คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายเก่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเกี่ยวกับการยกเลิกกฎหมายเก่าด้วยกฎหมายใหม่ และการวินิจฉัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของศาล
พระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรม ได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511แล้ว ดังนั้นที่ศาลล่างพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯ ตามคำขอของโจทก์จึงไม่ถูกต้องปัญหานี้แม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลไทยพิจารณาคดีบนรถไฟข้ามแดน และการบังคับใช้กฎหมายเก่า
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยสถานเดียวเป็นเงิน 56,025 บาท คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ประกาศกระแสพระบรมราชโองการให้ใช้สัญญาว่าด้วยการเดินรถไฟระหว่างพระราชอาณาจักรสยามกับกลันตัน ไทรบุรี เปอร์ลิศ และสหรัฐมลายู ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2467 เป็นพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วถือว่าเป็นที่ทราบทั่วกันและเป็นข้อที่ศาลรับรู้ได้เอง มิใช่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องนำสืบโจทก์จึงไม่ต้องนำสืบถึงความมีอยู่ของประกาศกระแสพระบรมราชโองการดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำของออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายในอดีต
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยสถานเดียวเป็นเงิน 56,025 บาท คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ประกาศกระแสพระบรมราชโองการให้ใช้สัญญาว่าด้วยการเดินรถไฟระหว่างพระราชอาณาจักรสยามกับกลันตันไทรบุรีเปอร์ลิศ และสหรัฐมลายู ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2467 เป็นพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วถือว่าเป็นที่ทราบทั่วกันและเป็นข้อที่ศาลรับรู้ได้เอง มิใช่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องนำสืบโจทก์จึงไม่ต้องนำสืบถึงความมีอยู่ของประกาศกระแสพระบรมราชโองการดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3220/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดคนต่างด้าวเข้าเมือง: อายุความ, กฎหมายเก่า, และความผิดต่อเนื่อง
จำเลยเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ พ.ศ.2489ซึ่งในขณะนั้นใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2480 พระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติความผิดในกรณีผู้เข้าอยู่โดยไม่ได้ยื่นรายการตามแบบกำหนดไม่ผ่านการตรวจอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่และไม่เข้าช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมืองและเขตท่าสถานี หรือท้องที่ฯ การที่จำเลยเข้ามาดังกล่าวจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2480 สำหรับความผิดฐานเข้ามาโดยไม่มีหนังสือเดินทางอันถูกต้องตามกฎหมายนั้น แม้จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2480 ก็ตาม เมื่อฟังได้ว่าจำเลยเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ พ.ศ.2489 นับถึงวันฟ้อง คดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว ส่วนฟ้องโจทก์ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 81 นั้น เมื่อฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตต่อเนื่องกันจนถึงปัจจุบันจำเลยจึงต้องมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า ไม่มีสิทธิรับมรดก หากไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งใหม่
โจทก์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า และมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/27 ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษตามกฎหมายเก่าเมื่อความผิดเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ.ยาเสพติดใหม่มีผลบังคับใช้ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษจำเลยที่ไม่ได้ฎีกา
จำเลยกระทำความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย ในขณะที่ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522ยังมิได้ใช้บังคับ ต้องลงโทษจำเลยตามกฎหมายเก่า และกรณีนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยข้าราชการ: การใช้กฎหมายในอดีตกับกรณีที่เกิดขึ้นก่อนการบังคับใช้กฎหมายใหม่
กำหนดเวลา 1 ปีตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 หมายถึงระยะเวลาที่ให้นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับไปพลางก่อนในระหว่างที่ ก.พ. ยังมิได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ส่วนมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 บัญญัติถึงเมื่อ ก.พ. ได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แล้ว หากข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่ง ก็ให้ผู้บังคับบัญชาการดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษผู้นั้น หรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ดังนั้น เมื่อกรณีการกระทำที่โจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนลงโทษทางวินัยได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2517 ก่อนที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ใช้บังคับ แม้โจทก์จะไปให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2519 ภายหลังที่โจทก์ได้รับราชการกำหนดตำแหน่งตามมาตรา 32 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขได้ถูกยกเลิก และใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 แทนแล้วก็ตาม การดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษโจทก์หรือสั่งให้โจทก์ออกจากราชการก็ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขซึ่งใช้อยู่ในขณะโจทก์กระทำผิดวินัยหรือมีกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา121 ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2497 และที่แก้ไขจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินระหว่างร้าง: การแยกกันอยู่ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก่อนประมวลกฎหมายแพ่งฯ ไม่ถือเป็นสินสมรส
สามีภริยาก่อนใช้บรรพ 5 พ.ศ.2477 ภริยาแยกไปอยู่ต่างหากจากสามี ไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกันอีกเลยจนสามีตาย กำหนดเวลาทิ้งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียในขณะนั้นอย่างมากเพียง 1 ปี 4 เดือน จึงถือเป็นการร้างกันแล้ว ทรัพย์สินที่เกิดในระหว่างร้างไม่เป็นสินสมรส สามีตายภริยาร้าง ไม่มีส่วนแบ่งสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิมรดกของบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าและการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายลักษณะมรดก บทที่ 12 บัญญัติให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในภาคญาติ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ. 121 บัญญัติให้ญาติของผู้มรณภาพตามที่กำหนดไว้เป็นชั้น ๆ ได้รับมรดกในภาคญาติ แต่สำหรับบุตรบุญธรรมไม่ได้กำหนดไว้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่านับแต่ ร.ศ. 121 เป็นต้นมา จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 แล้ว บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติมาตรา 1586 และ 1627 ก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนตามมาตรา 1585 เท่านั้น มิได้รวมถึงบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าซึ่งใช้อยู่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ด้วย เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทบกระเทือนถึง............(2) การรับบุตรบุญธรรมซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ หรือสิทธิและหนี้อันเกิดแต่การนั้น ๆ" ซึ่งมีความหมายว่า สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรมมีอยู่ตามกฎหมายเก่าอย่างไร เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใช้บังคับแล้วก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนั้น บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกตามกฎหมายเก่าและมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิมรดกของบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าหลังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายลักษณมรฎก บทที่ 12 บัญญัติให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในภาคญาติ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณมรฎก ร.ศ.121 บัญญัติให้ญาติของผู้มรณภาพตามที่กำหนดไว้เป็นชั้น ๆ ได้รับมรดกในภาคญาติ แต่สำหรับบุตรบุญธรรมไม่ได้กำหนดไว้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่านับแต่ ร.ศ. 121 เป็นต้นมา จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5และ 6 แล้ว บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติมาตรา 1586 และ 1627 ก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนตามมาตรา 1585 เท่านั้น มิได้รวมถึงบุตรบุยธรรมตามกฎหมายเก่าซึ่งใช้อยู่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ด้วย เพราะพระราชบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทงกระเทือนถึง(2) การรับบุตรบุญธรรมซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ หรือสิทธิและหนี้อันเกิดแต่การนั้น ๆ " ซึ่งมีความหมายว่า สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรมมีอยู่ตามกฎหมายเก่าอย่างไร เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนั้น บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกตามกฎหมายเก่าและมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1585 จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2519)
of 5