คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายทหาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีทหาร และการแจ้งข้อหาผู้ต้องหา: การพิจารณาตามกฎหมายและระเบียบทหาร
ประมวลกฎหมายอาญาทหาร ม.4 + 30 ถึง 33 แสดงให้เห็นว่า " ผู้ซื่งบังคับบัญชาทหาร " ย่อมออกคำสั่งหรือข้อบังคับให้ใช้บังคับทหาร เช่นกฎหมายของเขาเหล่านั้นได้ ปัญหาเรื่องอำนาจหน้าที่และวิธีการสอบสวนคดีอาญาของฝ่ายทหารศาลต้องพิจารณาแปลความหมายในบรรดาคำสั่งหรือข้อบังคับของฝ่ายทหารประกอบด้วยประมวลวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อบังคับทหารที่ 9/10909/2477 ว่าด้วยระเบียบจัดการทางคดี ไม่มีข้อความใดที่บังคับว่าการไต่สวนคดีที่เกิดนอกกรุงเทพ+จะให้ศาลทหารพิจารณา บุคคลอื่นนอกจากอัยการจะกระทำไม่ได้ คำว่า " ไต่สวน " ในข้อบังคับนั้น มุ่งหมายเพียงแต่ว่าจะให้ใครไต่สวนได้ เพราะการฟ้องร้องในสมัยก่อนใช้ประมวลก.ม.วิธีพิจารณาความอาญา ไม่จำต้องมีการไต่สวนมาก่อน การดำเนินคดีในกรณีทีทหารเป็นผู้ต้องหาเป็นเรื่องกึ่ง+นัยกึ่งอาญาแผ่นดิน การสอบสวนที่ผู้บังคับทหารมณฑลทหารบกที่ 2 สั่งตั้งกรรมการสอบสวนโดยมิได้สั่งให้อัยการในทหารนอกกรุงเทพเป็นผู้สอบสวนตามข้อบังคับนั้น จึงชอบด้วย ก.ม.เพื่อฟ้องคดีต่อศาลทหารแล้ว
ป.วิ.อาญาม.134 หมายความเพียงว่า ก.ม.ต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนต้องถูกสอบสวนในคดีอาญา เรื่องใดอันเปนประธานมิได้หมายความความว่าต้องแจ้งกะทงความผิดทุกกะทง เช่นแจ้งข้อหาฐานลักทรัพย์ ปรากฎว่าผู้ต้องหาทำลายตราและไม่ทำตามข้อบังคับด้วยในการลักทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมฟ้องฐานรวมไปได้ทุกฐาน ฎีกา 99/81 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องฐานอื่นเพิ่มเติมโดยปรากฎขึ้นในการพิจารณาของศาล หาได้อาศัยจากการสอบสวนไม่ จึงฟ้องไม่ได้เพราะไม่มีการสอบสวน