คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กดเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์นายจ้างและการกดเงินจากบัตร ATM เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ลักเอาบัตรเงินสดทันใจเอ.ที.เอ็ม. ของธนาคาร ก. นายจ้างแล้วนำไปเข้าเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ ของธนาคาร ก. กดเบิกเงินไปจำนวน 5,000 บาท แม้จำเลยจะมีความประสงค์เพื่อเอาบัตรเงินสดทันใจ เอ.ที.เอ็ม. ที่ลักมาไปกดเบิกเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ แต่ทรัพย์ที่จำเลยลักไปจากธนาคาร ก. นายจ้างเป็นคนละประเภทกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระกัน แยกกระทงลงโทษจำเลยได้ การกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์บัตรเอทีเอ็มและกดเงินเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยลักบัตรเงินสดทันใจ เอ.ที.เอ็ม ของธนาคารนายจ้าง1 ใบ ไปในขณะที่ได้รับมอบหมายให้จัดรหัสของบัตรให้เข้าคู่กันวันต่อมาจำเลยนำบัตรเงินสดทันใจที่ลักมาไปเข้าเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติของนายจ้างกดเบิกเงินเอาไปจำนวน 5,000 บาท ทรัพย์ที่จำเลยลักไปเป็นคนละประเภทกัน แม้จำเลยจะมีความประสงค์เพื่อเอาบัตรเงินสดทันใจที่ลักมาไปกดเบิกเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติแต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระกันแยกกระทงลงโทษจำเลยได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์บัตรเอทีเอ็มแล้วกดเงิน ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างวาระ
การที่จำเลยได้ลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม. 1 ใบราคา 30 บาท ของธนาคารกสิกรไทย แล้วจำเลยได้นำบัตร เอ.ที.เอ็ม. ที่ลักมานั้นไปเข้าเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ กดเบิกเงินเอาไปจำนวน 5,000 บาทแล้วได้นำบัตร เอ.ที.เอ็ม. ดังกล่าวโยนทิ้งน้ำไปนั้น ทรัพย์ที่จำเลยลักไปจากธนาคารกสิกรไทยเป็นคนละประเภทกัน แม้จำเลยจะมีความประสงค์เพื่อเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ที่ลักมาไปกดเบิกเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระกัน แยกกระทงลงโทษจำเลยได้ การกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน