พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลายต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ การถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนหลังประนีประนอมยอมความ
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนตามมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้โดยผู้คัดค้านที่ 3 ได้ชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลย การที่ผู้คัดค้านที่ 3 ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอผู้ร้องขอชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 1,400,000 บาท แทนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 145(5) ดังนี้เมื่อปรากฏว่าที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ ผู้คัดค้านที่ 3 แล้ว จึงเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องประนีประนอมยอมความกับผู้คัดค้านที่ 3และโดยผลแห่งการประนีประนอมยอมความ ย่อมทำให้ผู้ร้องหมดสิทธิบังคับให้เพิกถอนการโอนอีกต่อไป กรณีไม่จำต้องสั่งคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนของผู้ร้อง และการที่จะพิจารณาฎีกาของผู้คัดค้านที่ 3 ที่คัดค้านการเพิกถอนการโอนระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับที่ 3 ย่อมไม่เป็นประโยชน์ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีผู้คัดค้านที่ 3 ออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้: บทบาทของกรรมการเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 37 บัญญัติให้ที่ประชุมเจ้าหนี้อาจลงมติตั้งกรรมการเจ้าหนี้ไว้เพื่อแทนเจ้าหนี้ทั้งหลายในกิจการเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้กรรมการเจ้าหนี้ย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเจ้าหนี้ทั้งหลายในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ เมื่อที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ประการใดแล้วมติดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายนั้นเอง ดังนั้น คำร้องของผู้ร้องที่ขอให้แก้ไขมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ซึ่งตามมาตรา 36ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นได้ โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติ ผู้ร้องหามีสิทธิเช่นว่านั้นไม่ และหากถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ผู้ร้องก็มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรจากการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดให้มีการประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ร้องอาจใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ได้ ดังนี้ จึงไม่มีเหตุแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการเจ้าหนี้และสิทธิในการคัดค้านมติ – เจ้าหนี้ต้องใช้อำนาจตามกม.ผ่านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา37บัญญัติให้ที่ประชุมเจ้าหนี้อาจลงมติตั้งกรรมการเจ้าหนี้ไว้เพื่อแทนเจ้าหนี้ทั้งหลายในกิจการเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้กรรมการเจ้าหนี้ย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเจ้าหนี้ทั้งหลายในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ประการใดแล้วมติดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายนั้นเองดังนั้นคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้แก้ไขมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายซึ่งตามมาตรา36ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นได้โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายใน7วันนับแต่วันที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติผู้ร้องหามีสิทธิเช่นว่านั้นไม่และหากถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา146ผู้ร้องก็มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรจากการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดให้มีการประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ร้องอาจใช้สิทธิตามมาตรา146ได้ดังนี้จึงไม่มีเหตุแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3258/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้
ในคดีที่ผู้ร้องร้องคัดค้านต่อศาลปฏิเสธหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่ในฐานเป็นคู่ความมาแต่แรก หาใช่ผู้เริ่มต้นฟ้องคดีตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 145(4) กำหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ก่อนไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจฟ้องฎีกาโดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย และการไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้
การขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่เพิกถอนการโอนทรัพย์สินดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อไปหรือไม่ ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะเท่านั้น ทั้งกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำการใดได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้แล้ว มีแต่เฉพาะการกระทำตามมาตรา 145(1) ถึง (5)เท่านั้น แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการสละสิทธิตามมาตรา 145(3) จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้เสียก่อน การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำวินิจฉัยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าได้ใช้ดุลพินิจสั่งโดยไม่ชอบ จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 146 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทรัพย์สินล้มละลายนอกการขายทอดตลาด ต้องแจ้งกรรมการเจ้าหนี้เป็นหัวข้อประชุมชัดเจน เพื่อความชอบธรรมทางกฎหมาย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดนั้น เป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด โดยต้องแจ้งให้กรรมการเจ้าหนี้ทราบล่วงหน้าโดยระบุเป็นหัวข้อประชุมให้ชัดแจ้ง ฉะนั้น เมื่อแจ้งความนัดประชุมของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ครบถ้วนและกรรมการเจ้าหนี้บางคนไม่ได้ไปประชุมเพราะป่วยหรือไม่ได้รับหมายนัดประชุมแล้ว มติของที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ที่ให้ขายทรัพย์โดยวิธีอื่นนั้น จึงหาชอบด้วยกฎหมายไม่