พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8079/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ใช้บังคับ ณ วันฟ้องคดี แม้มีการแก้ไขกฎหมายสารบัญญัติในภายหลัง
ขณะพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น กฎหมายที่โจทก์ฟ้องว่ากระทำความผิดมีโทษขั้นต่ำตั้งแต่ 5 ปี ศาลชั้นต้นจึงต้องสืบพยานโจทก์ประกอบจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ในชั้นศาลอุทธรณ์กฎหมายได้แก้ไขใหม่เป็นจำคุกขั้นต่ำตั้งแต่ 4 ปี อันเป็นกรณีที่กฎหมายสารบัญญัติที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 บังคับให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด แต่ในส่วนกฎหมายวิธีสบัญญัติมิได้มีบทบังคับเช่นนั้นด้วย ดังนั้น จึงต้องนำกฎหมายวิธีสบัญญัติที่ใช้อยู่ในขณะที่จำเลยถูกฟ้องมาบังคับใช้แก่การพิจารณาคดีของจำเลยตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนความไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาคดีในลำดับชั้นศาลใด เพื่อมิให้เกิดความลักลั่นในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเดียวกัน ไม่ว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายในส่วนสารบัญญัติดังกล่าวในลำดับชั้นศาลใดก็ไม่มีผลกระทบถึงกระบวนพิจารณาคดีของจำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงยังคงต้องฟังพยานโจทก์จนพอใจว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดจริง จึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7822/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์จากการขายทอดตลาด vs. คำร้องเพิกถอน: สิทธิของผู้ซื้อยังคงบริบูรณ์จนกว่าศาลจะมีคำสั่ง
การพิจารณาเรื่องอำนาจฟ้องต้องพิจารณาในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาล โจทก์ประมูลซื้อทรัพย์พิพาทจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งศาล ดังนั้นนับแต่เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยการเคาะไม้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในทรัพย์พิพาทโดยบริบรูณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติแม้ภายหลังการขายทอดตลาดจำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลก็ตามคงเป็นเพียงการร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดเท่านั้น หาใช่เรื่องการขายทอดตลาดตกเป็นโมฆะไม่ และตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดสิทธิของโจทก์ในทรัพย์พิพาทก็ยังคงบริบูรณ์อยู่ คำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีสบัญญัติของจำเลยไม่กระทบต่อสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายสารบัญญัติ จำเลยไม่มีสิทธิใด ๆ ในทรัพย์พิพาทอีกต่อไป เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยและบริวารออกไปจากทรัพย์พิพาทและจำเลยเพิกเฉยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากทรัพย์พิพาท และเรียกค่าเสียหายจากการเพิกเฉยไม่ออกไปจากทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายวิธีสบัญญัติใช้บังคับย้อนหลังในเรื่องรื้อถอนอาคารได้ แม้กฎหมายสารบัญญัติใช้ไม่ได้
พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ในส่วนที่บัญญัติถึงการรื้อถอนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่สร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายเป็นวิธีการบังคับคดีในส่วนแพ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
หลักกฎหมายที่ว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังไม่ใช้ในกรณีที่เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
จำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯแต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นยังมิได้ใช้อำนาจตามมาตรา 11 ทวิรื้อถอนอาคารนั้นเอง จนกระทั่งกฎหมายฉบับนี้ถูกยกเลิกไปโดยใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แทนต่อมากฎหมายฉบับใหม่ยังคงบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอยู่ และให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขอาคารได้ เพียงแต่จะใช้อำนาจรื้อถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเองไม่ได้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้
หลักกฎหมายที่ว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังไม่ใช้ในกรณีที่เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
จำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯแต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นยังมิได้ใช้อำนาจตามมาตรา 11 ทวิรื้อถอนอาคารนั้นเอง จนกระทั่งกฎหมายฉบับนี้ถูกยกเลิกไปโดยใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แทนต่อมากฎหมายฉบับใหม่ยังคงบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอยู่ และให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขอาคารได้ เพียงแต่จะใช้อำนาจรื้อถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเองไม่ได้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้