คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายอังกฤษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ การบังคับตามคำชี้ขาด และดอกเบี้ยตามกฎหมายอังกฤษ
ตามสัญญาซื้อข้าวเอกสารหมาย จ.4 และ ร.5 ได้วางข้อกำหนดและเงื่อนไขไว้ว่า สัญญานี้ทำขึ้นโดยให้ใช้ข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไปตามที่ระบุในสัญญาของสมาคมกาฟต้าเลขที่ 119 ยกเว้นในส่วนที่ได้กำหนดไว้ในสัญญานี้เป็นอย่างอื่นทั้งผู้ซื้อ (ผู้ร้อง) และผู้ขาย (ผู้คัดค้าน) ได้ยอมรับโดยชัดแจ้งซึ่งข้อกำหนดเรื่องการประนีประนอมยอมความรวมทั้งข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125 ของสมาคมกาฟต้าด้วยผู้คัดค้านได้รับสัญญาเอกสารหมาย ร.4และร.5 จากผู้ร้องก่อนจะส่งมอบข้าวที่ขายให้แก่ผู้ร้อง แสดงว่าผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาทั้งสองฉบับแล้วและตามข้อกำหนดทั่วไปของสัญญาซื้อขายของสมาคมกาฟต้าเอกสารหมายร.6 ข้อ 29 มีใจความว่าหากมีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งใด ๆ ซึ่งเกิดจากหรือภายใต้สัญญาดังกล่าวให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามนัยกฎข้อบังคับเลขที่ 125 ของสมาคมกาฟต้าฉบับที่ใช้อยู่ในวันทำสัญญา กฎข้อบังคับดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและเป็นกฎข้อบังคับที่ถือว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายรับทราบอยู่แล้วนอกจากนั้นทางสมาคมกาฟต้าก็เคยรับรองกับผู้ร้องว่า กฎข้อบังคับของสมาคมเลขที่ 125 สามารถใช้บังคับตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้ เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาเอกสารหมายร.4และร.5 เกิดขึ้น ผู้ร้องได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบว่าจะเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดโดยผู้ร้องเสนอ อ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องแต่ผู้เดียวผู้คัดค้านจะยอมรับหรือไม่ หรือจะแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการอีกคนแต่ผู้คัดค้านไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบ ผู้ร้องจึงร้องขอให้สมาคมกาฟต้าแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านทางสมาคมได้แต่งตั้ง อ. เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามเงื่อนไขของข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125 ข้อ 3.7 และทางสมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแล้วการแต่งตั้ง อ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านจึงชอบแล้ว และไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 ในชั้นอนุญาโตตุลาการ ผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีของผู้ร้องและร้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากผู้ร้องต่อ อ. การยื่นเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงการโต้แย้งการดำเนินการของอนุญาโตตุลาการเนื่องจากผู้คัดค้านยื่นคำร้องแย้งเรียกค่าเสียหายด้วย แสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านต้องการให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของผู้คัดค้านพร้อมกับข้อเรียกร้องของผู้ร้องพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้คัดค้านยอมรับ อ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว ตามสัญญาซื้อขายข้าวมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125ของสมาคมกาฟต้า โดยผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับดังกล่าวด้วย ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายข้าวเกิดขึ้นและผู้ร้องได้ยื่นข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาด จึงเป็นการกระทำไปตามเงื่อนไขข้อตกลงของคู่สัญญา คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงใช้บังคับผู้คัดค้านได้ เมื่อสมาคมกาฟต้าแต่งตั้งให้อ. เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว สมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบพร้อมกับแจ้งว่าหากผู้คัดค้านประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ให้ผู้คัดค้านติดต่อกับ อ.เพื่อทราบวันและเวลาดังกล่าวแต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้แสดงความประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาต่อ อ. แต่อย่างใดผู้คัดค้านเพียงแต่ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีไปยัง อ. เท่านั้นต่อมาประธานอนุญาโตตุลาการสอบถามไปยังผู้ร้องและผู้คัดค้านว่าจะส่งเอกสารเพิ่มเติมอีกหรือไม่ แสดงว่าทางอนุญาโตตุลาการได้เปิดโอกาสให้ผู้คัดค้านเข้าฟังการพิจารณาและนำพยานหลักฐานเข้าต่อสู้คดีได้ ก่อนที่จะชี้ขาดข้อพิพาทแล้วและเมื่ออนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยข้อพิพาทโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและข้อต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งให้เหตุผลในการชี้ขาดข้อพิพาทเป็นที่เข้าใจดีและถูกต้องแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ฟังได้ว่าคณะอนุญาโตตุลาการได้กระทำการเข้าข้างฝ่ายผู้ร้องโดยไม่สุจริต ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ตกลงกันไว้ก่อนเกิดข้อพิพาทตามเอกสารหมาย ร.4และร.5 และตามกฎหมายประเทศอังกฤษได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรม ค.