พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ส่งผลต่อความชอบด้วยกฎหมายของคำพิพากษา
คำให้การจำเลยไม่มีลายมือชื่อจำเลยหรือทนายจำเลยผู้ยื่นคำให้การ จึงเป็นคำคู่ความที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) การที่ทนายจำเลยลงลายมือชื่อในช่องหมายเหตุท้ายคำให้การจำเลยแผ่นแรกไม่ใช่เป็นการลงลายมือชื่อในคำคู่ความตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปโดยไม่แก้ไขข้อบกพร่องของคำคู่ความดังกล่าวให้บริบูรณ์เสียก่อนจึงเป็นการไม่ชอบและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ควรพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชี้ขาดตัดสินฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ไปโดยที่ยังมิได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง โดยให้จำเลยลงลายมือชื่อในคำให้การเสียให้บริบูรณ์ตามกฎหมายแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1520/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ และหน้าที่การวางเงินค่าธรรมเนียมตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้สืบพยานโจทก์ต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องชำระให้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ภายในกำหนด 15 วัน แต่จำเลยไม่นำเงินมาวาง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง ก็เป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 234 จำเลยก็ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งหมายถึงการสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของจำเลย ซึ่งในกรณีนี้ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งหมายถึงการสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของจำเลย ซึ่งในกรณีนี้ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเกี่ยวกับการแบ่งมรดกเป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องเดิม สามารถพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดกที่ดินพิพาทเพราะปิดบังพินัยกรรม จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า มิได้ปิดบังพินัยกรรมโจทก์และจำเลยรวมทั้งทายาทอื่นตกลงแบ่งมรดกโดยจำเลยได้ที่ดินพิพาท และจำเลยเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ไม่มีส่วนในที่ดินพิพาทอีก คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้องและห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ดังนี้เป็นเรื่องพิพาทกันเกี่ยวกับการรับมรดกที่ดินพิพาทนั่นเอง คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดก จึงเป็นการฟ้องเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาทเป็นของตนแต่ฝ่ายเดียว ส่วนฟ้องแย้งจำเลยที่ว่ามีการตกลงแบ่งมรดกและจำเลยเข้าครอบครองมรดกที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วทั้งคดีโจทก์ขาดอายุความ หากเป็นจริงโจทก์ก็สิ้นความเป็นทายาทไม่มีสิทธิเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาท จึงเป็นเรื่องเดียวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้กระบวนการพิจารณาตั้งแต่ต้นเป็นโมฆะ
โจทก์ขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสามด้วยวิธีปิดหมาย ศาลชั้นต้นสั่งว่า "ปิดหมายเฉพาะจำเลยที่ 1" แต่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยวิธีปิดหมายด้วย จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76 วรรคหนึ่ง กระบวนพิจารณาตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่มีผลตามกฎหมายไม่มีผลให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในเหตุที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การได้ เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะมิได้ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้เรื่องแปลงหนี้ใหม่ที่ศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องแปลงหนี้ใหม่ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ จึงไม่ชอบ เมื่อจำเลยฎีกาทำนองเดียวกับที่อุทธรณ์ขึ้นมาอีก จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9865/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ผลของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่ และความสิ้นสุดของกระบวนการยุติธรรม
ขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดอ้างว่าราคาไม่เหมาะสมเพราะราคาต่ำกว่าราคาประเมิน เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่และมาตรา 309 ทวิ มีผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องนำมาใช้กับกรณีนี้โดยไม่คำนึงว่าคดีนี้จะมีการฟ้องร้องต่อกันก่อนที่บทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับแล้วหรือไม่เมื่อคำร้องดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องซึ่งมีผลเท่ากับยกคำร้องและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7118/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของกฎหมายแก้ไขใหม่ต่อสิทธิฎีกา: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดหลังแก้ไขกฎหมาย
กฎหมายวิธีสบัญญัติส่วนที่มีการแก้ไข เมื่อมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้วผูกพันใช้บังคับแก่คู่ความทันที ดังนั้น แม้ขณะที่จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด คดีของจำเลยจะไม่ต้องห้ามฎีกา แต่ขณะที่จำเลยยื่นฎีกาได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามมาตรา 309 ทวิ จำเลยก็ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5415/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการขอความช่วยเหลือทางศาล (คนอนาถา): สิทธิและการเลือกใช้ทางแก้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต่อเนื่องมาจากกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยจึงยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้ระบุเหตุผลในการสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นเพราะศาลชั้นต้นเห็นว่า เมื่อมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา และจำเลยได้ใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นนั้นแล้วจึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่อีกซึ่งจำเลยเข้าใจถึงเหตุที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นแล้ว คำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลชั้นต้น จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา หากผู้ยื่นคำขอไม่พอใจคำสั่งของศาลชั้นต้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้บัญญัติทางแก้เป็นขั้นตอนที่ผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปคือ ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ หรืออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่งตามมาตรา 156 วรรคห้า ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย และจำเลยได้เลือกทางแก้โดยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 156 วรรคห้า แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด จำเลยก็จะกลับมาขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามมาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา หากผู้ยื่นคำขอไม่พอใจคำสั่งของศาลชั้นต้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้บัญญัติทางแก้เป็นขั้นตอนที่ผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปคือ ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ หรืออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่งตามมาตรา 156 วรรคห้า ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย และจำเลยได้เลือกทางแก้โดยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 156 วรรคห้า แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด จำเลยก็จะกลับมาขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามมาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายในกำหนด หากพ้นกำหนดต้องแสดงเหตุสุดวิสัย มิเช่นนั้นคำร้องจะไม่รับ
จำเลยทราบว่าถูกฟ้องเมื่อมีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลย จึงต้องถือว่ามีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ศาลพิจารณาใหม่จะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2539 จำเลยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2539 แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่3 มิถุนายน 2541 ล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ในกรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องแสดงให้เห็นว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาดังกล่าวจำเลยอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ผู้เช่าซื้อได้นำรถยนต์ที่เช่าซื้อส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ก็ดี และผู้เช่าซื้อได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนแล้วก็ดี หาใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2539 จำเลยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2539 แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่3 มิถุนายน 2541 ล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ในกรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องแสดงให้เห็นว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาดังกล่าวจำเลยอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ผู้เช่าซื้อได้นำรถยนต์ที่เช่าซื้อส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ก็ดี และผู้เช่าซื้อได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนแล้วก็ดี หาใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยานแล้ว ต้องแสดงเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถทราบได้ก่อน
คำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยนั้น จำเลยอ้าง เหตุผลว่าเพิ่งได้พบกับพยานเท่านั้น ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลย ได้แสดงเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานที่จำเลย ขออ้างพิ่มเติมนั้นมาสืบหรือไม่ทราบว่าพยานนั้นได้มีอยู่ หรือมีเหตุอันสมควรอื่นใด กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาต ให้จำเลยอ้างพยานเพิ่มเติมได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่