พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4206/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีตัวแทนจัดส่งสินค้าล่าช้า: ใช้กฎหมายแพ่ง 10 ปี หาก พ.ร.บ.รับขนทางทะเล ไม่ได้บัญญัติ
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้รับตราส่งหรือผู้ส่งของฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อความสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น
โจทก์ฟ้องว่าจ้างจำเลยดำเนินการจัดส่งสินค้าของโจทก์ไปให้ลูกค้าของโจทก์ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ ให้จำเลยรับผิดเพราะจัดส่งเอกสารไปให้แก่ลูกค้าที่ปลายทางตามข้อตกลงล่าช้า ทำให้ลูกค้าไม่ยอมรับสินค้าเท่านั้น โจทก์ไม่ได้อ้างว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งของทางทะเลและให้จำเลยรับผิดเพราะเหตุการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งสินค้าที่รับขนเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยตามมาตรา 39 ของ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ที่จะนำบทบัญญัติมาตรา 46 มาใช้บังคับได้ แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติเรื่องความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการตาม ป.พ.พ. มาใช้บังคับ แต่ ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2 ว่าด้วยอายุความก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะอีกเช่นกัน จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ทราบในวันที่ 8 ธันวาคม 2544 ว่าจำเลยกระทำผิดข้อตกลงทำให้ลูกค้าไม่สามารถรับสินค้าได้ทันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย จึงถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ และนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจ้างจำเลยดำเนินการจัดส่งสินค้าของโจทก์ไปให้ลูกค้าของโจทก์ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ ให้จำเลยรับผิดเพราะจัดส่งเอกสารไปให้แก่ลูกค้าที่ปลายทางตามข้อตกลงล่าช้า ทำให้ลูกค้าไม่ยอมรับสินค้าเท่านั้น โจทก์ไม่ได้อ้างว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งของทางทะเลและให้จำเลยรับผิดเพราะเหตุการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งสินค้าที่รับขนเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยตามมาตรา 39 ของ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ที่จะนำบทบัญญัติมาตรา 46 มาใช้บังคับได้ แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติเรื่องความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการตาม ป.พ.พ. มาใช้บังคับ แต่ ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2 ว่าด้วยอายุความก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะอีกเช่นกัน จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ทราบในวันที่ 8 ธันวาคม 2544 ว่าจำเลยกระทำผิดข้อตกลงทำให้ลูกค้าไม่สามารถรับสินค้าได้ทันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย จึงถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ และนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7544/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อต่อสู้ สิทธิเรียกร้องที่มีข้อโต้แย้งนำมาหักลบหนี้ไม่ได้
จำเลยต้องรับผิดตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 การที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้เงินค่าแชร์กับหนี้เงินต้นเงินยืมตามเช็คพิพาทกับดอกเบี้ยนั้น ถือว่าจำเลยประสงค์จะนำหนี้ค่าแชร์ที่โจทก์อ้างว่าเป็นหนี้จำเลยจำนวน 800,000 บาท มาหักกลบลบหนี้กับหนี้ตามเช็คพิพาทในชั้นศาล โจทก์นำสืบโต้เถียงว่าโจทก์กับจำเลยได้ตกลงหนี้สินระหว่างกันแล้วโดยให้หักค่าแชร์ที่โจทก์จะต้องชำระอีก 1,200,000 บาท กับหนี้เงินยืมที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ เมื่อตกลงแล้วโจทก์ได้คืนเช็คตามจำนวนหนี้ที่หักหนี้ให้แก่จำเลยและจำเลยมีหน้าที่ชำระค่าแชร์แทนโจทก์ หลังจากหักหนี้กันแล้วจำเลยยังค้างชำระหนี้โจทก์จำนวน 759,040 บาท ซึ่งจำเลยได้สั่งจ่ายเป็นเช็ค 4 ฉบับ อันเป็นการต่อสู้ว่าหนี้ค่าแชร์ที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยนั้นระงับไปแล้วด้วยการหักกลบลบหนี้ โจทก์ไม่มีหนี้ที่ต้องชำระแก่จำเลยอีก ถือได้ว่าสิทธิเรียกร้องที่จำเลยนำมาหักกลบลบหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 344 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ สิทธิเรียกร้องนั้นท่านว่าหาอาจจะเอามาหักกลบลบหนี้ได้ไม่" ดังนั้นจำเลยจึงนำสิทธิเรียกร้องค่าแชร์ที่ชำระแทนโจทก์ไปขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ตามเช็คพิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายเครื่องจักรและการคืนสภาพเดิมตามกฎหมายแพ่ง รวมถึงประเด็นค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและขนส่ง
ป.พ.พ.มาตรา 386 บัญญัติถึงสิทธิเลิกสัญญาของคู่สัญญาว่าอาจเกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ เกิดจากข้อสัญญา หรือเกิดจากบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งใช้บังคับได้แก่สัญญาทุกประเภทรวมทั้งสัญญาซื้อขาย สำหรับสัญญาซื้อขาย แม้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายจะได้โอนไปเป็นของผู้ซื้อโดยผลของสัญญาแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ตราบใดที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยังมีภาระหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาแล้วไม่ปฏิบัติ ย่อมถือเป็นการผิดสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อตามสัญญาซื้อขายมิได้ระบุถึงข้อตกลงในการเลิกสัญญาไว้ และตามข้อความในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่าคู่สัญญาประสงค์จะไม่ให้มีการบอกเลิกสัญญาต่อกันในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา ดังนั้น สิทธิบอกเลิกสัญญาของคู่สัญญาจึงต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้ คดีนี้เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่ค้างชำระภายใน 15 วัน จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว ไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดให้ โจทก์จึงมีสิทธิตามกฎหมายที่จะบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรที่ซื้อขายได้โอนไปเป็นของจำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่
