พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานต่างประเทศ: การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการและการบังคับใช้กฎหมายต่างประเทศ
โจทก์เป็นคนสัญชาติอังกฤษ จำเลยเป็นนิติบุคคลสัญชาติอเมริกัน จดทะเบียนและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองอีสท์ ออเรนจ์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สัญญาจ้างแรงงานที่โจทก์ทำกับจำเลยนี้ โจทก์ได้ลงลายมือชื่อในประเทศไทย แล้วส่งสัญญาให้จำเลยลงลายมือชื่อในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงถือว่าสัญญาจ้างแรงงานฉบับนี้ได้ทำขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 13 เมื่อพิจารณาสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้ว ได้ตกลงกันในข้อ 21 ว่า ให้สัญญาจ้างแรงงานฉบับนี้อยู่ภายใต้บังคับและการตีความตามกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงต้องบังคับตามกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ตามเจตนาของโจทก์และจำเลยอันเป็นคู่สัญญา
สัญญาจ้างแรงงานกำหนดให้ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งที่คู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้ และข้อโต้เถียง สิทธิเรียกร้อง หรือข้อพิพาทอันเกิดแต่หรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้ให้ระงับโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎของสมาคมการอนุญาโตตุลาการของประเทศสหรัฐอเมริกาและให้ถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนของการดำเนินการฟ้องร้องคดี กระบวนการอนุญาโตตุลาการให้ดำเนินการในเมืองอีสท์ ออเรนจ์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือในสถานที่อื่นอันเป็นที่ยอมรับร่วมกันของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวสามารถใช้บังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมายไทยและศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าไม่ขัดต่อกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย ดังนั้น โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยเสียก่อน เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด โจทก์จึงยังไม่อาจเสนอคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 14
สัญญาจ้างแรงงานกำหนดให้ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งที่คู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้ และข้อโต้เถียง สิทธิเรียกร้อง หรือข้อพิพาทอันเกิดแต่หรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้ให้ระงับโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎของสมาคมการอนุญาโตตุลาการของประเทศสหรัฐอเมริกาและให้ถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนของการดำเนินการฟ้องร้องคดี กระบวนการอนุญาโตตุลาการให้ดำเนินการในเมืองอีสท์ ออเรนจ์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือในสถานที่อื่นอันเป็นที่ยอมรับร่วมกันของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวสามารถใช้บังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมายไทยและศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าไม่ขัดต่อกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย ดังนั้น โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยเสียก่อน เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด โจทก์จึงยังไม่อาจเสนอคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานต่างประเทศ: การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ และเขตอำนาจศาล
โจทก์เป็นคนสัญชาติอังกฤษ จำเลยเป็นนิติบุคคลสัญชาติอเมริกัน จดทะเบียนและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองอีสท์ ออเรนจ์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สัญญาจ้างแรงงานที่โจทก์ทำกับจำเลย โจทก์ได้ลงลายมือชื่อในประเทศไทย แล้วส่งสัญญาให้จำเลยลงลายมือชื่อในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงถือว่าสัญญาจ้างแรงงานได้ทำขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2581 มาตรา 13 เมื่อสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ตกลงกันว่า ให้สัญญาจ้างแรงงานอยู่ภายใต้บังคับและการตีความตามกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงต้องบังคับตามกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ตามเจตนาของโจทก์และจำเลยอันเป็นคู่สัญญา
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลย กำหนดให้ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งที่คู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้ และข้อโต้เถียง สิทธิเรียกร้อง หรือข้อพิพาทอันเกิดแต่หรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้ให้ระงับโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎของสมาคมการอนุญาโตตุลาการของประเทศสหรัฐอเมริกาและให้ถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนของการดำเนินการฟ้องร้องคดี กระบวนการอนุญาโตตุลาการให้ดำเนินในเมืองอีสท์ ออเรนจ์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือในสถานที่อื่นอันเป็นที่ยอมรับร่วมกันของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ข้อตกลงดังกล่าวสามารถใช้บังคับได้ เพราะเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทอย่างหนึ่งที่คู่กรณีตกลงให้บุคคลที่ไม่ใช่ตุลาการทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแทนตุลาการในศาล จึงไม่ขัดต่อกฎหมายไทยและข้อเท็จจริงได้ความว่าไม่ขัดต่อกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย ดังนั้น โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเสียก่อน เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด โจทก์จึงยังไม่อาจเสนอคดีต่อศาลแรงงานกลางได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลย กำหนดให้ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งที่คู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้ และข้อโต้เถียง สิทธิเรียกร้อง