คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรรมการผู้จัดการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9021/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การกระทำอนาจารของกรรมการผู้จัดการไม่ถือเป็นการเลิกจ้างหากเป็นการกระทำส่วนตัว
จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ ไม่เป็นธรรมอ้างว่าถูก ช. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์กระทำอนาจารจนจำเลยไม่อาจทนอยู่ปฏิบัติงานตามหน้าที่โดยปกติสุขได้ ถือได้ว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลย โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ที่จำเลยอ้างว่า ช. กระทำอนาจารเป็นความเท็จ โจทก์ไม่เคยกระทำการอันไม่เป็นธรรมหรือกระทำตามที่จำเลยกล่าวอ้าง จำเลยออกจากงานโดยไม่บอกกล่าวให้โจทก์ทราบ คดีจึงมีประเด็นว่า ช. กระทำอนาจารจำเลยจริงหรือไม่ และการกระทำของ ช. มีผลทำให้ถือได้ว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าแม้คดีจะฟังได้ว่า ช. กระทำอนาจารจำเลยจริงก็เป็นเพียงการกระทำความผิดในทางอาญาและเป็นการกระทำโดยส่วนตัวของ ช. ไม่ใช่การกระทำในหน้าที่การงานแทนบริษัทโจทก์ ไม่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน เป็นการวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวแล้ว
การเลิกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด ฯลฯ เมื่อ ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า การกระทำอนาจารของ ช. เป็นเรื่องความประพฤติส่วนตัว ไม่ใช่การกระทำในหน้าที่การงานในฐานะเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ ทั้งมิได้เป็นการกระทำเพื่อไม่ให้จำเลยทนทำงานได้อีกต่อไป จึงไม่เป็นการเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9021/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยปริยายจากเหตุอนาจาร นายจ้างต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของกรรมการผู้จัดการหรือไม่
จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม อ้างว่าถูก ช. กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์กระทำอนาจารจนจำเลยไม่อาจทนอยู่ปฏิบัติงานได้ ถือได้ว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลย โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่เคยกระทำการอันไม่เป็นธรรม จำเลยออกจากงานโดยไม่บอกกล่าวให้โจทก์ทราบ คดีจึงมีประเด็นว่า ช. กระทำอนาจารจำเลยจริงหรือไม่ และการกระทำของ ช. ถือได้ว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าแม้จะฟังได้ว่า ช. กระทำอนาจารจำเลยจริงก็เป็นเพียงการกระทำความผิดในทางอาญาและเป็นการกระทำโดยส่วนตัวของ ช. ไม่ใช่กระทำในหน้าที่การงานแทนโจทก์ไม่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวไม่นอกเหนือไปจากฟ้องแย้งและคำให้การแก้ฟ้องแย้ง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสองบัญญัติว่า การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด ดังนั้น เมื่อการกระทำอนาจารของ ช. ที่กระทำต่อโจทก์เป็นเรื่องความประพฤติส่วนตัว ไม่ใช่การกระทำในหน้าที่การงานในฐานะเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ ทั้งมิได้เป็นการกระทำเพื่อไม่ให้จำเลยทนทำงานได้อีกต่อไป จึงไม่เป็นการเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีแรงงาน: ผู้ถือหุ้นและกรรมการผู้จัดการมีส่วนได้เสียหรือไม่
++ เรื่อง คดีแรงงาน ++
++ ผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 1 หน้า 22 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการผู้จัดการต้องรับผิดชอบการล้มละลายของบริษัท หากบริหารงานผิดพลาดและก่อหนี้โดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4ถึงที่ 6 ย่อมทราบดีถึงศักยภาพในการประกอบธุรกิจของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 การที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6ค้าขายขาดทุนจนไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ยืมแก่เจ้าหนี้ได้ ย่อมเป็นเพราะความประมาทหรือความผิดพลาดของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 ก่อหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน โดยไม่อาจแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเหตุผลที่ควรเชื่อได้ว่าจะสามารถชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 จึงเป็นกรณีอันควรตำหนิจำเลยที่ 2 นอกจากนั้นจำเลยที่ 2 ยังมิได้แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจตกต่ำมีผลกระทบอย่างไรแก่การประกอบธุรกิจ ซึ่งหากจำเลยที่ 2 บริหารงานไม่ผิดพลาด การค้าขายก็คงไม่ขาดทุนถึงเพียงนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 ขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงิน: เจตนารมณ์ของคู่สัญญาและขอบเขตความรับผิดของกรรมการผู้จัดการ
ข้อความของสัญญาระบุไว้ชัดแจ้งว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผู้กู้ ส่วนโจทก์เป็นฝ่ายผู้ให้กู้อีกทั้งมีข้อความระบุย้ำอีกว่า สัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำในนามของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นเจตนารมณ์อันชัดแจ้งของคู่สัญญาว่ามุ่งเน้นให้จำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ลงชื่อในสัญญาก็เป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 กระทำในฐานะส่วนตัวไม่ แม้มิได้ประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 ไว้ จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินการที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกู้ยืมเงินโจทก์ด้วยถือเป็นเรื่องนอกเหนือจากข้อความในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการผู้จัดการออกหนังสือตักเตือน และการเลิกจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย
ศ. เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลย มีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์และเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของโจทก์เมื่อโจทก์ประพฤติตนบกพร่องโดยมาทำงานสายเป็นประจำ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ศ. ย่อมมีอำนาจที่จะว่ากล่าวตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือได้ และในหนังสือ ตักเตือนไม่จำต้องให้กรรมการจำเลยสองคนลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของจำเลยเพราะมิใช่เป็นการ กระทำนิติกรรมแทนจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตักเตือนของกรรมการผู้จัดการ: หนังสือตักเตือนโดยไม่ต้องลงลายมือชื่อกรรมการอื่น
ศ.เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ ทั้งเป็นผู้บังคับบัญชา โดยตรงของโจทก์ เมื่อโจทก์ประพฤติตนบกพร่อง โดยมาทำงานสายเป็นประจำอันอาจก่อให้เกิด ความเสียหายแก่จำเลย ศ.ย่อมมีอำนาจที่จะว่ากล่าวตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือได้ และในหนังสือตักเตือนก็ไม่จำต้องให้กรรมการจำเลยสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยเพราะมิใช่เป็นการกระทำนิติกรรมแทนจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญา และความรับผิดของกรรมการผู้จัดการ
โจทก์ฟ้องระบุค่าเสียหายไว้ตามรายละเอียดปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยให้การว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวไม่ใช่หลักฐานแห่งการเป็นหนี้แต่อย่างใด แสดงว่าจำเลยเข้าใจฟ้องโจทก์เป็นอย่างดี ส่วนค่าเสียหายดังกล่าวกระทำขึ้นเมื่อใด วันเดือนปีใด จำนวนกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อฟ้องโจทก์บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับครบถ้วนแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยไม่มีข้อความตอนใดที่ให้สิทธิแก่จำเลยในอันที่จะบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญา การที่จำเลยเป็นผู้บอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่ชอบ
สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองมีข้อความชัดแจ้งว่าสัญญานี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 1 ผู้ให้สัญญา ฝ่ายหนึ่ง และโจทก์ที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัด โจทก์ที่ 1 อีกฝ่ายหนึ่ง เช่นนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมการผู้จัดการซื้อขายหลักทรัพย์ทุจริต สร้างความเสียหายแก่บริษัท
เมื่อตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 75 สัตต บัญญัติว่า กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท กระทำการหรือไม่กระทำการเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นการเสียหายแก่บริษัทนั้น ต้องระวางโทษ... ดังนี้เมื่อได้ความว่าจำเลยมีอำนาจและหน้าที่ดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ในกิจการของบริษัทผู้เสียหายจำเลยได้ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ไม่เป็นไปตามลำดับตามคำสั่งซื้อขายก่อนหลังทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหาย และจำเลยกระทำการหรือไม่กระทำการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการเสียหายแก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
ผู้เสียหายสั่งซื้อขายหุ้นในลำดับก่อน น.ทั้งสิ้น น.จึงไม่มีสิทธิซื้อขายหุ้นได้ก่อนผู้เสียหาย ส่วน พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2517 มาตรา 21 ตรี เป็นเพียงบทสันนิษฐานทั่วไปในกรณีที่ไม่ปรากฏชัดว่าบริษัทหลักทรัพย์ครอบครองหุ้นเพื่อตนเองหรือเพื่อลูกค้า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้เสียหายสั่งซื้อขายหุ้นในลำดับก่อน น.ทั้งสิ้น จึงไม่ต้องด้วยบทสันนิษฐานามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกระทำการของหุ้นส่วนผู้จัดการและกรรมการผู้จัดการ, การลงลายมือชื่อในเช็ค, และการบังคับค่าปรับทางแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาท จึงเห็นได้ชัดว่า จำเลยที่ 2 กระทำทั้งฐานะส่วนตัวและฐานะผู้มีอำนาจกระทำการของจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทซึ่งเป็นการร่วมกระทำอย่างชัดแจ้งอยู่แล้ว จำเลยย่อมเข้าใจได้
น.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์แต่ผู้เดียวจึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่อหนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์มิได้มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ การกระทำการแทนโจทก์จึงหาต้องประทับตราสำคัญของโจทก์ด้วยไม่ สำหรับข้อบัญญัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1078 วรรคสี่ เป็นรายละเอียดของรายการและวิธีการลงทะเบียนก่อนที่พนักงานทะเบียนจะจดทะเบียนให้ หาได้เกี่ยวกับอำนาจกระทำการของหุ้นส่วนผู้จัดการแต่อย่างใด
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล การบังคับค่าปรับจะกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยที่ 1 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามป.อ.มาตรา 29, 30 นั้นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
of 6