พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,155 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8613/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการโต้แย้งคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ของบุคคลภายนอกคดีที่อ้างสิทธิเหนือทรัพย์สิน
แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า ก่อนไต่สวนคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดินของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นได้สั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องแก่ผู้คัดค้านเพื่อให้มีโอกาสคัดค้านแล้วก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านมิได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ ก็ต้องถือว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกคดีมีสิทธิพิสูจน์ในชั้นนี้ได้ว่าผู้คัดค้านมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ร้อง และคำสั่งศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) เพราะผู้คัดค้านเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ และชอบที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวนคำร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านเพื่อวินิจฉัยถึงข้อโต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านให้ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7478/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องไม่ขัดแย้งกัน แม้มีการอ้างกรรมสิทธิ์ทั้งจากสัญญาขายฝากและครอบครองปรปักษ์
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายได้ข้อเท็จจริงแจ้งชัดว่า โจทก์ทั้งสองตกลงจดทะเบียนขายฝากที่ดินทั้งสองแปลงตามคำฟ้องให้ไว้ต่อจำเลยที่ 1 โดยสมัครใจ ส่วนที่บรรยายว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีเจตนาให้เกิดผลบังคับตามสัญญานั้น ก็เป็นเพียงข้ออ้างที่โจทก์ทั้งสองยกขึ้นมากล่าวในคำฟ้องเท่านั้น โดยโจทก์ทั้งสองหาได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้ถึงเจตนาที่อ้างอันซ่อนอยู่ในใจของโจทก์ทั้งสอง อันเป็นเหตุให้สัญญาขายฝากที่ดินทั้งสองแปลงตกเป็นโมฆะตามที่บัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 154 ไม่ แต่คงรับฟังตามการบรรยายฟ้องได้ว่า สัญญาขายฝากที่ดินทั้งสองแปลงเป็นนิติกรรมสองฝ่ายได้กระทำถูกต้องตามกฎหมาย โดยการแสดงเจตนาด้วยความสมัครใจของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 การบรรยายฟ้องเช่นนี้ย่อมบ่งชี้แล้วว่าโจทก์ทั้งสองยอมรับว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงได้โอนไปยังจำเลยที่ 1 โดยผลแห่งนิติกรรมขายฝากที่มีต่อกัน ส่วนการบรรยายฟ้องในตอนหลังที่โจทก์ทั้งสองยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินทั้งสองแปลงคืนให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองก็ได้ครอบครองที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวต่อมาจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ก็เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในภายหลังต่อเนื่องกันมาเพื่อปรับเข้าข้อกฎหมายในเรื่องครอบครองปรปักษ์เพื่ออ้างเหตุการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงกลับคืนมาจากจำเลยที่ 1 การบรรยายฟ้องทั้งหมดของโจทก์ทั้งสองจึงมิใช่มีสองนัยอันขัดแย้งกันอยู่ในตัวดังที่จำเลยทั้งสองยกขึ้นอ้างในฎีกา แต่เป็นการบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6462/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์เริ่มนับจากวันที่ออกโฉนด และต้องครอบครองเกิน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์
ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เนื่องจากการครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินเป็นต้นไป ทั้งผู้ร้องจะนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนจะมีการออกโฉนดที่ดินรวมเข้าด้วยก็มิได้ เพราะการที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น ใช้ได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข โอนกรรมสิทธิ์เมื่อชำระราคาครบถ้วน ผู้ขายยังไม่ต้องมีกรรมสิทธิ์ขณะทำสัญญา
สัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทระบุว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะตกแก่ผู้ซื้อต่อเมื่อชำระราคาเป็นงวด ๆ ตามที่กำหนดไว้ครบถ้วนแล้วจึงถือว่าเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ซึ่งกรรมสิทธิ์ยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อ จนกว่าผู้ซื้อจะชำระราคาครบถ้วน ทรัพย์สินที่ซื้อขายโดยมีเงื่อนไขจะโอนกรรมสิทธิ์ในภายหน้ากันนั้น ผู้ขายอาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกขายล่วงหน้าได้ และเป็นหน้าที่ของผู้ขายที่ต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อปฏิบัติการเป็นไปตามเงื่อนไขแล้ว ผู้ขายจึงไม่จำต้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอยู่ในขณะที่ทำสัญญาซื้อขาย ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยให้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินกันภายหน้า แม้ขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์หรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่สมบูรณ์ สัญญาก็มีผลใช้บังคับได้ การที่จำเลยผิดสัญญาไม่ยอมชำระราคาให้แก่โจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนจากสัญญาระหว่างผู้ร้องกับสมาคมฯ และจำเลย ย่อมมีผลผูกพันบุคคลทั่วไป
ข้อตกลงที่โจทก์จำเลยกำหนดไว้ในบันทึกข้อตกลงและสัญญารับดำเนินการก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ต่อกันระหว่างคู่สัญญากำหนดให้ทรัพย์สินต่าง ๆ ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลง ตกเป็นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้ร้อง โดยไม่ปรากฏว่าทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ทั้ง 22 รายการ ที่โจทก์นำยึดถูกกำหนดโดยกฎหมายว่าจะต้องปฏิบัติตามแบบของนิติกรรมเสียก่อนจึงจะมีผลให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ร้อง ดังนั้น เมื่อผู้ร้องเข้าทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ และจำเลยโดยผู้ร้องแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์ยอมรับทรัพย์สินตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงและสัญญารับดำเนินการซึ่งมีทรัพย์สินทั้ง 22 รายการที่โจทก์นำยึดรวมอยู่ด้วย ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว และทรงไว้ซึ่งอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ที่จะใช้ยันได้ต่อบุคคลทั่วไป
จำเลยเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ร้อง และไม่มีข้อบังคับของผู้ร้องหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายห้ามมิให้ตัวแทนของผู้ร้องเข้าเป็นกรรมการจำเลย จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่อยู่ในอาคารศศปาฐศาลาย่อมมีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ที่จะยินยอมให้โอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้ร้อง อันเป็นกรณีผูกพันตามบันทึกข้อตกลงและสัญญารับดำเนินการซึ่งจัดทำกันไว้ การที่ผู้ร้องใช้สิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินทั้ง 22 รายการ จากการยึดจึงไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
จำเลยเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ร้อง และไม่มีข้อบังคับของผู้ร้องหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายห้ามมิให้ตัวแทนของผู้ร้องเข้าเป็นกรรมการจำเลย จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่อยู่ในอาคารศศปาฐศาลาย่อมมีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ที่จะยินยอมให้โอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้ร้อง อันเป็นกรณีผูกพันตามบันทึกข้อตกลงและสัญญารับดำเนินการซึ่งจัดทำกันไว้ การที่ผู้ร้องใช้สิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินทั้ง 22 รายการ จากการยึดจึงไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม โดยอ้างเหตุผลความถูกต้องของประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
คดีสืบเนื่องจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยบ้านพิพาทอ้างว่าเป็นของผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือของผู้ร้อง จึงตรงตามคำร้องขอ มิได้เป็นการคลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย และเมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าบ้านพิพาทมิใช่ของผู้ร้อง ก็มีผลเท่ากับผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยบ้านพิพาทโดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่อีก
ฎีกาของผู้ร้องที่ว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ก็ไม่มีผลทำให้ฎีกาของผู้ร้องกลับกลายเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาของผู้ร้องที่ว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ก็ไม่มีผลทำให้ฎีกาของผู้ร้องกลับกลายเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: ศาลไม่อาจสั่งประมูลขายทรัพย์นอกเหนือจากคำพิพากษา แม้มีปัญหาในการแบ่งกรรมสิทธิ์
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ขับไล่จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากที่ดินและห้องพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าที่ดินและห้องพิพาทเดิมมีโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอยู่กับ ก. มารดาของโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าใครมีส่วนเท่าใด จึงถือว่ามีกรรมสิทธิ์คนละครึ่ง ก. ไม่มีสิทธิจะขายที่ดินทั้งแปลงให้ฝ่ายจำเลยเพราะไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่ที่ดินและห้องพิพาทในส่วนที่เป็นของโจทก์ ฝ่ายจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของโจทก์อันเป็นการครอบครองแทนโจทก์ แม้ต่อมาจะมีปัญหาในชั้นบังคับคดีว่า ไม่ปรากฏว่าที่ดินและห้องพิพาทซึ่งมีอยู่ 2 ห้อง ส่วนใดเป็นของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 และบริวารต้องออกไป ศาลชั้นต้นก็ไม่อาจมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินที่พิพาทออกประมูลขายได้เพราะเป็นการบังคับคดีที่นอกเหนือจากคำพิพากษา ซึ่งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 271 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินที่พิพาทออกประมูลขายระหว่างคู่ความหรือนำออกขายทอดตลาดจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน: เจตนาเป็นเจ้าของและการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หลัง 10 ปี
ผู้ครอบครองที่ดินมีลักษณะเป็นการครอบครองเพื่อตนอย่างเป็นเจ้าของ แม้จะเข้าใจว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่ความเป็นจริงเป็นที่ดินมีโฉนด ก็ถือได้ว่าเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อครอบครองเกินกว่า 10 ปี ที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ป้ายโฆษณาหลังบอกเลิกสัญญา: จำเลยยังคงเป็นเจ้าของและมีหน้าที่เสียภาษีป้าย
ป้ายพิพาทเป็นป้ายที่จำเลยได้รับสิทธิติดตั้งโฆษณาในศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางตามสัญญากับโจทก์ เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย จึงเป็นทรัพย์สินของจำเลยโดยตรง ซึ่งจำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายพิพาทต่อโจทก์ตลอดมา แม้มีข้อตกลงตามสัญญาข้อ 3 ว่า ให้ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง ตลอดจนส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ทันทีที่ก่อสร้างเสร็จก็ตาม แต่ป้ายพิพาทที่จำเลยติดตั้งไว้นั้นไม่มีสภาพเป็นส่วนควบและที่ตามสัญญาข้อ 15 (ข) ระบุว่า ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วให้บรรดาวัสดุก่อสร้างและสิ่งก่อสร้างที่ดำเนินการแล้วตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันที นั้น ตามข้อสัญญาดังกล่าวสิ่งก่อสร้างคือศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง ส่วนวัสดุก่อสร้างคือวัสดุที่ใช้ก่อสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง แต่ป้ายโฆษณาเป็นสิ่งที่จำเลยนำมาติดตั้งเพื่อโฆษณาหาใช่วัสดุก่อสร้างไม่ จำเลยจึงยังคงเป็นเจ้าของป้ายดังกล่าวหาได้ตกเป็นของโจทก์ไม่ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยในฐานะเจ้าของป้ายพิพาทย่อมมีหน้าที่ต้องรื้อถอนป้ายพิพาทออกไป แต่จำเลยละเว้นเสียยังคงติดตั้งป้ายโฆษณาของตนจนปี 2544 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายประจำปี 2544 ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 7 เมื่อโจทก์แจ้งการประเมินภาษีป้ายให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่อุทธรณ์การประเมินต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นอันยุติ จำเลยต้องเสียภาษีป้ายตามที่โจทก์ประเมินพร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 25 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ป้ายโฆษณาหลังบอกเลิกสัญญา: จำเลยยังคงเป็นเจ้าของและมีหน้าที่เสียภาษีป้าย
ป้ายพิพาทเป็นป้ายที่จำเลยได้รับสิทธิติดตั้งโฆษณาในศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางตามสัญญา เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย จึงเป็นทรัพย์สินของจำเลยโดยตรง ซึ่งจำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายพิพาทต่อโจทก์ตลอดมา แม้มีข้อตกลงตามสัญญาข้อ 3 ว่า ให้ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางตลอดจนส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ทันทีที่ก่อสร้างเสร็จ แต่ป้ายพิพาทที่จำเลยติดตั้งไว้นั้นไม่มีสภาพเป็นส่วนควบ และแม้จะมีข้อสัญญาระบุว่า ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วให้บรรดาวัสดุก่อสร้างและสิ่งก่อสร้างที่ดำเนินการแล้วตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีนั้น สิ่งก่อสร้างคือ ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางส่วนวัสดุก่อสร้างคือ วัสดุที่ใช้ก่อสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง แต่ป้ายโฆษณาเป็นสิ่งที่จำเลยนำมาติดตั้งเพื่อโฆษณา หาใช่วัสดุก่อสร้างไม่ จำเลยจึงยังคงเป็นเจ้าของป้ายดังกล่าว หาได้ตกเป็นของโจทก์ไม่ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยในฐานะเจ้าของป้ายพิพาทย่อมมีหน้าที่ต้องรื้อถอนป้ายพิพาทออกไป แต่จำเลยละเว้นเสียยังคงติดตั้งป้ายโฆษณาของตนจนล่วงเข้าปี 2544 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายประจำปี 2544 ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้ายฯ มาตรา 7 เมื่อโจทก์แจ้งการประเมินภาษีป้ายให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่อุทธรณ์การประเมินต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีป้ายฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นอันยุติ จำเลยจึงต้องเสียภาษีป้ายตามที่โจทก์ประเมินพร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 25 (3)