พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลอกลวงในการแนะนำรักษาพยาบาล และการสิ้นผลของกฎหมายเก่าเมื่อมีกฎหมายใหม่
จำเลยที่ 4 เคยรักษาโรคเบาหวานกับจำเลยที่ 1 โดยเชื่อว่าเป็นแพทย์สามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ ต่อมาอาการเจ็บป่วยของจำเลยที่ 4 ทุเลาลง ทำให้เกิดความเลื่อมใสในความสามารถรักษาโรคของจำเลยที่ 1 จึงได้แนะนำให้ ล. รักษาโรคกับจำเลยที่ 1 จึงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 มีเจตนาหลอกลวง ล.ให้รักษาโรคกับจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 4 ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน การกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรมและตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรมฯเป็นการกระทำที่เป็นกรรมเดียวมิใช่คนละกรรม และตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรม ต่อมาได้ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 แล้ว ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯ ตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้องจึงไม่ถูกต้องปัญหานี้แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาแต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของกฎหมายที่สิ้นผลบังคับกับคดีระหว่างพิจารณา: ศาลฎีกาไม่สามารถใช้เหตุสิ้นสุดกฎหมายระหว่างพิจารณาเพื่อพิพากษาขับไล่ได้
ขณะฟ้องจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ในระหว่างศาลฎีกาทำการพิจารณาคดีนี้ปรากฏว่า พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินพ.ศ. 2504 มาตรา 21 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2511 มาตรา 3กำหนดให้พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 เฉพาะมาตรา 11 และ 17 ใช้บังคับได้เพียง 8 ปี นับแต่พระราชบัญญัติ ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ใช้บังคับ (ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2504) มาตรา 11 และ17 ดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับหรือเลิกใช้บังคับแล้ว จำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าวต่อไปดังนี้ ศาลฎีกาจะยกเอาความสิ้นสุดของพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ ดังกล่าว ในระหว่างพิจารณามาเป็นเหตุพิพากษาขับไล่จำเลยไม่ได้ เพราะเหตุที่ศาลจะยกขึ้นพิพากษาขับไล่จำเลยได้ จะต้องเป็นเหตุที่มีอยู่ตามกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะฟ้อง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2513)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2513)