พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8330/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ไม่ได้กำหนด
การอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์นั้น พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ มิได้มีบทบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: การบรรยายฟ้องตามมาตรา 42 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ โดยใช้คำว่า 'ประเทศ' แทน 'กฎหมาย' ยังถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องโดยใช้ข้อความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ว่า "...และกฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว ..." แต่ใช้คำว่า "ประเทศ"แทนคำว่า "กฎหมาย" ก็พอที่จะแปลความหมายตามฟ้องของโจทก์ได้ว่ารวมถึงกฎหมายของประเทศนั้นด้วย มิใช่กรณีที่โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องเสียเลยว่า กฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ ฟ้องของโจทก์จึงมีสาระสำคัญที่แสดงให้เห็นว่างานตามฟ้องเข้าหลักเกณฑ์ที่อาจได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 ดังกล่าว และเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: การบรรยายฟ้องตามมาตรา 42 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ และการตีความคำว่า 'ประเทศ' แทน 'กฎหมาย'
แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องโดยใช้ข้อความตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ว่า "...และกฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว..." แต่ใช้คำว่า "ประเทศ" แทนคำว่า "กฎหมาย" ก็พอที่จะแปลความหมายตามฟ้องของโจทก์ ได้ว่ารวมถึงกฎหมายของประเทศนั้นด้วย มิใช่กรณีที่โจทก์ไม่ได้ กล่าวในฟ้องเสียเลยว่ากฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครอง แก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ ฟ้องของโจทก์จึงมีสาระสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่างานตามฟ้องเข้าหลักเกณฑ์ที่อาจได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 42 ดังกล่าว และเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ภาพการ์ตูน: การคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์เดิม และการสละประเด็นข้อต่อสู้
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันขอให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อเดียวว่าภาพการ์ตูนที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้เหมือนหรือคล้ายกับภาพการ์ตูนสนูปปี้ของโจทก์หรือไม่ หากเหมือนหรือคล้ายกันจะเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์หรือไม่ โดยโจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยานต่อไป เช่นนี้ ต้องถือว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้อื่นๆ แล้ว โจทก์จึงไม่ต้องสืบพยานว่าสิทธิของโจทก์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไทยหรือไม่
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ฯลฯ ลิขสิทธิในศิลปกรรมจะมีขึ้นได้ก็ต้องเป็นศิลปกรรมที่ทำขึ้นในแผนกศิลป เช่น รูปศิลป ดังนี้ รูปการ์ตูนสุนัขของโจทก์ซึ่งเป็นเพียงรูปคล้ายสุนัขธรรมดาทั่วๆ ไปที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ซึ่งการขีดเขียนอาจเหมือนหรือคล้ายกันได้เป็นธรรมดา จึงไม่ใช่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมตามความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ฯลฯ ลิขสิทธิในศิลปกรรมจะมีขึ้นได้ก็ต้องเป็นศิลปกรรมที่ทำขึ้นในแผนกศิลป เช่น รูปศิลป ดังนี้ รูปการ์ตูนสุนัขของโจทก์ซึ่งเป็นเพียงรูปคล้ายสุนัขธรรมดาทั่วๆ ไปที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ซึ่งการขีดเขียนอาจเหมือนหรือคล้ายกันได้เป็นธรรมดา จึงไม่ใช่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมตามความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18122/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีลิขสิทธิ์: แยกพิจารณาคดีแพ่งและอาญาตามกฎหมายลิขสิทธิ์และประมวลกฎหมายอาญา
อายุความฟ้องคดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แบ่งเป็นอายุความฟ้องคดีแพ่งตามมาตรา 63 และอายุความฟ้องคดีอาญาตามมาตรา 66 โดยอายุความคดีอาญาต้องนำ ป.อ. มาตรา 95 มาใช้บังคับ เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมบรรยายฟ้องซึ่งต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท อายุความในคดีนี้จึงเป็นอายุความฟ้องคดีอาญาสำหรับความผิดต้องระวางโทษอย่างอื่นซึ่งไม่ใช่โทษจำคุก ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) อันมีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันกระทำความผิด เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2552 แต่ฟ้องและได้ตัวจำเลยทั้งสามมายังศาลในวันที่ 17 ธันวาคม 2555 ฟ้องโจทก์และโจทก์ร่วมสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคหนึ่งจึงขาดอายุความแล้ว ทั้งหากเทียบเคียงกับกฎหมายลิขสิทธิ์ก่อนหน้านั้นจะเห็นได้ว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยบัญญัติแยกอายุความคดีแพ่งและคดีอาญาจากกันตลอดมา โดยปัจจุบัน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 กำหนดอายุความคดีแพ่งไว้ในมาตรา 63 ส่วนมาตรา 66 มิได้กำหนดอายุความคดีอาญาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 หมวด 9 ว่าด้วยอายุความมาใช้กับความผิดในคดีนี้ ฟ้องโจทก์และโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป