พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดพยายามส่งยาเสพติด: ข้อจำกัดการใช้บทลงโทษกฎหมายพิเศษเมื่อมิได้ระบุในคำฟ้อง
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯมาตรา 7 เป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดให้ผู้พยายามกระทำความผิดต้องระวางโทษเท่ากับความผิดสำเร็จ เมื่อโจทก์มิได้อ้างมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่ แม้โจทก์จะระบุในคำขอท้ายฟ้องว่าตั๋วโดยสารเครื่องบินของกลาง โจทก์จะดำเนินการขอริบตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯมาตรา 30 ต่อไป ก็หามีความหมายเป็นการขอให้ลงโทษตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติดังกล่าวมาปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามส่งเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดพยายามจำหน่ายยาเสพติดตามกฎหมายพิเศษ โจทก์ต้องขอท้ายฟ้อง
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 7 เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดฐานพยายามต้องระวางโทษเท่ากับความผิดสำเร็จ บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นผลร้ายแก่จำเลย เพราะทำให้จำเลยต้องรับโทษสูงขึ้นกว่าการกระทำความผิดขั้นพยายามทั่ว ๆ ไป เมื่อโจทก์มิได้อ้างมาตรา 7 ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษหนักขึ้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดพยายามจำหน่ายยาเสพติดตามกฎหมายพิเศษ โจทก์ต้องขอท้ายฟ้องชัดเจน
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดโทษให้ผู้กระทำความผิดฐานพยายามต้องระวางโทษเท่ากับความผิดสำเร็จบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นผลร้ายแก่จำเลย เพราะทำให้จำเลยต้องรับโทษสูงขึ้นกว่าการกระทำความผิดขั้นพยายามทั่ว ๆ ไป ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้อ้างมาตรา 7ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่ จึงนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในการเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน/บำนาญข้าราชการ: กฎหมายพิเศษเฉพาะคุ้มครอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4.9 ว่าด้วยกองทุนผู้ปฏิบัติงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ข้อ 17 และ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 30 (จ) ย่อมเห็นได้ว่า การคำนวณเงินสงเคราะห์รายเดือนดังกล่าวโจทก์อ้างว่ามีสิทธินับเวลาทำงานตลอดจนวิธีการคำนวณเงินสงเคราะห์และวิธีการจ่ายเงิน ตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 30 (จ) แต่ผู้มีสิทธินับเอาประโยชน์จากเวลาทำงานช่วงหลังที่กลับเข้าทำงานใหม่ไปรวมกับเวลาทำงานช่วงแรกตามมาตรา 30 (จ) ได้จะต้องเป็นผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติอยู่แล้วเมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์ได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนโดยอาศัยสิทธิตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ 2494 มาตรา 30 (จ) เงินสงเคราะห์รายเดือนดังกล่าวจึงมีสภาพเช่นเดียวกับเงินบำนาญปกตินั่นเอง แม้ ป.พ.พ.มาตรา 193/33(4) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องเงินบำนาญ มีกำหนดอายุความ 5 ปี แต่ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 10 บัญญัติให้สิทธิในการขอรับบำเหน็จบำนาญปกติตาม พ.ร.บ.นี้ มีกำหนดอายุความ 3 ปี และ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ.2494 เป็นกฎหมายพิเศษ ซึ่งบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงให้นำอายุความตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 10 มาใช้บังคับ
โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน2536 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/12โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2541 จึงมิได้ฟ้องเรียกเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติเฉพาะส่วนที่อ้างว่าขาดภายในกำหนด 3 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน2536 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/12โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2541 จึงมิได้ฟ้องเรียกเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติเฉพาะส่วนที่อ้างว่าขาดภายในกำหนด 3 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน/บำนาญข้าราชการ ต้องใช้ตามกฎหมายพิเศษ (พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ) คือ 3 ปี
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(4)กำหนดให้สิทธิเรียกร้องเงินบำนาญมีอายุความ 5 ปีแต่พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ มีบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะว่าสิทธิในการขอรับบำเหน็จบำนาญปกติตามพระราชบัญญัตินี้มีกำหนดอายุความ 3 ปี เมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์ได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือน โดยอาศัยสิทธิตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการฯ มาตรา 30(จ)กรณีจึงต้องนำอายุความตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 10มาใช้บังคับ เมื่อโจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2536 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 แต่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2541 ซึ่งเกินกำหนด3 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินสงเคราะห์รายเดือน/บำนาญข้าราชการ: กฎหมายพิเศษ (พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494) ใช้บังคับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ รายเดือนตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทยฉบับที่ 4.9 ว่าด้วยกองทุนผู้ปฏิบัติงานการรถไฟแห่งประเทศไทยข้อ 17 และ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494มาตรา 30(จ) ย่อมเห็นได้ว่า การคำนวณเงินสงเคราะห์รายเดือนดังกล่าวโจทก์อ้างว่ามีสิทธินับเวลาทำงานตลอดจนวิธีการคำนวณเงินสงเคราะห์และวิธีการจ่ายเงินตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494มาตรา 30(จ) แต่ผู้มีสิทธินับเอาประโยชน์จากเวลาทำงานช่วงหลังที่กลับเข้าทำงานใหม่ไปรวมกับเวลาทำงานช่วงแรกตามมาตรา 