คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายความสงบเรียบร้อย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างให้ค่าตอบแทนพิเศษเพื่อระดมเงินฝากขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย จึงเป็นโมฆะ
จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาเงินทุน ค่าจ้างเดือนละ 38,000 บาท และจำเลยตกลงให้โจทก์กับพวกซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยพร้อมกับโจทก์ ร่วมกันระดมเงินฝากให้แก่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 4,000 ล้านบาท จำเลยที่ 1จะจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้โจทก์กับพวกรวม 4 คนในอัตราร้อยละ 0.06ของยอดเงินฝากคงเหลือเฉลี่ยแต่ละวัน โดยจ่ายปีละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่โจทก์กับพวกไม่สามารถระดมเงินฝากได้ถึง 2,500 ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี จำเลยสามารถใช้สิทธิเปลี่ยนแปลงสัญญากันใหม่ได้ ซึ่งตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวโจทก์จะได้ค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่จำนวนเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์จะระดมเงินฝากได้หรือไม่ และจำนวนมากน้อยเพียงใด จึงไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่ และจำนวนเท่าใด ทั้งในกรณีที่โจทก์กับพวกร่วมกันระดมเงินฝากได้มากเกิน 4,000 ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี ตามสัญญาจ้างก็มิได้กำหนดให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์ค่าตอบแทนพิเศษแก่โจทก์ เพื่อเป็นการจูงใจให้โจทก์ขยันระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น ทั้งโจทก์จะได้รับเงินตอบแทนพิเศษนี้ปีละครั้งต่างหากจากเงินเดือน และเงินจำนวนนี้พนักงานอื่นไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจึงไม่เป็นเงินรางวัล เงินบำเหน็จ เงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ และไม่เป็นเงินเดือน
ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยตกลงจ่ายให้โจทก์สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลย ซึ่งเป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 20(9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างที่พิพาทย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และไม่มีผลบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตาม จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามที่ตกลงในสัญญาจ้างให้โจทก์
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายให้โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างนั้น เมื่อค่าตอบแทนพิเศษไม่เป็นเงินส่วนที่เป็นเงินเดือน เงินบำเหน็จ เงินรางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติแล้ว แม้จะฟังว่าค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินค่าจ้างดังโจทก์อุทธรณ์ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีค่าชดเชย: แม้กฎหมายเกี่ยวข้องความสงบเรียบร้อย ก็ไม่อาจฟ้องซ้ำได้หากเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า การที่โจทก์ออกจากงานเป็นการเลิกจ้าง มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่ามิใช่เป็นกรณีเลิกจ้างคดีถึงที่สุด แล้วโจทก์มาฟ้องคดีนี้เรียกค่าชดเชยโดยอาศัยเหตุว่า เป็นการเลิกจ้างอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ เพราะแม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานจะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ก็มิใช่กรณีที่ยกเว้นให้ฟ้องซ้ำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นเจตนาทุจริตได้ แม้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะเรื่องอายุความ เป็นเหตุให้ยกฟ้องได้ตามกฎหมายความสงบเรียบร้อย
จำเลยอุทธรณ์ ศาลสั่งรับอุทธรณ์เรื่องอายุความข้อเดียวในการวินิจฉัยเรื่องอายุความนี้ ศาลอุทธรณ์จำต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเพื่อนำมาปรับกับบทกฎหมายว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริต ศาลอุทธรณ์ย่อมยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นเป็นเหตุยกฟ้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185,215 เพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 195 วรรคสองโจทก์จะฎีกาโต้แย้งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอ หรือมิได้กล่าวในฟ้อง (อุทธรณ์) ย่อมฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่สมบูรณ์ฐานทำร้ายร่างกาย - ศาลฎีกายกข้อกฎหมายความสงบเรียบร้อย แม้ไม่ได้ยกขึ้นสู่การพิจารณา
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยใช้กำลังชก ต่อย เตะร่างกายและศีรษะของผู้เสียหาย จนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจก็ตาม แต่คำขอท้ายฟ้องไม่ได้อ้างมาตรา 391 ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย จึงขาดการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ศาลจะลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวไม่ได้ แม้คู่ความมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีเหตุฉ้อฉลหรือขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย แม้การบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยฎีกาโดยยกข้ออ้างเป็นเรื่องที่ว่าการขายทอดตลาดอาคารพาณิชย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับคดี มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์หลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะทำให้เห็นว่าสัญญาประนีประยอมความนั้นเกิดโดยการฉ้อฉลของโจทก์ และข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมนั้นก็มิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ในอันที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้