คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายเลือกตั้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และการแจ้งรายชื่อสมาชิก
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 107 (4) ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้คัดค้านเป็นสมาชิกพรรคสยาม เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2543 ซึ่งพรรคสยามจะต้องแจ้งรายชื่อสมาชิกเพิ่มเติมต่อประธานกรรมการการเลือกตั้งซึ่งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองภายในเดือนมกราคมของทุกปี ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 34 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ให้หัวหน้าพรรคการเมืองแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาพร้อมด้วยรายชื่อ อาชีพ ที่อยู่ ของสมาชิกให้นายทะเบียนทราบภายในเดือนมกราคมของทุกปี เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานที่ว่าพรรคสยามได้แจ้งรายชื่อผู้คัดค้านเป็นสมาชิกเพิ่มเติมตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การที่ไม่มีชื่อของผู้คัดค้านในระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองและทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเอกสารของทางราชการ แสดงว่าพรรคสยามไม่ได้แจ้งเรื่องการเป็นสมาชิกพรรคของผู้คัดค้านให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบ ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 107 (4)
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาหลังเลือกตั้ง: วินิจฉัยคุณสมบัติผู้สมัครหลังการเลือกตั้งไม่ได้
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 34 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลฎีการับวินิจฉัยคำร้องของผู้สมัครในกรณีที่ผู้สมัครไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งตามมาตรา 32 โดยให้มีคำสั่งว่า ผู้สมัครเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ กับมาตรา 34/1 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลฎีกามีอำนาจรับวินิจฉัยคำร้องของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งในกรณีที่ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้เพิกถอนการรับสมัครรับเลือกตั้งของผู้รับสมัคร ซึ่งทั้งสองกรณีผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาก่อนวันเลือกตั้งเท่านั้น และในกรณีที่เมื่อถึงวันเลือกตั้งแล้ว ปรากฏว่าไม่มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาตามมาตรา 34/1 วรรคหนึ่ง ก็ให้ดำเนินการเลือกตั้งไปตามประกาศการรับสมัครที่มีผลอยู่ในวันเลือกตั้ง ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในวันเลือกตั้งอยู่ก่อนแล้ว และผู้ร้องได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงสุดในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดกาญจนบุรี แต่เพิ่งถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่าผู้ร้องขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) และมีคำสั่งให้งดการประกาศผลการเลือกตั้งกับให้มีการเลือกตั้งใหม่ ภายหลังวันเลือกตั้ง ซึ่งในกรณีเช่นว่านี้ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจศาลฎีกาที่จะสั่งเพิกถอนคำวินิจฉัยและคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งได้
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8265/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากการไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุตามกฎหมาย
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในการเลือกตั้งครั้งใด ถ้าผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้เนื่องจากมีเหตุสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ประจำแต่ละเขตเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน มาตรา 22 บัญญัติว่า เมื่อครบกำหนดสามสิบวันหลังจากวันเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และมิได้แจ้งเหตุตามมาตรา 21 เพื่อให้ผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งดังกล่าวแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งภายในหกสิบวันนับแต่วันประกาศ และมาตรา 23 วรรคหนึ่ง (3) บัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 21 หรือมาตรา 22 ฯลฯ ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นบุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ตามมาตรา 68 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ให้ผู้นั้นเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ดังนั้น การที่ผู้ร้องมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภารอบสอง ทั้งมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ทั้งก่อนและหลังวันเลือกตั้งตามความในมาตรา 21 และมาตรา 22 ดังกล่าว ผู้ร้องย่อมเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในวันดังกล่าวผู้ร้องป่วยจริง ก็เป็นเพียงเหตุที่ผู้ร้องอาจแจ้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ว่าไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ โดยอาจแจ้งก่อนหรือหลังวันเลือกตั้งตามความในมาตรา 21 และมาตรา 22 ดังกล่าวเท่านั้น เมื่อผู้ร้องมิได้แจ้งเหตุเช่นนี้ จึงไม่อาจอ้างเหตุที่ผู้ร้องป่วยมาขอให้ศาลฎีกาสั่งให้ผู้คัดค้านรับสมัครผู้ร้องได้
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9635/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษทางกฎหมายเลือกตั้งตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 84 นั้น บทบัญญัติมาตราดังกล่าวถูกยกเลิกแล้วโดย พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 22 และได้บัญญัติบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนมาตรา 35 อยู่ในมาตรา 91 ซึ่งโจทก์มีคำขอมาท้ายฟ้องด้วย จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลโดยไม่มีสิทธิ: บทบัญญัติโทษและขอบเขตการนำกฎหมายเลือกตั้งมาใช้
