พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6989/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: เจ้าของสถานค้าประเวณีจัดหาหญิงเพื่ออนาจาร ใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด
ความผิดฐานเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงอายุกว่า 18 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 282 วรรคแรก กับฐานเป็นเจ้าของกิจการผู้ดูแล หรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณี ตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503มาตรา 9 เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นทั้งเจ้าของกิจการร้านอาหารอันเป็นสถานการค้าประเวณีและเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงด้วย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เพราะตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณีฯมาตรา 4 คำว่า จัดให้มีผู้ทำการค้าประเวณีไว้เพื่อการนั้นด้วย ก็หมายถึงการเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงตาม ป.อ.มาตรา 282วรรคแรก ทั้งการตั้งสถานการค้าประเวณีก็เห็นได้ชัดแจ้งว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
หลังจากจำเลยกระทำความผิดแล้ว ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.อ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2540 ให้ยกเลิกความในมาตรา 282 เดิม และให้ใช้ความใหม่แทน กับมี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539ออกมาใช้บังคับโดย พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ยกเลิก พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณีพ.ศ.2503 แต่ ป.อ.มาตรา 282 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่ระวางโทษเท่าเดิมส่วน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 9 และ 11ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษฐานเป็นธุระจัดหาหรือล่อไป หรือชักพาไปซึ่งบุคคลใดเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีและฐานเป็นเจ้าของกิจการการค้าประเวณี ผู้ดูแลหรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณี ระวางโทษสูงกว่าความผิดฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 มาตรา 8 และ 9 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายในขณะกระทำความผิดบังคับแก่คดี
หลังจากจำเลยกระทำความผิดแล้ว ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.อ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2540 ให้ยกเลิกความในมาตรา 282 เดิม และให้ใช้ความใหม่แทน กับมี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539ออกมาใช้บังคับโดย พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ยกเลิก พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณีพ.ศ.2503 แต่ ป.อ.มาตรา 282 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่ระวางโทษเท่าเดิมส่วน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 9 และ 11ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษฐานเป็นธุระจัดหาหรือล่อไป หรือชักพาไปซึ่งบุคคลใดเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีและฐานเป็นเจ้าของกิจการการค้าประเวณี ผู้ดูแลหรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณี ระวางโทษสูงกว่าความผิดฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 มาตรา 8 และ 9 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายในขณะกระทำความผิดบังคับแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7590/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษคดีอาญาตามมาตรา 335 และการใช้กฎหมายในขณะกระทำผิดเมื่อมีการแก้ไขโทษ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) (8) วรรคสอง (เดิม) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท เมื่อความผิดในมาตราดังกล่าวไม่ใช่คดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย และศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์เสียก่อน หากศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพ ก็คงลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ ดังนั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นย่อมฟังว่าจำเลยกระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) (8) วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 ตามฟ้องได้ โดยไม่ต้องนำสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดดังกล่าวจึงเป็นการไม่ถูกต้อง
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 15 ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 335 วรรคสอง และให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน ปรากฏว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากัน ส่วนโทษปรับตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิมต้องถือว่า กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 15 ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 335 วรรคสอง และให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน ปรากฏว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากัน ส่วนโทษปรับตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิมต้องถือว่า กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย