คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรรมการสอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6703/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งพักงานทางวินัยและการโต้แย้งสิทธิ: การตั้งกรรมการสอบสวนไม่กระทบคำสั่งพักงานหากยังไม่มีผลกระทบต่อสถานภาพ
คำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยของจำเลยที่ 1จะชอบด้วยระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังมิได้ใช้อำนาจในฐานะนายจ้างมีคำสั่งอันเนื่องมาจากการสอบสวนตามคำสั่งดังกล่าวให้มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ หาถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ไม่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย
โจทก์ถูกกล่าวหาว่าทุจริตเบิกค่าเช่าบ้านซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาคจึงมีอำนาจสั่งให้พักงานโจทก์ไว้ก่อนได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 1 จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ไม่มีผลกระทบต่อคำสั่งให้พักงานคำสั่งที่ให้พักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลการสอบสวนทางวินัยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ และประเด็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญในการคุ้มครองสิทธิพนักงาน
คำร้องของโจทก์ที่อ้างว่า โจทก์มีสิทธิได้รับการสอบสวนความผิดทางวินัยจากกรรมการสอบสวนซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในองค์กรของจำเลยตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนทางวินัยของจำเลย การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น กรณีตามคำร้องของโจทก์มิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับจากวันที่ทราบการละเมิดและตัวผู้กระทำผิด แม้จะมีการตั้งกรรมการสอบสวนเพิ่มเติม
โจทก์ได้รู้ถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยทั้งเก้าแล้ว ตามรายงานของคณะกรรมการสอบสวนที่โจทก์ตั้งขึ้นชุดแรก ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2523 แม้คณะกรรมการดังกล่าวจะสรุปความเห็นว่ามีผู้ต้องรับผิดชอบเพียงสองคนคือจำเลยที่ 6 และที่ 8 ก็ตาม การที่โจทก์ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นสอบสวนในเรื่องเดิม คงเป็นเพียงวิธีการของโจทก์ เพื่อจะรู้ว่ายังมีใครอีกบ้างที่จะต้องรับผิดเท่านั้น หาใช่โจทก์ยังไม่รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ มิฉะนั้นอายุความหนึ่งปีที่กฎหมายกำหนดไว้ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่มูลละเมิดก็จะขยายออกไปได้เรื่อย ๆ แล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์ ดังนั้นเมื่อนับจากวันที่ 30 เมษายน 2523 จนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ พ้นกำหนดเวลา 1 ปีแล้วฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775-3776/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจไล่ออกของผู้ว่าการเมื่อลูกจ้างทุจริตหน้าที่ และการไม่แต่งตั้งกรรมการสอบสวน
โจทก์ให้การรับสารภาพต่อผู้บังคับบัญชาว่าทุจริตต่อหน้าที่เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงอันเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ตามข้อบังคับของจำเลยผู้ว่าการมีอำนาจพิจารณาสั่งลงโทษไล่ออกหรือให้ออกได้โดยไม่ต้องตั้งกรรมการสอบสวนอำนาจนี้เป็นอำนาจที่สมบูรณ์ของผู้ว่าการจำเลย แม้จำเลยจะตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนโดยไม่มีผู้แทนของสหภาพแรงงานเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วยตามข้อตกลงระหว่างสหภาพแรงงานกับจำเลย ก็ไม่มีผลลบล้างอำนาจที่สมบูรณ์สิทธิขาดนั้นเสียได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775-3776/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ว่าฯ ในการลงโทษทางวินัยร้ายแรง: การเลิกจ้างลูกจ้างที่ทุจริตหน้าที่โดยไม่ต้องตั้งกรรมการสอบสวน
โจทก์ให้การรับสารภาพต่อผู้บังคับบัญชาว่าทุจริตต่อหน้าที่เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงอันเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามข้อบังคับของจำเลยผู้ว่าการมีอำนาจพิจารณาสั่งลงโทษไล่ออกหรือให้ออกได้โดยไม่ต้องตั้งกรรมการสอบสวนอำนาจนี้เป็นอำนาจที่สมบูรณ์ของผู้ว่าการจำเลย แม้จำเลยจะตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนโดยไม่มีผู้แทนของสหภาพแรงงานเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วยตามข้อตกลงระหว่างสหภาพแรงงานกับจำเลยก็ไม่มีผลลบล้างอำนาจที่สมบูรณ์สิทธิขาดนั้นเสียได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13103/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดสัญญาจ้างแรงงาน: การปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าของกรรมการสอบสวน
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2532 โจทก์มีคำสั่งที่ 388/2532 แต่งตั้งจำเลยเป็นประธานกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมกรณีผลิตภัณฑ์นมของโจทก์สูญหาย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของโจทก์ที่กำหนดให้ทำการสอบสวนให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการสอบสวนรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ ถ้ายังสอบสวนไม่เสร็จต้องขออนุมัติขยายเวลาสอบสวนจากผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอีกคราวละไม่เกิน 30 วัน แต่ต้องมิให้คดีขาดอายุความ และให้คณะกรรมการสอบสวนเสนอผลการสอบสวนต่อผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพร้อมเสนอข้อเท็จจริงและความเห็นซึ่งต้องระบุด้วยว่าผู้ใดเป็นผู้รับผิดโดยตรงและผู้ใดร่วมรับผิด จำเลยสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเสนอผู้อำนวยการของโจทก์เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2537 อันเป็นเวลาหลังจากที่ได้รับแต่งตั้งถึง 4 ปีเศษ โดยไม่ปรากฏว่ามีการขอขยายระยะเวลาการสอบสวน และจำเลยไม่ได้ระบุว่าผู้ใดเป็นผู้ที่ต้องรับผิดโดยตรง ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามข้อบังคับของโจทก์ การที่ผู้อำนวยการของโจทก์ได้รับสำนวนสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากจำเลยย่อมเห็นเป็นประจักษ์ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า เนิ่นนานเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับซึ่งเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการสอบสวน จึงต้องถือว่าการทำผิดหน้าที่ของจำเลยเกิดขึ้นอย่างช้าในวันที่ 4 พฤษภาคม 2537 อันเป็นเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ข้ออ้างของโจทก์ที่ให้จำเลยรับผิดมีมูลฐานมาจากการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยในฐานะที่เป็นประธานกรรมการสอบสวน อันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 พ้นระยะเวลา 10 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