พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอาคารให้กรมการศาสนาและการหักภาษีซื้อมูลค่าเพิ่ม กรณีเช่าที่ดินสร้างอาคาร
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินกับกรมการศาสนาเพื่อปลูกสร้างอาคารห้างสรรพสินค้า โดยตกลงว่าสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่เช่าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนาทันที แล้วโจทก์มีสิทธิเช่าอาคารดังกล่าว 30 ปี นับแต่วันที่กรมการศาสนารับมอบอาคารนั้น ถือได้ว่ากรมการศาสนาได้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้นมาโดยทางนิติกรรมด้วยการจำหน่ายจ่ายโอนของโจทก์ ต้องด้วยบทนิยามคำว่า "ขาย" ตามมาตรา 91/1 (4) แห่ง ป. รัษฎากร เมื่อโจทก์ขายอาคารห้างสรรพสินค้าดังกล่าวภายในกำหนด 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารดังกล่าวย่อมเป็นภาษีซื้อที่นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่ง ป. รัษฎากร ไม่ได้ ทั้งนี้ตามมาตรา 82/5 (6) แห่ง ป. รัษฎากร ประกอบด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 (6) แห่ง ป. รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินธรณีสงฆ์ไม่สมบูรณ์หากไม่ได้รับการอนุมัติจากกรมการศาสนา จำเลยผิดสัญญาเมื่อบอกเลิกก่อนได้รับอนุมัติ
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ข้อ 2 ระบุว่า การกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกิน 3 ปี จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมศาสนา ดังนี้ เมื่อพิจารณาสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยแล้วจึงไม่ใช่ เป็นสัญญาเช่าโดยตรง หากแต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ แต่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็มีผลให้เห็นได้ในอนาคตว่า หากโจทก์ปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ แล้วเสร็จตามสัญญาก็ย่อมจะ มีผลให้จำเลยต้องบังคับตามสัญญา คือให้โจทก์มีสิทธิเช่า อาคารต่าง ๆ ได้เป็นเวลา 30 ปี อันจำเป็นจะต้องขอความเห็นชอบ จากกรมการศาสนาก่อน ซึ่งโจทก์และจำเลยต่างทราบดีดังจะเห็น ได้จากสัญญาในข้อ 5 ที่ว่าเพื่อเป็นการตอบแทนที่ได้ลงทุน สร้างอาคารในที่ดิน ผู้ลงทุนตกลงชำระเงินบำรุงวัดสุวรรณคีรีวงก์ จำนวน 1,200,000 บาท โดยผู้ลงทุนจะชำระในวันที่กรมการศาสนา ให้ความเห็นชอบสัญญานี้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าสัญญาระหว่าง โจทก์จำเลยยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมศาสนา สัญญาระหว่าง โจทก์และจำเลยจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ยังไม่สามารถ นำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหลังจากทำสัญญาแล้ว จำเลยได้บอกเลิก สัญญาแก่โจทก์ ไม่ยอมให้โจทก์เข้าปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ โดย ไม่รอฟังผลการเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน จำเลยจึงเป็นฝ่าย ผิดสัญญา โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้เท่านั้น หามีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4027-4030/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัดร้างสงฆ์ไม่อาศัย: กรมการศาสนามีอำนาจดูแลทรัพย์สินและฟ้องร้องได้
วัดร้างสงฆ์ไม่อาศัยกรมการศาสนาย่อมมีอำนาจดูแลรักษาและจัดการทรัพย์สินของวัดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินกรมการศาสนาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงของวัด
การที่ศาลชั้นต้นออกคำสั่งห้ามจำเลยถอนเงินจากกรมการศาสนา. ในฐานะที่กรมการศาสนาเป็นผู้จัดการผลประโยชน์ของวัดจันทรสโมสรผู้ร้อง. จนกว่าคดีจะถึงที่สุด และมีหมายแจ้งคำสั่งที่ห้ามจำเลยไปให้กรมการศาสนาทราบนั้น. มิใช่วิธีการอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยต่อกรมการศาสนาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311. จึงต้องถือว่าไม่มีการอายัดสิทธิเรียกร้อง. เมื่อไม่มีการอายัดก็จะนำมาตรา 312 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้.