ศ. 1982 บัญญัติไว้ว่าหากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรอาจชี้ขาดให้ชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสม การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจไปตามขอบเขตของกฎหมาย กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทโดยไม่สุจริตและขัดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กำหนดให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยถึงวันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทเท่านั้น เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง การที่ผู้ร้องเพียงแต่ทำคำแก้ฎีกาในทำนองขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยเพิ่มจนถึงวันที่ผู้คัดค้านชำระเงินให้ผู้ร้องเสร็จตามคำร้องของผู้ร้อง จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ การบังคับตามคำชี้ขาด และขอบเขตการชำระดอกเบี้ยตามกฎหมายอังกฤษ
ตามสัญญาซื้อข้าวเอกสารหมายจ.4และร.5ได้วางข้อกำหนดและเงื่อนไขไว้ว่าสัญญานี้ทำขึ้นโดยให้ใช้ข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไปตามที่ระบุในสัญญาของสมาคมกาฟต้าเลขที่119ยกเว้นในส่วนที่ได้กำหนดไว้ในสัญญานี้เป็นอย่างอื่นทั้งผู้ซื้อ(ผู้ร้อง)และผู้ขาย(ผู้คัดค้าน)ได้ยอมรับโดยชัดแจ้งซึ่งข้อกำหนดเรื่องการประนีประนอมยอมความรวมทั้งข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่125ของสมาคมกาฟต้าด้วยผู้คัดค้านได้รับสัญญาเอกสารหมายร.4และร.5จากผู้ร้องก่อนจะส่งมอบข้าวที่ขายให้แก่ผู้ร้องแสดงว่าผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาทั้งสองฉบับแล้วและตามข้อกำหนดทั่วไปของสัญญาซื้อขายของสมาคมกาฟต้าเอกสารหมายร.6ข้อ29มีใจความว่าหากมีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งใดๆซึ่งเกิดจากหรือภายใต้สัญญาดังกล่าวให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามนัยกฎข้อบังคับเลขที่125ของสมาคมกาฟต้าฉบับที่ใช้อยู่ในวันทำสัญญากฎข้อบังคับดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและเป็นกฎข้อบังคับที่ถือว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายรับทราบอยู่แล้วนอกจากนั้นทางสมาคมกาฟต้าก็เคยรับรองกับผู้ร้องว่ากฎข้อบังคับของสมาคมเลขที่125สามารถใช้บังคับตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาเอกสารหมายร.4และร.5เกิดขึ้นผู้ร้องได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบว่าจะเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดโดยผู้ร้องเสนออ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องแต่ผู้เดียวผู้คัดค้านจะยอมรับหรือไม่หรือจะแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการอีกคนแต่ผู้คัดค้านไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบผู้ร้องจึงร้องขอให้สมาคมกาฟต้าแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านทางสมาคมได้แต่งตั้งอ. เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามเงื่อนไขของข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่125ข้อ3.7และทางสมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแล้วการแต่งตั้งอ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านจึงชอบแล้วและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530 ในชั้นอนุญาโตตุลาการผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีของผู้ร้องและร้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากผู้ร้องต่ออ. การยื่นเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงการโต้แย้งการดำเนินการของอนุญาโตตุลาการเนื่องจากผู้คัดค้านยื่นคำร้องแย้งเรียกค่าเสียหายด้วยแสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านต้องการให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของผู้คัดค้านพร้อมกับข้อเรียกร้องของผู้ร้องพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้คัดค้านยอมรับอ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว ตามสัญญาซื้อขายข้าวมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่125ของสมาคมกาฟต้า โดยผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับดังกล่าวด้วยดังนั้นเมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายข้าวเกิดขึ้นและผู้ร้องได้ยื่นข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดจึงเป็นการกระทำไปตามเงื่อนไขข้อตกลงของคู่สัญญาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงใช้บังคับผู้คัดค้านได้เมื่อสมาคมกาฟต้าแต่งตั้งให้อ. เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านแล้วสมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบพร้อมกับแจ้งว่าหากผู้คัดค้านประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการให้ผู้คัดค้านติดต่อกับอ.