หรือข้อพิพาทอันเกิดแต่หรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้ให้ระงับโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎของสมาคมการอนุญาโตตุลาการของประเทศสหรัฐอเมริกาและให้ถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนของการดำเนินการฟ้องร้องคดี กระบวนการอนุญาโตตุลาการให้ดำเนินในเมืองอีสท์ ออเรนจ์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือในสถานที่อื่นอันเป็นที่ยอมรับร่วมกันของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ข้อตกลงดังกล่าวสามารถใช้บังคับได้ เพราะเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทอย่างหนึ่งที่คู่กรณีตกลงให้บุคคลที่ไม่ใช่ตุลาการทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแทนตุลาการในศาล จึงไม่ขัดต่อกฎหมายไทยและข้อเท็จจริงได้ความว่าไม่ขัดต่อกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย ดังนั้น โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเสียก่อน เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด โจทก์จึงยังไม่อาจเสนอคดีต่อศาลแรงงานกลางได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลไทยฟ้องคดีกู้ยืมระหว่างประเทศ, การใช้กฎหมายต่างประเทศ, และการคิดอัตราแลกเปลี่ยน
การกู้เงินพิพาทมีผู้ให้กู้ร่วมกันหลายบริษัทซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย ส่วนผู้กู้มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทย การที่คู่สัญญาตกลงกันให้นำคดีเกี่ยวกับสัญญาทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงทำได้ตามหลักกฎหมายทั่วไประหว่างประเทศแต่ข้อตกลงเลือกศาลดังกล่าว คู่สัญญาไม่ได้ตกลงให้ฟ้องร้องยังศาลแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์เพียงศาลเดียวเด็ดขาดเพราะได้เปิดโอกาสให้ผู้ให้กู้ฟ้องผู้กู้ในศาลอื่นที่มีเขตอำนาจได้ด้วย การที่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้ให้กู้ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้กู้ต่อศาลในประเทศไทยจึงมีอำนาจทำได้ตามสัญญา
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร กับมาตรา 7(5) และ (6) บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารการเงินระหว่างประเทศ หรือการให้บริการระหว่างประเทศ เมื่อจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพและคดีพิพาทเป็นเรื่องการกู้ยืมเงินระหว่างประเทศ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้
กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มีอยู่อย่างไรเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่ศาลไทยต้องใช้กฎหมายดังกล่าวนำพยานผู้เชี่ยวชาญกฎหมายของประเทศนั้นมาสืบประกอบตัวบทกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีให้เป็นที่พอใจศาล เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างมิได้พิสูจน์กฎหมายนั้น ให้เป็นที่พอใจแก่ศาล ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยมาบังคับแก่คดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 8
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร กับมาตรา 7(5) และ (6) บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารการเงินระหว่างประเทศ หรือการให้บริการระหว่างประเทศ เมื่อจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพและคดีพิพาทเป็นเรื่องการกู้ยืมเงินระหว่างประเทศ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้
กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มีอยู่อย่างไรเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่ศาลไทยต้องใช้กฎหมายดังกล่าวนำพยานผู้เชี่ยวชาญกฎหมายของประเทศนั้นมาสืบประกอบตัวบทกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีให้เป็นที่พอใจศาล เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างมิได้พิสูจน์กฎหมายนั้น ให้เป็นที่พอใจแก่ศาล ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยมาบังคับแก่คดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายต่างประเทศกับการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534เพิ่งใช้บังคับเมื่อวันที่21กุมภาพันธ์2535แต่การว่าจ้างขนส่งสินค้าพิพาททำสัญญากันก่อนวันที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534มีผลใช้บังคับดังนั้นในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับสินค้าพิพาทจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา4จะนำเอาพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534มาปรับใช้แก่คดีนี้หาได้ไม่ โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าพิพาทเมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งโจทก์มีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา877และผลแห่งการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นนั้นทำให้โจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทได้ในนามของโจทก์เองตามมาตรา880วรรคหนึ่ง การรับช่วงสิทธิของโจทก์ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยอำนาจแห่งกฎหมายตามมาตรา880วรรคหนึ่งหาใช่เกิดจากข้อตกลงในสัญญาไม่ดังนั้นข้อตกลงระหว่างผู้เอาประกันภัยกับจำเลยหรือผู้ส่งสินค้ากับจำเลยที่ตกลงกันให้นำข้อพิพาทอันเกิดจากใบตราส่งไปฟ้องต่อศาลของเมืองโคเปนเฮเกนและให้ใช้กฎหมายประเทศเดนมาร์กบังคับจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ การใช้กฎหมายก่อนและหลัง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฎิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งได้วินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน2528 อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไว้แล้วก่อนที่ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ใช้บังคับ พ.ร.บ. ดังกล่าวจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ปฎิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงจำเลยตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว และเมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเกิดขึ้นขณะที่ ป.พ.พ.มาตรา 168 (เดิม) ใช้บังคับ อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงต้องบังคับตามบทมาตราดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้ภายในกำหนด 10 ปี
