คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรมสรรพากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การขายอาคารให้กรมสรรพากร ทำให้เสียสิทธิหักภาษีซื้อ
การที่โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินจากกรมการศาสนาโดยมีข้อตกลงให้โจทก์สร้างอาคารห้างสรรพสินค้าบนที่ดินเช่าด้วยทุนทรัพย์และสัมภาระของโจทก์และให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนาทันทีที่ลงมือปลูกสร้าง แล้วโจทก์มีสิทธิเช่าอาคารดังกล่าวมีกำหนดเวลา 30 ปี นับแต่วันที่กรมการศาสนาได้รับมอบอาคารนั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามสัญญาเช่าใช้สิทธิปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินที่เช่า อาคารที่สร้างขึ้นจึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ประกอบมาตรา 144 วรรคสอง กรมการศาสนาจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารดังกล่าวแต่อย่างใด การที่โจทก์ตกลงให้อาคารดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนานั้นถือได้ว่ากรมการศาสนาได้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้นมาโดยนิติกรรมด้วยการจำหน่ายจ่ายโอนของโจทก์ อันต้องตามบทนิยามคำว่า "ขาย" ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/1 (4) แล้ว กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ได้ขายอาคารห้างสรรพสินค้าดังกล่าวให้แก่กรมการศาสนา
เมื่อโจทก์ได้ขายอาคารห้างสรรพสินค้าเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่โจทก์เช่าจากกรมการศาสนาให้แก่กรมการศาสนาและการขายนั้นเป็นการขายภายใน 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงถือเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 (6) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ ฉะนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารสรรพสินค้าเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่โจทก์เช่าจากกรมการศาสนามาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 83 และมาตรา 84 ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเป็นรายเดือนภาษีพร้อมกับชำระภาษีถ้ามี แต่ถ้ามีเครดิตภาษีเหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีจากการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อตามาตรา 82/3 ผู้ประกอบการดังกล่าวมีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาหรือมีสิทธิขอคืน พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียหรือขอคืนของแต่ละเดือนภาษีแยกต่างหากจากกัน การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตลอดจนการขอคืนภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงต้องแยกกระทำเป็นรายเดือนต่างหากจากกัน การที่โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 17 เดือนภาษี และขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มรวม 18 เดือนภาษี โดยแยกจำนวนเงินเป็นรายเดือนภาษีที่มีการประเมินและขอคืนภาษี จึงถือได้ว่ามี 18 ข้อหาแยกต่างหากจากกัน มิใช่เพียงข้อหาเดียว การเสียค่าขึ้นศาลจึงต้องเสียเป็นรายข้อหาตามรายเดือนภาษี มิใช่เสียรวมกันไม่เกิน 200,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3892/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายลงทุนห้ามหักลดหย่อน แม้มีคำสั่งกรมสรรพากร เหตุไม่มีอำนาจยกเว้นตามกฎหมาย
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนนั้น ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี (5)มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ และไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรออกคำสั่งยกเว้นให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ทั้งตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 72/2540 อธิบดีกรมสรรพากรออกคำสั่งดังกล่าวเป็นแนวปฏิบัติในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเนื่องจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราให้สามารถคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งดังกล่าวได้ ไม่มีข้อความใดยกเว้นความในมาตรา 65 ตรี (5) แต่อย่างใด ส่วนการหักค่าเสื่อมราคาและค่าสึกหรอตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากรฯนั้น ต้องเป็นการลงทุนในทรัพย์สินที่มีสภาพพร้อมใช้งานหรือใช้ประโยชน์ได้แล้วเมื่อไม่ปรากฏว่าโรงงานของโจทก์อยู่ในสภาพดังกล่าว จึงไม่อาจนำผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิโดยอาศัยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 72/2540 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องภาษีมูลค่าเพิ่มหลังเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และการบังคับใช้หนังสือซ้อมความเข้าใจของกรมสรรพากร
จำเลยกำหนดให้โจทก์กรอกรายละเอียดต่าง ๆ รวมทั้ง ค่าภาษีอากรไว้ในใบเสนอราคาเมื่อปรากฏว่าขณะโจทก์ ยื่นต่อจำเลย ภาษีที่โจทก์ต้องเสียคือภาษีการค้า ดังนั้น ภาษีที่โจทก์ระบุไว้จึงเป็นภาษีการค้า ครั้นภายหลังมีการ ตรา พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30)ฯมาใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 โดยให้ยกเลิก ภาษีการค้าและให้ใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มแทน แม้รัฐบาลได้ตรา พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 249) พ.ศ. 2535 ออกมาให้สิทธิโจทก์ที่ยื่นใบเสนอราคาให้บริการกับกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีการค้าตามกฎหมายเดิมก็ได้ แต่ก็มิได้ห้ามมิให้โจทก์เลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉะนั้นเมื่อ โจทก์เลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเก็บ ภาษีขายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและการลดเบี้ยปรับตามคำสั่งกรมสรรพากร โดยคำนึงถึงวันหยุดราชการ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.37/2534 เรื่อง ระเบียบการงด หรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.45/2536 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2536 ข้อ 2 ที่ให้เจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตาม อัตราและเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้ชำระภาษีตามที่กำหนดในข้อ 2(ก)(ข)และ(ค) นั้น ระยะเวลาดังกล่าวตามระเบียบนั้นมิได้มีบทบัญญัติ ว่าด้วยการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ จึงต้องนับระยะเวลา ไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1 เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่กำหนดเป็นวันหยุดราชการ จึงต้องนับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลาตามมาตรา 193/8 ดังนั้นเมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนกรกฎาคม 2539 ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2539 ตามมาตรา 83 วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร ในวันที่ 16 กันยายน 2539 เพราะวันที่ 14 และ 15 กันยายน 2539 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ จึงถือว่าโจทก์ยื่นแบบ แสดงรายการภายใน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวให้ลดเบี้ยปรับลง คงเสียร้อยละ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มของสำนักงานใหญ่และสาขา โดยไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
โจทก์มีสำนักงานสาขาแยกต่างหากจากสำนักงานใหญ่ถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการหลายแห่ง โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการ การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีของสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขารวมกันโดยไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร จึงเป็นการฝ่าฝืนประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสี่ เมื่อโจทก์ได้รับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) เฉพาะของสำนักงานใหญ่ แบบแสดงรายการภาษีที่ยื่นจึงเป็นแบบแสดงรายการภาษีเฉพาะของสำนักงานใหญ่ การที่โจทก์นำภาษีซื้อของสำนักงานสาขามาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสำนักงานใหญ่โดยไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรจึงไม่ชอบ แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า การที่อธิบดีกรมสรรพากรไม่อนุมัติให้โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกันไม่ชอบ แต่โจทก์ก็มิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งไม่อนุมัติดังกล่าว คำสั่งไม่อนุมัติดังกล่าวจะชอบหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นในคดีนี้ แม้ศาลภาษีอากรกลางจะรับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 88(2) แห่งประมวลรัษฎากรประเมินภาษีโจทก์ ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะมีอำนาจ ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา (1) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นในคดีนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5551/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้ภาษีอากรค้างชำระจากทรัพย์สินลูกหนี้ และการใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากรกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคล เงินเพิ่ม และเงินเพิ่มใหม่ที่ลูกหนี้ค้างชำระนั้น ต่างก็เป็นภาษีอากรค้างตามความหมายของ ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคแรกและการที่เจ้าหนี้นำเงินฝากในธนาคารเจ้าหนี้อันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ ไปหักออกจากหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็เป็นการกระทำเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 วรรคสอง นั่นเอง หาใช่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร
การชำระภาษีและเงินเพิ่มต้องมีการเฉลี่ยตามสัดส่วนของจำนวนภาษีและเงินเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.65/2539 เรื่องการชำระภาษี เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับบางส่วน ข้อ 1 (3) นั้น คำสั่งดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป เป็นเพียงคำสั่งภายในของกรมสรรพากรเจ้าหนี้แจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมาชำระหนี้ เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากรบางส่วนมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้งการประเมินภาษีเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่อาจใช้บังคับแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ต้องดำเนินการตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแก้ไขแล้วถือเป็นสิทธิทำได้ แม้การยื่นครั้งแรกจะผิดพลาด
แม้โจทก์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้อง โดยโจทก์ใช้สิทธิเครดิตภาษีสำหรับสินค้าคงเหลือในเดือนภาษีมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535เกินไปเดือนละ 20,305.11 บาท แต่โจทก์ไม่มีจำนวนภาษีที่ต้องชำระ อีกทั้งผลต่างจำนวนเงิน 20,305.11 บาท ของภาษีการค้าของสินค้าคงเหลือที่โจทก์นำมาเครดิตนั้น นอกจากโจทก์ไม่ได้รับเงินภาษีจำนวนดังกล่าวคืนไปจากจำเลยแล้วโจทก์ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรืออ้างว่ามีสิทธิได้รับประโยชน์จากเครดิตภาษีจำนวนดังกล่าวด้วย และภายหลังโจทก์ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจำเลยว่ามีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการขอเครดิตภาษีสำหรับสินค้าคงเหลือของโจทก์ โจทก์ก็ได้ยื่นแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้องสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ของจำเลย จึงถือได้ว่าแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับเดิมได้ถูกยกเลิกไปโดยให้ใช้แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีการแก้ไขจำนวนตัวเลขที่ถูกต้องแล้ว
ตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ยื่นแก้ไขเพิ่มเติมเมื่ออ่านรวมกันแล้วก็พอเข้าใจได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินการยื่นแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ให้ถูกต้องแล้ว โจทก์จึงหาจำต้องระบุให้ชัดเจนว่าผิดพลาดอย่างไรและต้องแก้ไขเพิ่มเติมตรงไหน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากรายการที่ล่าช้าและการใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร
โจทก์ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 69 แห่งป.รัษฎากร และการออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 23แห่ง ป.รัษฎากรชอบแล้ว เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา 24 หรือมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร แล้วแต่กรณี โดยถือแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.5/2527 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน2527 ข้อ 3 แม้คำสั่งดังกล่าวจะมิใช่กฎหมาย แต่ก็เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3662/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเสื่อมราคาต้องได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากร หากไม่ได้รับอนุมัติ การประเมินภาษีชอบแล้ว
เดิมโจทก์ใช้วิธีคิดค่าเสื่อมราคาในอัตราลดลงจากยอดคงเหลือ ต่อมาโจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราค่าเสื่อมราคาจากเดิมโดยหักค่าเสื่อมราคาตามสภาพความเป็นจริง ถือได้ว่าโจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราค่าเสื่อมราคาแล้ว เมื่อไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์จึงเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเสื่อมราคาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8447/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิกรมสรรพากรขอเฉลี่ยหนี้ภาษีอากรค้างในคดีบังคับคดี แม้ไม่ใช่หนี้ตามคำพิพากษา และระยะเวลาการยื่นคำขอ
กรมสรรพากรมีสิทธินำหนี้ภาษีอากรค้างมายื่นขอเฉลี่ยในคดีที่มีการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 290 วรรคสามได้ ถึงแม้มิใช่หนี้อันเกิดจากคำพิพากษาก็ตาม ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2534 ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเฉลี่ยภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2534 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสี่มิใช่ต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาด
of 4