เพื่อทราบวันและเวลาดังกล่าวแต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้แสดงความประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาต่ออ. แต่อย่างใดผู้คัดค้านเพียงแต่ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีไปยังอ. เท่านั้นต่อมาประธานอนุญาโตตุลาการสอบถามไปยังผู้ร้องและผู้คัดค้านว่าจะส่งเอกสารเพิ่มเติมอีกหรือไม่แสดงว่าทางอนุญาโตตุลาการได้เปิดโอกาสให้ผู้คัดค้านเข้าฟังการพิจารณาและนำพยานหลักฐานเข้าต่อสู้คดีได้ก่อนที่จะชี้ขาดข้อพิพาทแล้วและเมื่ออนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยข้อพิพาทโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและข้อต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งให้เหตุผลในการชี้ขาดข้อพิพาทเป็นที่เข้าใจดีและถูกต้องแล้วจึงไม่มีเหตุให้ฟังได้ว่าคณะอนุญาโตตุลาการได้กระทำการเข้าข้างฝ่ายผู้ร้องโดยไม่สุจริต ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ตกลงกันไว้ก่อนเกิดข้อพิพาทตามเอกสารหมายร.4และร.5และตามกฎหมายประเทศอังกฤษได้แก่พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรมค.ศ.1982บัญญัติไว้ว่าหากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรอาจชี้ขาดให้ชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสมการที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ12ต่อปีซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจไปตามขอบเขตของกฎหมายกรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทโดยไม่สุจริตและขัดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นกำหนดให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยถึงวันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทเท่านั้นเมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองการที่ผู้ร้องเพียงแต่ทำคำแก้ฎีกาในทำนองขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยเพิ่มจนถึงวันที่ผู้คัดค้านชำระเงินให้ผู้ร้องเสร็จตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าข้ามสัญชาติ: ศาลไทยต้องพิจารณากฎหมายอังกฤษก่อนพิพากษาหย่า
การหย่าระหว่างโจทก์ซึ่งมีสัญชาติไทยกับจำเลยซึ่งเป็นคนสัญชาติอังกฤษในประเทศไทยนั้นมีลักษณะเป็นนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชนที่เกี่ยวพันกับกฎหมายระหว่างประเทศอันตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 โดย พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 27 บัญญัติว่า "ศาลไทยจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้ เหตุหย่า ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า" ซึ่งมีความหมายว่า ในกรณีที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นบุคคลสัญชาติอื่นหรือทั้งสองฝ่ายเป็นคนสัญชาติอื่นแต่มาฟ้องหย่าในประเทศไทย ศาลไทยจะพิพากษาให้หย่ากันได้ต่อเมื่อกฎหมายของประเทศสามีหรือภริยาหรือทั้งสองฝ่ายยินยอมให้สามีภริยาที่สมรสกันตามกฎหมายแล้วสามารถหย่ากันได้ ดังนั้นข้อที่ว่ากฎหมายแห่งประเทศอังกฤษอนุญาตให้บุคคลที่มีสัญชาติอังกฤษหย่าได้หรือไม่ จึงเป็นข้อสำคัญที่ศาลต้องพิจารณาเสียก่อน และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องนำสืบให้ปรากฏ เพราะกฎหมายของต่างประเทศถือเป็นข้อเท็จจริงและไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลไทยรับรู้ได้เอง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่ากฎหมายอังกฤษอันเป็นกฎหมายสัญชาติของจำเลยผู้เป็นสามียินยอมให้หย่าได้และมีเหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายไทยซึ่งเป็นกฎหมายสัญชาติของโจทก์ผู้เป็นภริยาและเป็นกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษอันเป็นกฎหมายสัญชาติของจำเลยยอมให้คู่สมรสหย่ากันได้ ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลไทยจึงไม่อาจพิพากษาให้หย่ากันได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ หรือจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษก็สามารถยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182