พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากร การหักกลบลบหนี้ภาษี และสิทธิในการทุเลาการชำระภาษีตามกฎหมายภาษีอากร
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 12 และ 31 การที่เจ้าพนักงานประเมินจำเลย ประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรแล้วโจทก์ไม่เสียภายในกำหนดต้องถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง จำเลยมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ การยึดย่อมหมายความรวมถึงการนำเอาเงินที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์มาหักกลบลบหนี้กับหนี้ภาษีอากรที่โจทก์ค้างจำเลยได้ด้วย แม้ในระหว่างนั้นโจทก์จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยก็มีอำนาจที่จะหักกลบลบหนี้ได้ไม่ถือว่าเป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร เว้นแต่กรณีที่ผู้อุทธรณ์ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9697/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมกับการกระทำความผิดตามกฎหมายภาษีอากร: พิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
แม้ ป.อ. มาตรา 268 บัญญัติว่า ผู้ใดใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 265 และเป็น ผู้ปลอมเอกสารนั้น ให้ลงโทษตามมาตรา 268 แต่เพียงกระทงเดียวก็ตาม แต่จำเลยใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86/13, 90/4 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจาก ป.อ. จึงไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารปลอมกระทงเดียว ตาม ป.อ. มาตรา 268 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการหักลดหย่อนบุตรของคู่สมรสที่แยกยื่นภาษี: สามีภริยาต่างมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรคนละกึ่งหนึ่ง
ผู้มีเงินได้สามารถนำบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ไปหักลดหย่อนจากเงินได้พึงประเมินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 47 เพราะกฎหมายมุ่งหมายที่จะบรรเทาภาระภาษีให้แก่คู่สมรสซึ่งเป็นครอบครัวเดียวกันสำหรับภริยาที่มีเงินได้และแยกยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) นั้น มาตรา 57 เบญจ วรรคสอง (2) กำหนดให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้สำหรับบุตรที่หักลดหย่อนได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 47(1)(ค)และ(ฉ) คนละกึ่งหนึ่ง ปรากฏว่าในปีภาษีที่พิพาท โจทก์และ อ. เป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายและต่างก็มีเงินได้ โดย อ. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้แบบ ภ.ง.ด. 91 ตามมาตรา 40(1) โจทก์และ อ. จึงต่างมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรทั้งสามซึ่งเกิดจากภริยาเดิมของโจทก์ได้คนละกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6703/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเกิน 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี โดยอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากร ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่เจ้าพนักงานจะประเมินภาษีโดยใช้อำนาจเองนั้นต้องกระทำภายใน 2 ปี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88/6(1)(ก)แต่หากเป็นการใช้อำนาจโดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรหรือ ผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบอำนาจหน้าที่ให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว เจ้าพนักงานประเมินสามารถประเมินได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่กำหนดเวลา 2 ปีตามมาตราดังกล่าวสิ้นสุดลง เมื่อคดีนี้เป็นการใช้อำนาจโดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบอำนาจหน้าที่ให้สั่งและปฏิบัติราชการแทน กรณีจึงสามารถประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีตามมาตรา 88/6 วรรคหนึ่ง (1)(ก) ได้ แต่ต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีคือวันที่ 15 ของเดือนถัดไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสองคดีนี้ต้องเริ่มนับแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายแห่งกำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีมกราคม 2536 เมื่อเจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมตามหนังสือแจ้งการประเมินและแจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2540 จึงยังอยู่ภายในระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรา 88/6 วรรคท้าย และเมื่อการประเมินให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมสำหรับเดือนภาษีมกราคม 2536ยังอยู่ภายในระยะเวลา 5 ปีแล้ว การประเมินให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมสำหรับทุกเดือนภาษีของปี 2536ก็ย่อมยังอยู่ภายในระยะเวลา 5 ปีดังกล่าวด้วย การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว ในชั้นชี้สองสถาน ศาลภาษีอากรกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงประเด็นเดียวแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย เลื่อนคดีไปนัดฟังคำพิพากษาซึ่งหลังจากมีคำสั่งเช่นนี้แล้วก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางไว้ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ศาลสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาทตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรพ.