พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานที่เบิกความจากการถูกจูงใจด้วยคำมั่นสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่น่าเชื่อถือตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ส. ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง โดยตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจาก ส. แล้ว เจ้าพนักงานตำรวจเสนอว่า หาก ส. ไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากผู้จำหน่ายให้ก็จะไม่ดำเนินคดี ส. จึงไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย การที่ ส. มาเบิกความเป็นพยานโจทก์ จึงเป็นพยานชนิดที่เกิดขึ้นจากการจูงใจและให้คำมั่นสัญญาโดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ รับฟังเป็นพยานไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 (เหตุเกิดวันที่ 3 เมษายน 2540)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนพิจารณาคดีสำคัญตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานมีฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หนัก 0.57 กรัมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง,69 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท ฉะนั้นก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นต้องสอบถามจำเลยถึงเรื่องทนายความก่อนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลย จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7993/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่ต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัย
ตามฟ้องโจทก์ระบุว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่ผู้เสียหายขับเป็นเหตุให้ จ. ถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ส่วน พ. และ บ. ได้รับอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300 พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157,160 แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานใดแต่ก็พอแปลได้ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ โจทก์ร่วมจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์รับพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและพิพากษาจำคุกจำเลยมาจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195ประกอบด้วยมาตรา 225 ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาจำเลยและให้พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของจำเลย กับให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8503/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษจำเลยที่ 3 โดยอาศัยเหตุที่ศาลลดโทษจำเลยอื่นร่วมกระทำผิดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เหตุผลประการหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และคุมความประพฤติไว้เพราะเห็นว่าทรัพย์ที่ถูกลักไปคือไก่ชนราคาไม่สูงนัก หลังเกิดเหตุแล้วผู้เสียหายได้รับทรัพย์ที่ถูกลักไปกลับคืนมา จึงยังไม่สมควรลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับสภาพการกระทำความผิดว่าไม่ร้ายแรงนัก อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี เมื่อจำเลยทั้งสามร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ ก็เป็นเหตุที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 3 ให้รอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยที่ 3 ดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียว การแยกฟ้องหลายคดี สิทธิฟ้องระงับตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยรับของโจรรถจักรยานยนต์ 2 คัน ไว้ในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว การที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นแต่ละคดีตามจำนวนรถจักรยานยนต์เป็น 2 คดี เมื่อได้ความว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์คันหนึ่งแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่งเป็นคดีนี้อีกเพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และผลของการแก้ไขกฎหมาย
การอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของ ศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การพิจารณาว่าคดีใดจะอุทธรณ์ได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ขัดต่อข้อจำกัดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกพันบาท ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 จำเลยอายุ12 ปี ไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 74 แต่เห็นสมควรให้คุมประพฤติตามมาตรา 56 คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา193 ทวิ จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายมีทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าถูกจำเลยลักทั้งพยานหลักฐานโจทก์ก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายลักทรัพย์ของผู้เสียหายเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ตามอุทธรณ์ของจำเลย แล้วพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นการมิชอบ และต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งประทับฟ้องเด็ดขาดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลเฉพาะจำเลยที่ 2และที่ 5 ให้ประทับฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 และที่ 5ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 170 ฉะนั้นการที่ศาลอุทธรณ์กลับพิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยที่ 5 ด้วย จึงมิชอบ แม้โจทก์จะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาประกันตัวและการสิ้นสุดสิทธิฎีกาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่แก้ไขใหม่
ผู้ประกันประกันตัวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ ต่อมาผู้ประกันผิดสัญญาประกันถูกศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันเป็นเงิน 300,000 บาท ผู้ประกันอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนผู้ประกันยื่นฎีกาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2532 อันเป็นเวลาหลังจากที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มีผลใช้บังคับแล้ว สิทธิในการฎีกาจึงต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะยื่นฎีกา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ที่แก้ไขแล้ว และใช้บังคับในขณะที่ผู้ประกันยื่นฎีกาบัญญัติไว้ว่า "กรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้องเมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" ดังนั้น กรณีของผู้ประกันจึงเป็นที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาหลังแก้กม.วิธีพิจารณาความอาญา: ศาลพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ วันยื่นฎีกา แม้ศาลชั้นต้น-อุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง
โจทก์ยื่นฎีกาหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532ใช้บังคับ การพิจารณาว่าโจทก์จะฎีกาได้หรือไม่ ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นฎีกา ในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกาไม่ได้แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13.