คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายปกครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์ข้าราชการกับหน่วยงานรัฐเป็นผลจากกฎหมายปกครอง ไม่ใช่สัญญา การละเมิดจึงอายุความ 1 ปี
ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับกระทรวงทะบวงกรมนั้น มีขึ้นโดยกฎหมายฝ่ายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นต้น หาได้เกิดขึ้นและเป็นไปเพราะผลของนิติกรรมสัญญา เช่น จ้างแรงงาน ไม่ (นัยคำพิพากษา ฎีกาที่ 123/2504)
การที่ข้าราชการประมาทเลินเล่อทำให้กระทรวงทะบวงกรมเสียหาย จึงเป็นเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มิใช่เรื่องให้ตัวแทนรับผิดตามมาตรา 812 ฉะนั้น อายุความจึงมี 1 ปี นับแต่ทราบถึงการละเมิดตามมาตรา 448 ตาม นัยคำพิพากษาฎีกาที่กล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์ข้าราชการกับหน่วยงานรัฐเป็นไปตามกฎหมายปกครอง ไม่ใช่สัญญาจ้าง การละเมิดจึงมีอายุความ 1 ปี
ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับกระทรวงทบวงกรมนั้นมีขึ้นโดยกฎหมายฝ่ายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นต้น หาได้เกิดขึ้นและเป็นไปเพราะผลของนิติกรรมสัญญา เช่น จ้างแรงงาน ไม่(นัยคำพิพากษาฎีกาที่ 123/2504)
การที่ข้าราชการประมาทเลินเล่อทำให้กระทรวงทบวงกรมเสียหายจึงเป็นเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา420 มิใช่เรื่องให้ตัวแทนรับผิดตามมาตรา 812 ฉะนั้นอายุความจึงมี 1 ปี นับแต่ทราบถึงการละเมิดตามมาตรา448 ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่กล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: การขยายเวลาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และการยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนด
ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้หนังสือแจ้งการประเมินซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองต้องระบุระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้ด้วย และในวรรคสองบัญญัติว่า ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนโดยมิได้ระบุระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งไว้ ให้ขยายระยะเวลาเป็นหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง บทบัญญัติดังกล่าวมีผลเป็นการให้สิทธิแก่ผู้รับประเมิน โดยขยายระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่เป็นหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แจ้งสิทธิในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ก็หาทำให้การประเมินนั้นไม่ชอบ เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่ได้รับแจ้งการประเมิน จำนวนภาษีที่ประเมินไว้จึงเป็นจำนวนเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8872/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาบังคับใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่น: การเริ่มต้นนับวัน และผลของการระบุวันใช้บังคับผิดพลาด
พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง หมายความว่า ข้อบัญญัติที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราขึ้นในกรณีทั่วไปต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด และมีการประกาศข้อบัญญัตินั้นไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้วจนครบกำหนด 15 วัน จึงจะมีผลใช้บังคับได้ แต่มีข้อยกเว้นว่าในกรณีฉุกเฉินหากข้อบัญญัติที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราขึ้นโดยมีข้อความระบุให้ใช้บังคับได้ทันทีและได้รับการอนุมัติข้อบัญญัตินั้นจากผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วก็มีผลใช้บังคับได้ในวันที่มีการประกาศ ทั้งนี้ไม่ปรากฏบทบัญญัติอื่นใน พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 กำหนดวิธีการนับวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาประกาศข้อบัญญัติในกรณีทั่วไปไว้ด้วย ทั้งข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี เรื่อง การเก็บภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2542 มิใช่ข้อบัญญัติที่ตราขึ้นในกรณีฉุกเฉินจึงต้องคำนวณระยะเวลาการปิดประกาศตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง โดยไม่นับวันแรกแห่งระยะเวลาที่ประกาศรวมเข้าด้วยเมื่อมีการประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2542 จึงเริ่มต้นนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2542 ซึ่งจะครบกำหนด 15 วัน ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2542 และข้อบัญญัติที่ประกาศนั้นจะมีผลใช้บังคับได้ตั้งแต่วันถัดไปคือวันที่ 2 พฤษภาคม 2542
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี เรื่อง การเก็บภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2542 มีการนับระยะเวลาการปิดประกาศครบกำหนด 15 วัน ว่าตรงกับวันใดไว้ผิดพลาดจึงมีการระบุข้อความล่วงหน้าให้ข้อบัญญัติใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2542 แต่การประกาศข้อบัญญัติซึ่งระบุวันใช้บังคับผิดพลาดมิใช่เรื่องที่ทำโดยไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ ถือได้ว่าข้อบัญญัติดังกล่าวยังไม่สิ้นผลหรือเป็นโมฆะ เมื่อมีการประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว 15 วัน ข้อบัญญัติทั้งหมดยกเว้นข้อ 2 จึงมีผลบังคับใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป การกระทำความผิดของจำเลยเกิดขึ้นหลังวันที่ 2 พฤษภาคม 2542 จึงเป็นความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9996-9997/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับใบอนุญาตส่งออกข้าวและการอ้างเหตุผลทางกฎหมายที่โจทก์ทราบอยู่แล้ว
จำเลยมีหนังสือแจ้งระงับการออกใบอนุญาตส่งออกข้าวไปนอกราชอาณาจักรให้แก่บริษัท ร. โดยอ้างกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 และบริษัท ร. มีหนังสือขอสำเนากฎกระทรวงดังกล่าวจากจำเลยด้วย เมื่อกรรรมการบริษัท ร. เป็นกรรมการชุดเดียวกับโจทก์ทั้งสอง จึงถือได้ว่าข้อกฎหมายที่อ้างอิงตามกฎกระทรวงนั้นเป็นเหตุผลที่รู้กันอยู่แล้วตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคสาม (2) โดยจำเลยไม่จำต้องระบุในคำสั่งทางปกครองที่แจ้งแก่โจทก์ทั้งสองอีก
แม้พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง พุทธศักราช 2482 ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 แต่พระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2490 และประกาศกระทรวงเศรษฐการ เรื่อง การส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2509 ที่ออกตามพระราชบัญญัติที่ถูกยกเลิกยังมีผลใช้บังคับต่อไป เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ข้าวจึงคงเป็นสินค้าต้องห้ามมิให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเช่นเดิม ซึ่งตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง ผู้ใดจะส่งออกหรือนำเข้าต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2523) ตามมาตรา 7 วรรคสอง และมาตรา 25 กำหนดคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาตส่งออก พระราชกฤษฎีกาและประกาศกระทรวงเศรษฐการดังกล่าวจึงไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้