ศ. 2539 ข้อ 16 วรรคท้าย คงเพิกเฉยเรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ต้องถือว่าโจทก์สละประเด็นข้อพิพาทอื่นแล้วการหยิบยกประเด็นอื่นมากล่าวไว้ในคำแถลงการณ์ปิดคดี ไม่ถือว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลภาษีอากรกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีเอกสารทางบัญชีสูญหายจากการเก็บรักษาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าที่จะต้องจัดทำบัญชีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ในข้อ 13 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว กำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนั้น ถ้าจะเก็บรักษา ณ สถานที่อื่น ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี มิฉะนั้นมีความผิดต้องรับโทษการที่โจทก์นำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บไว้ที่โกดังของบริษัทอื่นซึ่งมิใช่สถานที่ประกอบธุรกิจของโจทก์ ฝ่าฝืนข้อห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว เมื่อเกิดเพลิงไหม้เป็นเหตุให้บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่นำไปเก็บไว้ถูกเพลิงไหม้ โจทก์จะอ้างเอาเหตุอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนกฎหมายของโจทก์มาเป็นเหตุที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกไม่ได้ แม้โจทก์จะจัดส่งเอกสารบางส่วนให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียก แต่เมื่อเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นไม่เพียงพอที่จะคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71(1)แห่งประมวลรัษฎากรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามราคาซื้อขายจริง และสิทธิในการอุทธรณ์การประเมินภาษี
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากร จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินตาม ป.รัษฎากรด้วย ได้ประเมินราคาสินค้าเพิ่มจากที่โจทก์ได้สำแดงไว้ ทำให้โจทก์ต้องชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้นเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งการประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 18 วรรคหนึ่ง,30 ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเกี่ยวกับค่าภาษีการค้าและค่าภาษีบำรุงเทศบาลที่เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน สินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรกำเนิดในประเทศนอร์เวย์มิได้กำเนิดในประเทศสวีเดน โจทก์ได้สำแดงราคา เครื่องหมายการค้าและประเทศกำเนิดสินค้าตามใบขนส่งสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าตรงตามที่ปรากฏในใบอินวอยซ์ อันเป็นราคาแท้จริงที่ซื้อขายกันการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาค่าสินค้าและแจ้งให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มโดยเทียบราคาจากสินค้าที่กำเนิดในประเทศสวีเดนจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบเพราะมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนภาษีการค้าที่ขาดอยู่นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จโดยไม่จำกัดจำนวนไว้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องการชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับตาม มาตรา 89 เป็นการไม่ชอบด้วยป.รัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคสี่ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดอากรแสตมป์สัญญากู้ยืมหลังมีคำพิพากษา ศาลไม่รับเป็นพยานหลักฐานตามกฎหมายภาษีอากร
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 117 การขออนุญาตนำตราสารไปปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาด โจทก์นำสัญญากู้ยืมเงินไปเสียอากรและเงินเพิ่มภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรและภาษีอากร การอุทธรณ์ และเงินเพิ่มตามกฎหมายภาษีอากร
จำเลยนำสินค้าของเด็กเล่นจากเมือง ฮ่องกง เข้ามาในราชอาณาจักรเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบแล้วปรากฏว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริง จึงแจ้งการประเมินให้จำเลยชำระภาษีอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มเติม เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินที่ประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จึงต้องถือว่าการประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้นเป็นอันชอบแล้ว ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ผู้ประกอบการค้าต้องชำระเงินเพิ่มตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อไม่ชำระภาษีการค้าภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นทางแก้กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้โดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีค้างชำระ: เงินเพิ่มตามกฎหมายภาษีอากรเป็นทางแก้เฉพาะแล้ว ไม่อาจเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. เพิ่มเติมได้
ป. รัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะพิพาทบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ และกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ แสดงว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้ สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีที่ค้างไว้โดยเฉพาะ แล้ว จึงนำ ป.พ.พ. มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าไม้พื้น: ข้อพิพาทเรื่องประเภทสินค้าและการใช้ประโยชน์ตามกฎหมายภาษีอากร
อุทธรณ์ของโจทก์โต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สินค้าไม้พื้นลิ้นรอบตัวที่มีความยาวต่ำกว่า 50 เซนติเมตรที่โจทก์ผลิตเป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์โดยการปูบนพื้นซีเมนต์หาใช่ใช้ปู บนไม้ตงโดยตรงไม่ทั้งมีระเบียบของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เช่นนั้น จึงเป็นสินค้าไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะเป็นสิ่งปูลาดอย่างหนึ่งตามความหมายของสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวดที่ 4(7) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 54 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทผู้ผลิตสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก)
สินค้าไม้พื้นลิ้นรอบตัวที่มีความยาวต่ำกว่า 50 เซนติเมตรที่โจทก์ผลิตเป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์โดยการปูบนพื้นซีเมนต์หาใช่ใช้ปู บนไม้ตงโดยตรงไม่ทั้งมีระเบียบของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เช่นนั้น จึงเป็นสินค้าไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะเป็นสิ่งปูลาดอย่างหนึ่งตามความหมายของสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวดที่ 4(7) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 54 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทผู้ผลิตสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก)