พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการบังคับคดีของกรมชลประทานในคดีรุกล้ำคลองชลประทานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 50
ป.วิ.อ. มาตรา 50 บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหายตามมาตรา 43 และ 44 ให้ถือว่าผู้เสียหายนั้นเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น ผู้เสียหายที่จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตราดังกล่าวจะต้องเป็นผู้เสียหายเฉพาะในความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 เท่านั้น กรมชลประทานผู้ร้องเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานรุกล้ำคลองชลประทานตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 อันมิใช่ความผิดตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 ไม่ต้องด้วยมาตรา 50 จึงไม่มีอำนาจขอเข้าดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีเพื่อให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำตามคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6205/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ทุจริตจ่ายค่าทดแทนที่ไม่ถูกต้อง ทำให้กรมชลประทานเสียหาย ร่วมกันทำเอกสารเท็จ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยที่2ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน แต่จำเลยที่3กับพวกก็คิดค่าทดแทนให้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตร่วมกันทำเอกสารมีข้อความเป็นเท็จจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157,162(1)(4)ประกอบด้วยมาตรา83ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157อันเป็นบทหนัก ขณะเกิดเหตุจำเลยที่1รับราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบและจ่ายเงินทดแทนทรัพย์สินของราษฎรที่ถูกเขตชลประทานจากตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าวย่อมจะต้องเห็นความสำคัญของงานที่ทำที่มีผู้ประสงค์จะแสวงหาประโยชน์อยู่มากและความสำคัญของเอกสารที่ตนลงชื่อการที่จำเลยที่1อ้างว่ามีงานอื่นที่สำคัญและต้องทำอีกมากไม่มีเวลาออกไปตรวจสอบที่ดินของราษฎรนั้นไม่มีเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่1ไม่มีเจตนากระทำความผิดกับจำเลยที่3และจำเลยอื่นจำเลยที่1จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157,162(1)(2)ประกอบด้วยมาตรา83ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157อันเป็นบทหนัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ฟ้องเกิน 1 ปี ก็ไม่ขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างสิทธิของโจทก์ว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดินของกรมชลประทานเขตกั้นน้ำเค็ม ชายทะเลฝั่งทิศใต้ โดยได้รับอนุญาตจากกรมชลประทานให้ใช้ที่ดินดังกล่าวในกิจการที่เกี่ยวกับภาระหน้าที่ขอกรมพลาธิการทหารบก จำเลยเช่าที่ดินบางส่วนซึ่งอยู่ในความครอบครองดังกล่าว ต่อมากรมพลาธิการทหารบกมีหนังสือบอกเลิกการเช่าให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจำเลยไม่ยอมออกไปภายในกำหนดขอให้ศาลบังคับขับไล่จำเลย แม้จะไม่ระบุว่าที่ดินที่เช่ามีเขตติดต่ออะไร กำหนดเวลาเช่านานเท่าใด และไม่แนบหลักฐานทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาทมาท้ายฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ซึ่งแจ้งชัดอยู่แล้วเป็นฟ้องเคลือบคลุม ที่ดินพิพาทแม้จะไม่มีโฉนด แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของกรมชลประทานเขตคันกั้นน้ำเค็ม ชายทะเล จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 เมื่อโจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินพิพาทจากกรมชลประทานฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทการที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยแย่งการครอบครองจากโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ฟ้องคดีภายใน 1 ปี จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นถือได้ว่าเป็นการยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมชลประทานมีอำนาจให้เช่าที่ดินเพื่อรักษาทรัพย์สิน ไม่ผิดวัตถุประสงค์ แม้ยังมิได้ใช้ประโยชน์
กรมชลประทานซึ่งเป็นนิติบุคคล ย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของครอบครองและดูแลรักษาทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ตาม วัตถุประสงค์ของกรมชลประทานได้ การที่กรมชลประทานเอาที่ดินพิพาทให้จำเลยเช่าในเวลาที่กรมชลประทานยังไม่จำเป็นต้องใช้ ย่อมเป็นการกระทำในการดูแลทรัพย์สินของทางราชการเอาไว้ไม่ให้ผู้อื่นแย่งการครอบครองเอาไปโดยมิชอบโดยไม่ปรากฏว่าผิดต่อวัตถุประสงค์ของกรมชลประทาน เมื่อจำเลยสมัครใจเข้าทำสัญญากับกรมชลประทานและเป็นผู้ปฏิบัติผิดสัญญาเช่านั้น กรมชลประทานย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินเวนคืน: กรมชลประทานมีสิทธิขับไล่ผู้รบกวนการครอบครอง แม้มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์
ที่พิพาทอยู่ในเขตเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางหลวงฯ แม้กระทรวงการคลังจะเป็นผู้ซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนรวมทั้งที่พิพาทแล้วมอบให้กรมชลประทานโจทก์สร้างเขื่อน อันเป็นการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าว ก็เป็นการดำเนินการและพิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินเป็นของรัฐ เมื่อโจทก์ได้เข้าดำเนินการสร้างเขื่อนตามโครงการแล้วจึงเป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาที่พิพาท แม้โจทก์จะไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและบริวาร ซึ่งเข้าไปตั้งปั๊มน้ำมันเป็นการรบกวนการครอบครองของโจทก์ให้ออกไปจากที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คูน้ำสาธารณะที่ขุดเองไม่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คันและคูน้ำ หากไม่เป็นไปตามผังที่กรมชลประทานกำหนด
ตามพระราชบัญญัติคันและคูน้ำ พ.ศ. 2505 และเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติคันและคูน้ำ พ.ศ. 2505 บังคับในท้องที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ฯลฯ พ.ศ. 2509 นั้น เป็นเรื่องการทำคูน้ำจากคลองชลประทานตามโครงการเจ้าพระยาใหญ่ ซึ่งจะต้องทำตามผังและลักษณะที่อธิบดีกรมชลประทานกำหนดและประกาศแล้ว เมื่อคูน้ำที่ผู้เสียหายขุดทำขึ้นมิใช่เป็นคูน้ำที่ทำตามกฎหมายดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายกับพวกทำกันเอง คูน้ำนั้นจึงไม่ใช่คูน้ำที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคันและคูน้ำ พ.ศ. 2505 แม้จำเลยจะทำให้เกิดขัดข้อง น้ำไม่ไหลในคูของผู้เสียหาย จำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คูน้ำที่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คันและคูน้ำ คือคูน้ำที่สร้างตามผังที่กรมชลประทานกำหนด
คูน้ำที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคันและคูน้ำ พ.ศ.2505 หมายถึงคูน้ำที่ทำตามผังและลักษณะที่อธิบดีกรมชลประทานกำหนดและประกาศแล้ว ดังนั้น แม้จำเลยทำให้เกิดขัดข้องน้ำไม่ไหลในคูน้ำที่ผู้เสียหายขุดทำขึ้นเอง จำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติ ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14804/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรมชลประทานร้องขอบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตชลประทาน แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างรุกล้ำเขตชลประทานประเภท 2 ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 มาตรา 23, 37 วรรคหนึ่ง และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกจากเขตชลประทานชานคลอง 17 มิใช่กรณีที่พนักงานอัยการขอให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43, 44, 50 ผู้ร้องซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาเขตชลประทานชานคลอง จึงมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาได้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากที่โจทก์สามารถร้องขอได้