คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรณีพิเศษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ว่าฯ ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง: กรณีพิเศษตามประมวลรัษฎากร
ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากกรมสรรพากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาตามยอม: อำนาจทนาย, ความผูกพันคำพิพากษา, และกรณีพิเศษ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาสินค้าที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันรับสินค้าจนกว่าจะชำระเสร็จ ทนายจำเลยซึ่งตามใบแต่งทนายระบุให้มีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ด้วย ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า จำเลยยอมชำระราคาสินค้าตามฟ้องแก่โจทก์ภายในวันที่ 15 กันยายน 2525 หากผิดนัดยอมให้บังคับคดีทันทีและยอมเสียดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลพิพากษาตามยอม ดังนี้ จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลแก้คำพิพากษาตามยอมโดยอ้างว่าทนายจำเลยทำสัญญายอมให้ดอกเบี้ยแก่ โจทก์เกินคำขอหาได้ไม่ เพราะมิใช่เป็นการขอแก้ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143. และที่จำเลยอ้างว่า จำเลยไม่มีความรู้ไม่ทราบว่าคำพิพากษาชอบหรือไม่จึง เป็นกรณีพิเศษที่จะขอให้แก้คำพิพากษาได้นั้น ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า กรณีของจำเลยเป็นกรณีพิเศษที่จะให้แก้คำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนกรณีมีเหตุเสียหายร้ายแรง ทำให้ไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
การเลิกห้างหุ้นส่วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1056 เป็นการเลิกในระหว่างที่กิจการของห้างหุ้นส่วนยังดำเนินไปได้ตามปกติ กฎหมายจึงบัญญัติให้บอกกล่าวล่วงหน้าหกเดือน และให้เลิกได้ต่อเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วน แต่ถ้ามีเหตุการณ์ที่เสียหายเกิดขึ้นระหว่างดำเนินการของห้างหุ้นส่วนเมื่อหุ้นส่วนคนใดร้องขอ ศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1057 ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1056
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม 2511 ตลาดป่าโมกถูกไฟไหม้บรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่ใช้แพท่าของโจทก์จำเลยเป็นที่รับส่งสินค้าได้งดการรับส่งสินค้า และได้แยกย้ายไปหาแพท่าขนส่งสินค้าใหม่ ผลประโยชน์ที่โจทก์กับจำเลยได้รับลดน้อยลงโจทก์มีความประสงค์จะเลิกการเป็นหุ้นส่วนกับจำเลย เพราะไม่มีผู้ที่จะดูแลรักษาแพท่านี้ อันเป็นเหตุให้เกิดการเสียหาย ได้แจ้งขอเลิกการเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยแล้วถือได้ว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3)โจทก์มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนนั้นได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าวความจำนงล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือนตามมาตรา 1056 แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วน เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยแบ่งทุน แต่ก็เห็นความประสงค์ของโจทก์ได้ว่าต้องการให้สั่งเลิกห้างหุ้นส่วน จึงได้ขอแบ่งทุน เมื่อตามคำฟ้องคำให้การ และทางพิจารณา ไม่ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนมีลูกหนี้เจ้าหนี้หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง โจทก์จำเลยได้ผลัดกันเก็บรายได้จากแพท่าคนละเดือนมาเป็นเวลา 10 ปีเศษแล้วสินทรัพย์ของห้างมีแต่แพรายพิพาทเท่านั้น จะรื้อฟื้นให้พิจารณาเรื่องชำระหนี้บัญชีของห้างหุ้นส่วน ก็คงไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นแต่ประการใด ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งแพรายพิพาทให้โจทก์ครึ่งหนึ่งไปทีเดียวได้ โดยให้ประมูลราคาระหว่างโจทก์จำเลย หากไม่ตกลงกัน ให้เอาแพรายพิพาทออกขายทอดตลาดเอาเงินได้สุทธิแบ่งให้โจทก์ (อ้างฎีกาที่ 1195/2497)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อคดีที่สิ้นสุดแล้ว และค่าเสียหายจากกรณีพิเศษหลังผิดสัญญาซื้อขาย
เจ้าของที่ดินได้ฟ้องโจทก์กับจำเลยขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย โดยอ้างว่าที่ดินเป็นของเขา จำเลยไม่มีอำนาจเอาไปขายให้แก่โจทก์ ถ้าหากโจทก์เห็นว่า เจ้าของที่ดินเชิดจำเลยเป็นตัวแทนขายที่ดินให้โจทก์ๆก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีนั้นได้ แต่โจทก์มิได้ยกประเด็นข้อนี้เป็นข้อต่อสู้ เมื่อศาลพิพากษาให้เจ้าของที่ดินชนะคดีไปแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องเจ้าของที่ดินขอให้รับผิดในการที่เชิดจำเลยเป็นตัวแทนมาขายที่ดินนั้นแก่โจทก์ และขอให้เพิกถอนคำพิพากษาในคดีก่อนนั้นเสียดังนี้ ได้ชื่อว่ารื้อฟื้นคดีที่ศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วมาว่ากล่าวกันใหม่ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่ผู้ซื้อที่ดินจะได้กำไรจากการนำที่ดินนั้นไปขายต่อให้แก่ผู้อื่นนั้น มิใช่เป็นวิสัยธรรมดา อันพึงบังเกิดจากการผิดสัญญาซื้อขาย เป็นเหตุให้ผู้ซื้อไม่ได้กำไรจากการขายต่อไปนั้น ย่อมถือว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง ซึ่งถ้าผู้ขายได้คาดเห็นหรือควรได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าแล้วผู้ขายจึงจะต้องรับผิด ถ้าผู้ซื้อนำสืบไม่ได้ว่าผู้ขายได้รู้หรือควรจะได้คาดเห็นล่วงหน้าแล้ว ผู้ขายก็ไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายพิเศษนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตร: กรณีพิเศษที่อำนาจอยู่ที่มารดา แม้บิดาฟ้องขอ
โจทก์ผู้เป็นบิดาฟ้องเรียกบุตรคืนจากหญิงผู้เป็นมารดา โดยอ้างอำนาจปกครงอตามมาตรา 1537 ป.ม.แพ่งฯ แต่จำเลยก็ได้ฟ้องแย้งขอให้ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่แก่มารดาตามมาตรา 1538(6) ดังนี้ เป็นบทยกเว้นของมาตรา 1537 ที่อำนาจปกครองนั้นอยู่แก่มารดา อันเป็นกรณีธรรมดาโดยทั่ว ๆ ไป.