรกให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่ก่อสร้างให้ถูกต้องกรณีนี้หามีบทบัญญัติว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้แต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิด และกรณีนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2ซึ่งถอนฎีกาไปแล้วด้วย แต่ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันด้วยนั้น เนื่องจากความผิดฐานก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแบบแปลนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้กำหนดไว้ในใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 นั้นจะลงโทษปรับรายวันตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวแล้วและผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้จึงจะลงโทษปรับรายวันได้ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะปฏิบัติตามแล้วแต่กรณี แต่ตามฟ้องไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งดังกล่าวแต่อย่างใดที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันจึงเป็นการลงโทษนอกเหนือจากฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225 เนื่องจากในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535ออกใช้บังคับโดยมาตรา 22 และมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ยกเลิกความในมาตรา 65 วรรคแรกและมาตรา 70กรณีจึงเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด จึงต้องใช้โทษตามมาตรา 70ที่แก้ไขใหม่ประกอบมาตรา 65 วรรคแรก เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารดัดแปลงผิดกฎหมาย: เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้อง แม้จะไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรง
จำเลยดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและอาคารที่ดัดแปลงไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา 4 พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 ได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงโดยไม่รับอนุญาตภายใน 30 วัน จำเลยรับแจ้งคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ตามมาตรา 42 วรรคสาม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2528 จำเลยได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารโดยมีเงื่อนไขให้จำเลยรื้อถอนอาคารเดิมออก มิฉะนั้นจะถือว่าปลูกสร้างผิดจากแบบแปลงแผนผังที่ได้รับอนุญาต ปรากฏว่าจำเลยมิได้รื้อถอนผนังกำแพงด้านข้างและต้นเสา 2 ด้านของอาคารเดิม กลับก่อสร้างอาคารชั้นเดียวเชื่อมต่อจากอาคาร 4 ชั้น ไปด้านหน้าด้านถนนและก่อสร้างอาคารเชื่อมต่อจากอาคาร 4 ชั้น ปกคลุมแนวร่นของอาคารไว้ทั้งหมด โดยก่อสร้างขึ้นหลังจาก พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มีผลใช้บังคับแล้วไม่ใช่ก่อสร้างอาคารพิพาทภายในแนวเขตที่ดินและตามแนวอาคารเดิมซึ่งได้ก่อสร้างขึ้นก่อนพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ใช้บังคับ จึงเป็นการดัดแปลงที่ผิดไปจากแบบแปลนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยต้องรื้อถอน การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 โจทก์ฟ้องให้รื้อถอนได้ตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารชั่วคราวบนที่สาธารณะ แม้รื้อถอนได้ง่าย ก็ยังถือเป็นการก่อสร้างตามกฎหมายควบคุมอาคาร
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 คำว่า อาคารหมายความถึง ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และ สิ่ง ที่ก่อสร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่ หรือเข้าใช้สอยได้ ดังนั้น เพิงที่จำเลยปลูกขึ้นอยู่อาศัยและ ทำการค้าขายด้วยนั้น แม้จะใช้วัสดุค้ำหลังคาไว้อันมีลักษณะ เป็นการชั่วคราวสามารถรื้อถอนได้โดยง่ายก็ตามก็มีสภาพเป็นอาคารตาม ความหมายที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ส่วนคำ ว่าก่อสร้างนั้น หมายถึง สร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมด เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คำนิยามไว้ โดยเฉพาะแล้ว ย่อมจะนำเอาความหมายตามพจนานุกรมมาใช้แก่คดีนี้ ไม่ได้การที่จำเลยสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมดจึงเป็นการก่อสร้างอาคาร แม้จะเป็นการชั่วคราวก็ไม่อาจกระทำได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนอาคารดัดแปลงผิดกฎหมาย ไม่ใช่ฟ้องค่าเสียหาย แต่เป็นการบังคับตามกฎหมายควบคุมอาคาร
การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมตามโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 หากแต่เป็นการฟ้องโดยอาศัย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่