เงินที่จำเลยจ่ายให้กรมการศาสนาเป็นเงินบำรุงวัดจันทรสโมสรผู้ร้อง.กรมการศาสนาได้นำฝากเข้าบัญชีวัดจันทรสโมสรแล้ว.จึงเป็นทรัพย์สินของวัดจันทรสโมสรไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลย.โจทก์ขอให้ยึดเงินจำนวนนี้มิได้.
เงินที่จำเลยจ่ายให้กรมการศาสนาเป็นเงินบำรุงวัดจันทรสโมสรผู้ร้อง.กรมการศาสนาได้นำฝากเข้าบัญชีวัดจันทรสโมสรแล้ว.จึงเป็นทรัพย์สินของวัดจันทรสโมสรไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลย.โจทก์ขอให้ยึดเงินจำนวนนี้มิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066-1067/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินวัด: การได้มาซึ่งที่ดินวัดต้องเป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น และประเด็นอำนาจฟ้องของกรมการศาสนา
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7 ซึ่งต่อมาได้ถูกแก้ไขตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2477 มาตรา 3 ก็ดี ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 ก็ดี และตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ก็ดี จำเลยจะได้ที่วัดไปเป็นของตนก็โดยพระราชบัญญัติทางเดียวเท่านั้น
ฎีกาจำเลยมิได้กล่าวโดยแจ้งชัดว่ากรมการศาสนาไม่มีอำนาจฟ้อง และใบมอบอำนาจใช้ไม่ได้เรียกค่าเสียหายไม่ได้เพราะเหตุใดจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2509)
ฎีกาจำเลยมิได้กล่าวโดยแจ้งชัดว่ากรมการศาสนาไม่มีอำนาจฟ้อง และใบมอบอำนาจใช้ไม่ได้เรียกค่าเสียหายไม่ได้เพราะเหตุใดจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลบังคับใช้พินัยกรรม: การมอบเงินให้กรมการศาสนาเพื่อบำรุงกุศล ไม่เป็นเงื่อนไขทำให้พินัยกรรมมีผล
ข้อความในพินัยกรรมที่สั่งให้ขายทรัพย์ ได้เงินเท่าใดให้มอบให้กรมการศาสนาจำนวนหนึ่งเพื่อตั้งเป็นมูลนิธิเอาเงินผลประโยชน์บำรุงการกุศล ส่วนเงินที่เหลือกับทรัพย์อื่นยกให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นมิใช่เงื่อนไขซึ่งกำหนดให้พินัยกรรมมีผลใช้บังคับต่อเมื่อเงื่อนไข หรือ ข้อกำหนดตามพินัยกรรมได้ทำสำเร็จแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16527/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่สมบูรณ์หากไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือเรียกค่าเช่า
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 546 บัญญัติว่า "ผู้ให้เช่าจำต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการยืนยันหน้าที่ของผู้ให้เช่าในอันที่จะต้องให้ผู้เช่าได้ใช้สอยหรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่า โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าในสภาพที่พร้อมจะให้ผู้เช่าทำการปลูกสร้างอาคารเพื่อดำเนินธุรกิจได้มีกำหนด 30 ปีตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าโจทก์เพียงแจ้งให้จำเลยเข้าปลูกสร้างอาคารโดยโจทก์ยังมิได้ขอความเห็นชอบต่อกรมการศาสนาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ข้อ 4 ที่ระบุว่า "การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกินสามปี จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา" สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าตรงตามวัตถุประสงค์แห่งสัญญาเช่าแล้ว โจทก์จึงไม่อาจนำเงื่อนเวลาการก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จภายใน 10 เดือน นับแต่วันทำสัญญามาบังคับแก่จำเลยได้ จำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย และตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนสิทธิการเช่า จำเลยผู้เช่ายังไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าจากจำเลย