พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตตัวแทนของกรมและการนับอายุความละเมิด
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 32 วรรคสอง บัญญัติว่า กรมมีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฯลฯ เช่นนี้ต้องถือว่าโจทก์มีอธิบดีคนเดียวเท่านั้นเป็นผู้แทน จะถือว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนของโจทก์เป็นผู้แทนของโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าอธิบดีโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2528 นับถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์2529 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิด: ผู้แทนโจทก์คืออธิบดีกรมเท่านั้น การนับอายุความเริ่มเมื่ออธิบดีทราบเรื่อง
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 32 วรรคสอง บัญญัติว่า กรมมีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฯลฯ เช่นนี้ ต้องถือว่าโจทก์มีอธิบดีคนเดียวเท่านั้นเป็นผู้แทน จะถือว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนของโจทก์เป็นผู้แทนของโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าอธิบดีโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 18กุมภาพันธ์ 2528 นับถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2529 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2439/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรมในฐานะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์: การกระทำของตัวแทนผูกพันกรมหรือไม่
กรมอัยการและ กรมการปกครอง มีหน้าที่ร่วมกับ กรมสรรพากรเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ ประกอบด้วยอธิบดีกรมสรรพากร ผู้แทนกรมอัยการและผู้แทนกรมการปกครองปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 กรมอัยการและ กรมการปกครอง หาใช่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ อีกทั้งผู้แทนกรมอัยการหรือผู้แทนกรมการปกครองก็ไม่ได้กระทำในนามของกรม ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้น อันจะถือเป็นการกระทำของกรมหาได้ไม่ กรมอัยการและกรมการปกครองจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานของผู้แทน ซึ่งทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องกรมอัยการและ กรมการปกครอง เป็นจำเลยร่วมกับ กรมสรรพากร จำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกค่าเช่าบ้านเท็จ – อำนาจฟ้องของกรม – ความรับผิดทางแพ่ง
กรมสามัญศึกษาโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาลการฟ้องคดีของโจทก์ย่อมแสดงออกโดยการกระทำของอธิบดีซึ่งเป็นผู้แทนเมื่อเห็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยเบิกไปโดยไม่มีสิทธิคืนโจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องคดีได้ อ.ก.พ.กระทรวงไม่มีอำนาจที่จะกระทำการแทนโจทก์ ฉะนั้นจะมีมติอย่างไรในเรื่องนี้จึงไม่เกี่ยวข้องกับอำนาจของโจทก์ในการฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการไม่ใช่ตัวแทนกรมโดยอัตโนมัติ ต้องมีการแต่งตั้งหรือแสดงเจตนาเป็นตัวแทน
การที่เพียงแต่ผู้ใดเป็นข้าราชการกรมใด จะถือว่าผู้นั้นเป็นผู้แทนหรือตัวแทนของกรมนั้นในการทำนิติกรรมต่างๆตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เสมอไปนั้นหาได้ไม่ ต้องแล้วแต่ว่าได้มีการแต่งตั้งหรือการปฏิบัติระหว่างกรมกับข้าราชการผู้นั้นว่าจะเข้าลักษณะเป็นตัวแทนหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะนิติบุคคลของกรมในกองทัพบก และอำนาจศาลในการลดค่าปรับจากสัญญา
กรมพลาธิการทหารบก และกรมยกกระบัตรทหารบก แม้จะเรียกว่า "กรม" แต่ตามกฎหมายถือเพียงเป็นส่วนหนึ่ง ในกองทัพบก ซึ่งเป็นกรมเท่านั้น จึงไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จะฟ้องให้รับผิดชอบฐานเป็นนิติบุคคลไม่ได้
เมื่อศาลคำนวณว่า ค่าปรับที่จำเลยปรับเอาแก่โจทก์ตามสัญญา ในการที่โจทก์ส่งของให้ไม่ถูกต้อง โดยเทียบกับค่าปรับทั้งหมดที่จะปรับเอาแก่โจทก์ได้เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเลย ถ้าเห็นสูงเกินไป ศาลอาจลดค่าปรับลงเท่าที่เห็นสมควรได้.
เมื่อศาลคำนวณว่า ค่าปรับที่จำเลยปรับเอาแก่โจทก์ตามสัญญา ในการที่โจทก์ส่งของให้ไม่ถูกต้อง โดยเทียบกับค่าปรับทั้งหมดที่จะปรับเอาแก่โจทก์ได้เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเลย ถ้าเห็นสูงเกินไป ศาลอาจลดค่าปรับลงเท่าที่เห็นสมควรได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะกรมในกองทัพบกและการลดค่าปรับสัญญาซื้อขาย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ากรมไม่ใช่ นิติบุคคล และมีอำนาจลดค่าปรับที่สูงเกินควร
กรมพลาธิการทหารบกและกรมยกกระบัตรทหารบก แม้จะเรียกว่า"กรม" แต่ตามกฎหมายถือเพียงเป็นส่วนหนึ่งในกองทัพบก ซึ่งเป็นกรมเท่านั้น จึงไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จะฟ้องให้รับผิดชอบฐานเป็นนิติบุคคลไม่ได้
เมื่อศาลคำนวณว่าค่าปรับที่จำเลยปรับเอาแก่โจทก์ตามสัญญา ในการที่โจทก์ส่งของให้ไม่ถูกต้อง โดยเทียบกับค่าปรับทั้งหมดที่จะปรับเอาแก่โจทก์ได้ เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเลย ถ้าเห็นสูงเกินไป ศาลอาจลดค่าปรับลงเท่าที่เห็นสมควรได้
เมื่อศาลคำนวณว่าค่าปรับที่จำเลยปรับเอาแก่โจทก์ตามสัญญา ในการที่โจทก์ส่งของให้ไม่ถูกต้อง โดยเทียบกับค่าปรับทั้งหมดที่จะปรับเอาแก่โจทก์ได้ เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเลย ถ้าเห็นสูงเกินไป ศาลอาจลดค่าปรับลงเท่าที่เห็นสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8335/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าสังหาริมทรัพย์: กรมในรัฐบาลประกอบธุรกิจให้เช่ามีอายุความ 2 ปี
แม้โจทก์จะเป็นกรมในรัฐบาลเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีภารกิจเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมและการบริหารความถี่วิทยุ ดำเนินการด้านใบอนุญาตวิทยุคมนาคมตรวจสอบและเฝ้าฟังวิทยุ และดำเนินการอื่นๆ ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมก็ตาม แต่โจทก์รับเป็นผู้ดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมแก่เอกชนด้วย โดยให้เอกชนเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการของเอกชนผู้เช่า ซึ่งเอกชนผู้เช่าต้องเสียค่าเช่าตามประกาศที่โจทก์กำหนด ทั้งมีหน้าที่ต้องชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุแก่โจทก์อีกด้วยตามประกาศของโจทก์ เรื่องการปรับอัตราค่าเช่าเครื่องวิทยุคมนาคม และประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องกำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุ ต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุ ดังนี้ การที่โจทก์ให้เอกชนเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์จึงเป็นกิจการอย่างอื่นที่สำคัญและที่ไม่ใช่ราชการ ซึ่งโจทก์จัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบริหารความถี่วิทยุอันเป็นภารกิจของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ สิทธเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกเอาค่าเช่าจึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6)