ผลของการเลิกสัญญาต้องเป็นตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 คือ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม โดยในกรณีคืนเงินให้บวกดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้ ส่วนในกรณีที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น ให้คืนด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆ ซึ่งการใช้สิทธิเลิกสัญญาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ดังนั้น สัญญาซื้อขายเครื่องจักรระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกันแล้ว จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบเครื่องจักรตามสัญญาซื้อขายคืนแก่โจทก์ และต้องชดใช้เงินค่าที่ได้ใช้สอยเครื่องจักรดังกล่าวในขณะที่ตนครอบครองอยู่จนกว่าจะส่งมอบเครื่องจักรคืนแก่โจทก์ รวมต้องชำระค่าเสียหายจากการเสื่อมราคาของเครื่องจักรด้วย ส่วนโจทก์ก็ต้องคืนเงินค่าเครื่องจักรและเงินดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระให้แก่โจทก์ไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินจำนวนนั้นไว้ และเนื่องจากคู่สัญญามิได้มีข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่ต้องคืนเงินแก่กันไว้ จึงให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับเงินจำนวนนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7
เมื่อจำเลยทั้งสามมีหน้าที่ตามคำพิพากษาที่ต้องส่งมอบเครื่องจักรที่ซื้อขายคืนแก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจเข้าไปรื้อถอนเครื่องจักรและขนส่งเครื่องจักรไปยังภูมิลำเนาของโจทก์ด้วยตนเองได้ หากจำเลยทั้งสามไม่ยอมส่งมอบเครื่องจักร โจทก์ก็ชอบที่จะดำเนินการบังคับตามกฎหมายหรือเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ราคาเครื่องจักรแก่ตน ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใดให้อำนาจแก่โจทก์ในการเข้าไปรื้อถอนและขนส่งเครื่องจักรแทนจำเลยทั้งสามด้วยตนเองโดยขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสามให้ออกค่าใช้จ่าย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่ารื้อถอนและขนย้ายเครื่องจักรจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดหยิบยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
เนื่องจากคำพิพากษาคดีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 จึงสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)
ผลของการเลิกสัญญาต้องเป็นตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 คือ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม โดยในกรณีคืนเงินให้บวกดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้ ส่วนในกรณีที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น ให้คืนด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆ ซึ่งการใช้สิทธิเลิกสัญญาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ดังนั้น สัญญาซื้อขายเครื่องจักรระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกันแล้ว จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบเครื่องจักรตามสัญญาซื้อขายคืนแก่โจทก์ และต้องชดใช้เงินค่าที่ได้ใช้สอยเครื่องจักรดังกล่าวในขณะที่ตนครอบครองอยู่จนกว่าจะส่งมอบเครื่องจักรคืนแก่โจทก์ รวมต้องชำระค่าเสียหายจากการเสื่อมราคาของเครื่องจักรด้วย ส่วนโจทก์ก็ต้องคืนเงินค่าเครื่องจักรและเงินดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระให้แก่โจทก์ไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินจำนวนนั้นไว้ และเนื่องจากคู่สัญญามิได้มีข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่ต้องคืนเงินแก่กันไว้ จึงให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับเงินจำนวนนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7
เมื่อจำเลยทั้งสามมีหน้าที่ตามคำพิพากษาที่ต้องส่งมอบเครื่องจักรที่ซื้อขายคืนแก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจเข้าไปรื้อถอนเครื่องจักรและขนส่งเครื่องจักรไปยังภูมิลำเนาของโจทก์ด้วยตนเองได้ หากจำเลยทั้งสามไม่ยอมส่งมอบเครื่องจักร โจทก์ก็ชอบที่จะดำเนินการบังคับตามกฎหมายหรือเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ราคาเครื่องจักรแก่ตน ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใดให้อำนาจแก่โจทก์ในการเข้าไปรื้อถอนและขนส่งเครื่องจักรแทนจำเลยทั้งสามด้วยตนเองโดยขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสามให้ออกค่าใช้จ่าย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่ารื้อถอนและขนย้ายเครื่องจักรจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดหยิบยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
เนื่องจากคำพิพากษาคดีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 จึงสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตรนอกกฎหมาย: ข้อจำกัดตามกฎหมายแพ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม กำหนดให้ผู้กระทำละเมิดในกรณีทำให้เขาถึงตายรับผิดต่อบุคคลที่ต้องขาดไร้อุปการะเฉพาะที่ผู้ตายมีหน้าที่อุปการะตามกฎหมายเท่านั้น แต่มาตรา 1563 และมาตรา 1564 ที่บัญญัติให้บุตรและบิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูกันนั้น หมายถึง บุตรและบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย ดังนั้น แม้บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วจะเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของบิดาได้ แต่ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดา จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้กระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งซื้อที่ดินรุกล้ำไม่ชอบ ศาลไม่รับ เหตุมีเงื่อนไขและขัด กม.แพ่ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การในตอนแรกว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารโดยถูกต้องตามกฎหมายและตามที่โจทก์นำชี้ระวังแนวเขตที่ดิน มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นการปฏิเสธว่าจำเลยมิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ตอนท้ายให้การว่า หากฟังว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์จริงแล้วก็เป็นการกระทำโดยสุจริตและขอฟ้องแย้งให้โจทก์ขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำแก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยนอกจากจะมีเงื่อนไขและไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย แล้ว คำขอท้ายฟ้องแย้งยังเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับได้เพราะขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ระหว่างมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน ไม่ต้องได้รับความยินยอม
ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 341 ไม่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้แต่ประการใดว่าการหักกลบลบหนี้ระหว่างกันนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง จำเลยได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังโจทก์แล้ว ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าการฝากเงินของโจทก์ไว้กับจำเลยนั้นได้มีการกำหนดเวลาคืนเงินฝากไว้แน่นอน กรณีจึงต้องถือว่าหนี้เงินฝากดังกล่าวถึงกำหนดชำระหนี้ทันทีที่โจทก์ได้ฝากเงินไว้กับจำเลยและก็ไม่ปรากฎเช่นกันว่าทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนาไม่ให้นำหนี้ที่มีอยู่ต่อกันมาหักกลบลบกันไว้แต่อย่างใด จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำเงินฝากในบัญชีของโจทก์ไปหักกลบลบกับหนี้ที่โจทก์กู้เงินไปจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8840/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1และคำขอท้ายฟ้องระบุให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์เท่ากับโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองรับผิดแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะส่วนตัวนั้น เป็นผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 และ 1087
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทจากการเล่นแชร์ที่ไม่ผิดกฎหมาย มีผลผูกพันตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตในวันเดียวกัน โดยไม่รอให้จำเลยยื่นอุทธรณ์และคัดค้านคำร้องดังกล่าวภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ แต่เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องและสำเนาอุทธรณ์แล้วก็ไม่ได้คัดค้านคำร้องและไม่ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ แม้ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นปฏิบัติตามขั้นตอนให้ถูกต้องกล่าวคือรอให้ล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้วจึงมีคำสั่งอนุญาตผลก็จะเป็นเช่นเดียวกัน ดังนี้ ศาลฎีกาไม่ย้อนสำนวนและวินิจฉัยคดีไปเสียทีเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 : การแสวงหาประโยชน์ฝ่ายเดียว
โจทก์อาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้โจทก์ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมศาลฎีกาเห็นควรสั่งค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมศาลฎีกาเห็นควรสั่งค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7141/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นและการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหลังผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่า 1 ปี ทบเข้ากับเงินต้นแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้านั้น มีผลบังคับใช้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง และไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แม้จะครบกำหนดชำระหนี้และลูกหนี้ผิดนัดแล้วโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามวิธีการดังกล่าวได้
โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบังคับจำนองให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้แก่จำเลยไม่ได้ จึงประกาศให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ เป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองให้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728
โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบังคับจำนองให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้แก่จำเลยไม่ได้ จึงประกาศให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ เป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองให้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728