พ.ร.บ.สุขาภิบาล พ.ศ.2495 ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์โดยไม่มีสิทธิ มิได้บัญญัติบทกำหนดโทษไว้ในมาตราหนึ่งมาตราใด และตามพ.ร.บ.สุขาภิบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2528 มาตรา 3 ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.สุขาภิบาล พ.ศ.2495 และให้ใช้ความใหม่แทนได้บัญญัติไว้ในวรรคสุดท้ายของมาตรา 7 ว่า "การเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามความใน (4) ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลม" เมื่อ พ.ร.บ.สุขาภิบาล (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2528 มาตรา 3 บัญญัติวิธีการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล ตามความใน(4) แห่งมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว คือให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมก็ต้องตีความโดยเคร่งครัดว่า พ.ร.บ.สุขาภิบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2528มาตรา 3 มีเจตนารมณ์เพียงว่าในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามมาตรา7 (4) ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้น ทั้งนี้เพราะตามพ.ร.บ.สุขาภิบาลไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลไว้มิได้หมายความว่าให้นำบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมด ดังนั้น จะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 มาตรา 72 ซึ่งอยู่ในหมวด 9 อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษโดยเฉพาะมาใช้บังคับ โดยอนุโลมด้วยหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อจำเลยไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์ในวันเกิดเหตุโดยไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ถือว่าการกระทำของจำเลยในขณะนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทบัญญัติกฎหมายเลือกตั้งสุขาภิบาล การนำบทบัญญัติกฎหมายอื่นมาใช้โดยอนุโลมต้องตีความอย่างเคร่งครัด
พระราชบัญญัติ สุขาภิบาลพ.ศ.2495ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์ โดยไม่มีสิทธิมิได้บัญญัติบทกำหนดโทษไว้ในมาตราหนึ่งมาตราใดและตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา7แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ.2495และให้ใช้ความใหม่แทนได้บัญญัติไว้ในวรรคสุดท้ายของมาตรา7ว่า"การเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามความใน(4)ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลม"เมื่อพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3บัญญัติวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามความใน(4)แห่งมาตรา7ของพระราชบัญญัติดังกล่าวคือให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมก็ต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้นทั้งนี้เพราะตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาลไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลไว้มิได้หมายความว่าให้นำบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมดดังนั้นจะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ.2482มาตรา72ซึ่งอยู่ในหมวด9อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษโดยเฉพาะมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วยหาได้ไม่ดังนั้นเมื่อจำเลยไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์ในวันเกิดเหตุโดยไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งถือว่าการกระทำของจำเลยในขณะนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทลงโทษกฎหมายเลือกตั้ง: การใช้บทกฎหมายที่มีผลต่อจำเลยมากที่สุด แม้กฎหมายจะมีการแก้ไข
บทกำหนดโทษของผู้ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 35 นั้นปรากฏว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คือมาตรา 84แตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด คือมาตรา 91ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535มาตรา 22 ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 84 กำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี แต่อัตราโทษตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ จำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ดังนี้เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ว่า มาตรา 91ที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ผู้กระทำความผิดมากกว่าตามมาตรา 84 เดิม ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ จึงต้องใช้มาตรา 91ที่แก้ไขเป็นบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการคัดค้านการเลือกตั้งและเหตุที่ศาลไม่อาจรับคำร้องได้ เนื่องจากข้อกล่าวหาไม่ชัดเจนและไม่เข้าเหตุตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522ไม่มีบทบัญญัติให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งใช้สิทธิทางศาล โดยการยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งอื่นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้คัดค้าน ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522มาตรา 78 บัญญัติเหตุที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เฉพาะกรณีที่มีการฝ่าฝืน มาตรา 26 มาตรา 32 มาตรา 34 มาตรา 51 หรือมาตรา 52เท่านั้น ที่ผู้ร้องอ้างเหตุว่าผู้ได้รับเลือกตั้งทั้งสามกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งตามที่ระบุในคำร้องก็เป็นกรณีมีการกระทำฝ่าฝืนมาตรา 15 มาตรา 35 ซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 86และมาตรา 91 มิใช่เหตุที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้ง คำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ไม่ได้บรรยายรายละเอียดให้แจ้งชัดว่าผู้ได้รับเลือกตั้งใช้เงินเกินอย่างไรใช้ที่ไหนเป็นค่าอะไรและจะถือได้ว่าเป็นการใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งได้หรือไม่เป็นคำร้องที่เคลือบคลุม ส่วนที่อ้างเหตุคัดค้านว่าผู้อำนวยการเลือกตั้งประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยไม่บรรยายให้รายละเอียดชัดแจ้งว่าผู้อำนวยการเลือกตั้งประมาทเลินเล่อร้ายแรงอย่างไรปล่อยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายใดของหน่วยใดลดคะแนนของผู้ร้องเท่าใดมากกว่าใครอย่างไร ลดคะแนนผู้ได้รับเลือกตั้งหน่วยไหนจำนวนเท่าใด เพิ่มคะแนนแก่ใครโดยทุจริตอย่างไร มีการดำเนินการเลือกตั้งโดยไม่ให้ผู้เลือกตั้งลงลายมือชื่อในบัญชีใด ขัดกับกฎหมายอย่างไร เลขเรียงของบัตรเลือกตั้งหน่วยใด หีบใดไม่ตรงกับเลขเรียงของกระทรวงมหาดไทยเป็นผลผิดกฎหมายอย่างไร ก็เป็นคำร้องที่เคลือบคลุมเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2362/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมสมบูรณ์ แม้ผู้กู้ใช้เงินผิดก.ม.เลือกตั้ง หากผู้ให้กู้ไม่มีส่วนรู้เห็น
โจทก์ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำเลยที่ 1ออกเช็คพิพาทชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ในการหาเสียงเลือกตั้งจำเลยที่ 1 จะใช้จ่ายเงินอย่างไรเป็นเรื่องของจำเลยที่ 1โดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะนำเงินไปแจกจ่ายแก่ราษฎรอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 แต่เมื่อโจทก์ไม่รู้ว่าจำเลยที่ 1กู้เงินไปเพื่อกระทำผิดกฎหมายดังกล่าว สัญญากู้ย่อมสมบูรณ์เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5636/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล แม้ไม่มีคำขอในฟ้อง ศาลก็มีอำนาจสั่งได้
ตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 65ที่บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาแปดปีนั้น มีความหมายว่า เมื่อศาลพิพากษาลงโทษผู้ใดตามกฎหมายมาตรานี้แล้ว ให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นเสียมีกำหนดแปดปีด้วย แม้โจทก์จะไม่มีคำขอดังกล่าวระบุมาท้ายฟ้องก็ตาม.
of 3