30(จ) ได้จะต้องเป็นผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติอยู่แล้วเมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์ได้รับ เงินสงเคราะห์รายเดือนโดยอาศัยสิทธิตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494มาตรา 30(จ) เงินสงเคราะห์รายเดือนดังกล่าวจึงมีสภาพ เช่นเดียวกับเงินบำนาญปกตินั่นเอง แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(4)บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องเงินบำนาญ มีกำหนดอายุความ 5 ปีแต่พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494มาตรา 10 บัญญัติให้สิทธิในการขอรับบำเหน็จบำนาญปกติตามพระราชบัญญัตินี้ มีกำหนดอายุความ 3 ปี และพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494เป็นกฎหมายพิเศษ ซึ่งบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงให้นำอายุความตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ. 2494 มาตรา 10 มาใช้บังคับ โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุตั้งแต่วันที่30 กันยายน 2536 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2541 จึงมิได้ฟ้องเรียกเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติเฉพาะส่วนที่อ้างว่าขาดภายในกำหนด 3 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนจากประกันสังคมและประกันภัยรถยนต์: ไม่ตัดสิทธิกัน, พ.ร.บ.ประกันสังคมเป็นกฎหมายพิเศษ
สิทธิของโจทก์ที่ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยเป็นสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ที่บังคับให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัท และต้องเสียเบี้ยประกันภัย ส่วนสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลย เป็นสิทธิตามพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ซึ่งบังคับให้ลูกจ้างต้องเป็นผู้ประกันตนและส่งเงินเข้ากองทุนสมทบ เมื่อเป็นสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแต่ละฉบับโดยโจทก์ต้องเสียเบี้ยประกันภัยและส่งเงินเข้ากองทุนสมทบแล้วแต่กรณีตามที่กฎหมายแต่ละฉบับดังกล่าวกำหนดไว้ ซึ่งต้องชำระทั้ง 2 ทาง และเมื่อ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ไม่มีบทบัญญัติตัดสิทธิมิให้ผู้ที่ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายอื่นแล้วมารับเงินทดแทนอีก จำเลยจึงจะยกเอาเหตุที่โจทก์ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยแล้วมาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่จ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์หาได้ไม่
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพหรือตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณีอื่นอีก จึงจะนำหลักกฎหมายทั่วไปในเรื่องประกันวินาศภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ โจทก์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลยตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพหรือตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณีอื่นอีก จึงจะนำหลักกฎหมายทั่วไปในเรื่องประกันวินาศภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ โจทก์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลยตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนจากประกันภัยรถยนต์และประกันสังคมไม่ขัดแย้งกัน ผู้รับสิทธิไม่ต้องเสียสิทธิซ้ำซ้อน
สิทธิของโจทก์ที่ได้รับ เงินทดแทน ค่ารักษาพยาบาลจาก บริษัทประกันภัยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535ส่วนสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินทดแทน ค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ.2533เมื่อเป็นสิทธิตามกฎหมายแต่ละฉบับโดยโจทก์ต้องเสีย เบี้ยประกันภัยและส่ง เงินสมทบเข้า กองทุนสมทบแล้วแต่กรณีตามที่กฎหมายแต่ละฉบับกำหนดไว้ซึ่งต้องชำระทั้ง2ทางและพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ไม่มีบทบัญญัติตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายอื่นมารับเงินทดแทนอีกจำเลยจึงยกเอาเหตุที่โจทก์ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยมาแล้วมาอ้างเพื่อไม่จ่ายเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ให้แก่โจทก์หาได้ไม่โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8033-8037/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะนิติบุคคลของมิซซังโรมันคาทอลิกตามกฎหมายพิเศษและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาทอลิคในกรุงสยามตามกฎหมายร.ศ.128ข้อ1และข้อ2วรรคหนึ่งและวรรคสองระบุให้มิสซังมีฐานะเป็นบริษัทมิสซังโรมันคาทอลิคกรุงเทพมหานครจึงเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา65,66ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่ได้บัญญัติให้ยกเลิกมัสซังโรมันคาธอลิคว่าไม่เป็นนิติบุคคลแต่อย่างใดแต่ได้บัญญัติรับรองไว้ว่านิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นและนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นภายในขอบอำนาจแห่งหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมายข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งเมื่อโจทก์เป็นมิสซังโรมันคาธอลิคเป็นนิติบุคคลอยู่ก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคในกรุงสยามตามกฎหมายร.ศ.128ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยังใช้บังคับจนปัจจุบันนี้พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นกฎหมายอื่นฉบับหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา65โจทก์จึงย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอยู่ต่อไป ข้อที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่ใช่บริษัทจำคุกตามความในบรรพ3ลักษณะ22หมวด4จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ1หมวด2นั้นปัญหาข้อนี้แม้จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงถือว่าไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย ไม่ขาดอายุความ เพราะเป็นกฎหมายพิเศษคุ้มครองความปลอดภัยประชาชน
การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 หากแต่เป็นการฟ้องโดยอาศัยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่