พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิรวมและการสันนิษฐานเรื่องการครอบครองที่ดิน ศาลวินิจฉัยตามส่วนได้เสียจริง
ป.พ.พ.ม.1357 เป็นเรื่องของความสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้นคู่กรณีย่อมมีสิทธินำสืบหักล้างความสันนิษฐานทั้งนี้เสียได้ความว่าความจริงเป็นอย่างไร
โจทย์ฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยตามส่วนที่มีชื่อในโฉนด เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินมีส่วนไม่เท่ากันมาแต่เดิมและต่างครอบครองเป็นส่วนสัดแต่แรกก่อนออกโฉนดสืบตลอดมาดังนี้ ก็ต้องแบ่งที่ดินตามส่วนที่ผู้ใดเป็นเจ้าของอันแท้จริง เพราะเป็นเรื่องกรรมสิทธิรวมหาใช่เรื่องครอบครองโดยปรปักษ์ไม่
โจทย์ฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยตามส่วนที่มีชื่อในโฉนด เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินมีส่วนไม่เท่ากันมาแต่เดิมและต่างครอบครองเป็นส่วนสัดแต่แรกก่อนออกโฉนดสืบตลอดมาดังนี้ ก็ต้องแบ่งที่ดินตามส่วนที่ผู้ใดเป็นเจ้าของอันแท้จริง เพราะเป็นเรื่องกรรมสิทธิรวมหาใช่เรื่องครอบครองโดยปรปักษ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิรวมและการแบ่งที่ดินตามส่วนเดิม แม้มีชื่อในโฉนด แต่ต้องพิจารณาการครอบครองจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 เป็นเรื่องของความสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้น คู่กรณีย่อมมีสิทธินำสืบหักล้างความสันนิษฐานทั้งนี้เสียได้ว่าความจริงเป็นอย่างไร
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยตามส่วนที่มีชื่อในโฉนดเมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินมีส่วนไม่เท่ากันมาแต่เดิมและต่างครอบครอง เป็นส่วนสัดแต่แรกก่อนออกโฉนดสืบตลอดมาดังนี้ ก็ต้องแบ่งที่ดินตามส่วนที่ผู้ใดเป็นเจ้าของอันแท้จริง เพราะเป็นเรื่องกรรมสิทธิรวม หาใช่เรื่องครอบครองโดยปรปักษ์ไม่
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยตามส่วนที่มีชื่อในโฉนดเมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินมีส่วนไม่เท่ากันมาแต่เดิมและต่างครอบครอง เป็นส่วนสัดแต่แรกก่อนออกโฉนดสืบตลอดมาดังนี้ ก็ต้องแบ่งที่ดินตามส่วนที่ผู้ใดเป็นเจ้าของอันแท้จริง เพราะเป็นเรื่องกรรมสิทธิรวม หาใช่เรื่องครอบครองโดยปรปักษ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิรวมในอสังหาริมทรัพย์ ห้างหุ้นส่วนสามัญ การซื้อขายสิทธิ และการร้องสอด
การรวมทุนกันประกอบกิจการมี และสวนยาง อีกนัยหนึ่ง ก็คือ การร่วมกันมีที่ดินสวนยางหรือทำเป็นสวนยาง เพื่อแสวงหาดอกผลธรรมดาจากสวนยางนั้น แม้จะเรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ (โดยมิได้จดทะเบียน) ก็ตาม ความสัมพันธ์เช่นนี้ จะต้องบังคับตามกฎหมายอันว่าด้วยกรรมสิทธิรวมในอสังหาริมททรัพย์นั้น จะบังคับตามกฎหมายเรื่องหุ้นส่วนแต่อย่างเดียวไม่ได้ เพราะทรัพย์สินอันเป็นประธานที่ผู้เป็นหุ้นส่วนมีอยู่ร่วมกัน คือที่ดินสวนยาง
และส่วนของหุ้นส่วนในเรื่องนี้ก็คือส่วนหนึ่งในสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวมในสวนยาง อันเป็นอสังหาริมทรัพย์ จะมีตราจองหรือไม่ ก็ย่อมเป็นสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ เช่นเดียวกัน แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะมีสิทธิทำนิติกรรมจำหน่ายส่วนของตนได้ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1361 ก็ตาม แต่ก็ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจะสมบูรณ์
ถ้าผู้ได้รับซื้อสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนไว้โดยเพียงแต่ทำสัญญากันเป็นหนังสือเท่านั้น แล้วภายหลังผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นได้ขายสิทธินั้นไป แก่ผู้รับซื้อคนใหม่โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกันโดยสุจริตแล้ว ดังนี้ ผู้รับซื้อคนแรกก็ย่อมจะฟ้องบังคับให้ผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งขายสิทธินั้นแก่ตน โอนสิทธิที่ขายให้แก่ตนไม่ได้
เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้เข้าสู้คดีในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยแล้ว ภายหลังตนเองได้ร้องสอดเข้ามาในคดีในฐานนะตัวเอง ดังนี้ ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อให้มีผลยกฟ้องแล้ว ศาลก็พอบังคับได้ แต่ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อที่จะให้ศาลบังคับตัวเองในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยนั้น ศาลจะบังคับให้ หาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ประโยชน์ของตัวแทนขัดกับประโยชน์ของตัวการ อันเป็นกรณีที่ตัวแทนไม่อาจทำแทนได้
และส่วนของหุ้นส่วนในเรื่องนี้ก็คือส่วนหนึ่งในสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวมในสวนยาง อันเป็นอสังหาริมทรัพย์ จะมีตราจองหรือไม่ ก็ย่อมเป็นสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ เช่นเดียวกัน แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะมีสิทธิทำนิติกรรมจำหน่ายส่วนของตนได้ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1361 ก็ตาม แต่ก็ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจะสมบูรณ์
ถ้าผู้ได้รับซื้อสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนไว้โดยเพียงแต่ทำสัญญากันเป็นหนังสือเท่านั้น แล้วภายหลังผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นได้ขายสิทธินั้นไป แก่ผู้รับซื้อคนใหม่โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกันโดยสุจริตแล้ว ดังนี้ ผู้รับซื้อคนแรกก็ย่อมจะฟ้องบังคับให้ผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งขายสิทธินั้นแก่ตน โอนสิทธิที่ขายให้แก่ตนไม่ได้
เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้เข้าสู้คดีในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยแล้ว ภายหลังตนเองได้ร้องสอดเข้ามาในคดีในฐานนะตัวเอง ดังนี้ ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อให้มีผลยกฟ้องแล้ว ศาลก็พอบังคับได้ แต่ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อที่จะให้ศาลบังคับตัวเองในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยนั้น ศาลจะบังคับให้ หาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ประโยชน์ของตัวแทนขัดกับประโยชน์ของตัวการ อันเป็นกรณีที่ตัวแทนไม่อาจทำแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิรวม สันนิษฐานเท่ากัน แต่พิสูจน์ส่วนได้เสียต่างกันได้ การรับโอนรู้ส่วนได้เสียไม่สุจริต
ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1357 เป็นแต่เพียงความสันนิษฐานของกฎหมายเท่านั้นว่า ผู้เป็นเจ้าของร่วมมีส่วนเท่ากันแต่ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันย่อมนำสืบได้ว่า มีส่วนมากน้อยกว่ากันได้ ฉะนั้นผู้มีชื่อในโฉนดร่วมกันย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้แสดงว่าใครมีส่วนเป็นเจ้าของมากน้อยเพียงใดได้
ที่ดินมีชื่อผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิในโฉนดร่วมกัน 2 คน เจ้าของร่วมคนหนึ่งขายส่วนของคนให้แก่ผู้ซื้อ แล้วถูกผู้ซื้อฟ้องศาลจนศาลพิพากษาให้โอนแก่ผู้ซื้อ ในชั้นบังคับคดีผู้เป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลว่าเจ้าของร่วมผู้ขายมีกรรมสิทธิในที่ดินนั้น เพียง 3 ไร่ ไม่ใช่ครึ่งหนึ่ง ศาลได้รับข้อค้านนั้นไว้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงได้รับโอนที่ดินนั้นกึ่งหนึ่ง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ารับโอนไว้โดยรู้อยู่แล้วว่า ผู้ตายมีกรรมสิทธิไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ดังที่มีชื่อในโฉนดเพราะมีข้อพิพาทกันต่อไปแล้วว่า ผู้ขายมีส่วนเป็นเจ้าของเท่าไรแน่ ฉะนั้นจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต
ที่ดินมีชื่อผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิในโฉนดร่วมกัน 2 คน เจ้าของร่วมคนหนึ่งขายส่วนของคนให้แก่ผู้ซื้อ แล้วถูกผู้ซื้อฟ้องศาลจนศาลพิพากษาให้โอนแก่ผู้ซื้อ ในชั้นบังคับคดีผู้เป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลว่าเจ้าของร่วมผู้ขายมีกรรมสิทธิในที่ดินนั้น เพียง 3 ไร่ ไม่ใช่ครึ่งหนึ่ง ศาลได้รับข้อค้านนั้นไว้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงได้รับโอนที่ดินนั้นกึ่งหนึ่ง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ารับโอนไว้โดยรู้อยู่แล้วว่า ผู้ตายมีกรรมสิทธิไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ดังที่มีชื่อในโฉนดเพราะมีข้อพิพาทกันต่อไปแล้วว่า ผู้ขายมีส่วนเป็นเจ้าของเท่าไรแน่ ฉะนั้นจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิรวมในที่ดิน: สันนิษฐานว่ามีส่วนเท่ากัน ผู้มีส่วนมากกว่าต้องพิสูจน์
หน้าโฉนดที่ดินมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิหลายคน เบื้องต้นต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าทุกคนมีส่วนกรรมสิทธิเท่า ๆ กัน ผู้ใดอ้างว่าตนมีส่วนมากกว่าผู้อื่นมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ให้สมกับข้ออ้างของตน