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามคำร้องของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา24 ซึ่งมาตรา 227 มิให้ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ก่อน ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามคำร้องของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา24 ซึ่งมาตรา 227 มิให้ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ก่อน ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ: ฟ้องต้องระบุชัดเจนว่ากฎหมายต่างประเทศให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ของภาคีอื่นด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าวีดีทัศน์ของโจทก์เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายเมืองฮ่องกงซึ่งประเทศอังกฤษภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมทำ ณกรุงเบอร์น นำเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมของตนเข้าผูกพันตามอนุสัญญาดังกล่าว และประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย มิได้กล่าวในฟ้องว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวด้วย และถ้อยคำที่โจทก์บรรยายในฟ้องว่า ทั้งประเทศไทยและเมืองฮ่องกงต่างได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งกันและกันรวมถึงงานภาพยนตร์ วีดีทัศน์ด้วย จึงได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทยนั้น ก็ไม่อาจแปลไปได้ว่ากฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญา ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าวีดีทัศน์ของโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ต่างชาติในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของไทย โดยอาศัยหลักกฎหมายต่างประเทศ
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีภูมิลำเนาอยู่ประเทศฝรั่งเศสพิสูจน์ได้ว่า มีหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศฝรั่งเศสมาตรา 11 และมาตรา 2123 ให้สิทธิเจ้าหนี้ที่เป็นคนสัญชาติอื่นยื่นคำขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ในประเทศฝรั่งเศสได้แม้จะไม่มีมาตราใดบัญญัติไว้โดยเฉพาะในกฎหมายล้มละลายของประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกับกฎหมายล้มละลายแห่งประเทศไทยก็ตาม เจ้าหนี้ในประเทศไทยก็ย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในประเทศฝรั่งเศสได้ ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขในมาตรา 178 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 แล้ว จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในประเทศไทยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6553/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: โต้เถียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกฎหมายต่างประเทศและการรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกจำเลย4 เดือน ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้ 2 ปีคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ร่วมเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงหรือไม่ ทั้งโต้เถียงกฎหมายอื่น ๆ ของต่างประเทศนอกจากนั้นยังโต้เถียงว่าพยานบุคคลและพยานเอกสารของฝ่ายโจทก์รับฟังไม่ได้ พยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิด หรือยังมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่นั้น เป็นการโต้เถียงถึงปัญหาข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบเกี่ยวกับกฎหมายของต่างประเทศและโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5929/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ จำเป็นต้องพิสูจน์การคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศนั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุแถบ บันทึกภาพ (วีดีโอ เทป) ภาพยนตร์มีชื่อภาษาไทยว่า คิงคอง ภาค 2 ของบริษัทอินเตอร์คอนติเนนตัล ฟิล์ม ดิสตริบิวเตอร์ส์ (ฮ่องกง) จำกัดผู้เสียหายซึ่งเป็นนิติบุคคล เป็นงานมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายฮ่องกง ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์และประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย กฎหมายของประเทศฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวเป็นคำบรรยายฟ้องที่มีข้อความสำคัญแสดงให้เห็นว่า แถบ บันทึกภาพยนตร์ของผู้เสียหายตามฟ้องเข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการบรรยายฟ้องแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: การฟ้องต้องแสดงให้เห็นถึงการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศและอนุสัญญา
คดีความผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนิติบุคคลในเมืองฮ่องกงอันเป็นดินแดนในอารักขาของประเทศสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมทำ ณ กรุงเบอร์น เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1886 ซึ่งได้แก้ไขณ กรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908 และสำเร็จบริบูรณ์ด้วยโปรโตคลเพิ่มเติม ลงนาม ณ กรุงเบอร์น เมื่อวันที่20 มีนาคม ค.ศ. 1914 โดยกฎหมายเมืองฮ่องกงให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ประเทศไทยเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าวและกฎหมายฮ่องกงให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521และขอให้สั่งให้ตลับแถบ บันทึกภาพและเสียงของกลางตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 47 เมื่อไม่ได้ความว่าภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นงานมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครอง จึงต้องคืนของกลางแก่เจ้าของ.
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521และขอให้สั่งให้ตลับแถบ บันทึกภาพและเสียงของกลางตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 47 เมื่อไม่ได้ความว่าภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นงานมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครอง จึงต้องคืนของกลางแก่เจ้าของ.