พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประเภทคดีจากปลดเปลื้องทุกข์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ กรณีโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่คำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้คัดค้าน ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ มิใช่คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไป เมื่อทุนทรัพย์คดีนี้ไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีเรื่องนี้ไปยังศาลแขวงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดส่วนแบ่งกรรมสิทธิ์ในฟ้อง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจำเลยบังอาจเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยการทำนาโดยไม่ได้รับอนุญาติ เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์โจทก์ห้ามจำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวไม่ให้จำเลยยุ่งเกี่ยว และใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงพิพาท จำเลยได้รับหนังสือ บอกกล่าวแล้วนั้น แสดงให้เห็นว่า โจทก์ได้กล่าวถึงสภาพ แห่งข้อหาว่า จำเลยทำละเมิดเข้าไปใช้ประโยชน์โดยทำนาในที่ดินของโจทก์ และบรรยายถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือโจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวไม่ให้จำเลยยุ่งเกี่ยวและใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามฟ้องโจทก์จึงได้บรรยายโดยแจ้งชัดแล้ว โจทก์หาจำต้องกล่าวให้ละเอียดไปถึงว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในส่วนใดของโฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้อง และส่วนใดเป็นกรรมสิทธิ์ของพจำเลยบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ตั้งแต่เมื่อใด เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา และในคดีแพ่งโจทก์หาจำต้องบรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดกรณีพิพาทในฟ้องดังเช่นการบรรยายฟ้องในคดีอาญาแต่อย่างใดไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง แล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4701/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วยการครอบครองปรปักษ์และสัญญาประนีประนอมยอมความ การบังคับตามสัญญาและการแบ่งแยกค่าใช้จ่าย
โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกของที่ดินโฉนดเลขที่ 10228 ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาโดยสงบและเปิดเผยจนถึงวันที่ พ.บิดาจำเลยทั้งสองร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ต่อศาลเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้วโจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของโจทก์และการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวด้านทิศตะวันออกของ พ. โจทก์กับ พ.ได้ตกลงกันให้ พ.เป็นผู้ร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 10228 ทั้งแปลงแต่เพียงผู้เดียว โดยโจทก์จะเป็นพยานในฐานะเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อได้กรรมสิทธิ์แล้ว พ.จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในภายหลัง ต่อมา พ.ได้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินต่อศาลและศาลได้มีคำสั่งให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเป็นของ พ.และ พ.ได้ทำหนังสือยินยอมมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ การที่ได้มีการทำหนังสือสัญญายินยอมมอบที่ดินดังกล่าวโดยระบุส่วนไว้ชัดเจนว่าให้โจทก์ได้ที่ดินทางทิศตะวันตกก็เพื่อให้โจทก์กับ พ.คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยินยอมผ่อนผันให้แก่กัน หากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเกิดขึ้นในภายหลังว่าฝ่ายใดได้ที่ดินส่วนใดแน่ ถึงแม้ข้อความในหนังสือดังกล่าวจะมิได้ระบุถึงข้อที่ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทไว้แต่เมื่อนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาประกอบกับข้อสัญญาที่ระบุไว้แล้วถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ เมื่อ พ.บิดาจำเลยทั้งสองถึงแก่ความตายไปแล้ว จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่ดินดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วย
ในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้น ปรากฏว่าเดิมจำเลยที่ 1 ประสงค์จะโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์มาตั้งแต่แรก แต่โจทก์ไม่ยินยอมเสียภาษีอากรและค่าฤชาธรรมเนียมการโอน จึงไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ ทำให้จำเลยที่ 1 กลับใจไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นเหตุให้เกิดการฟ้องร้องเป็นคดีนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดผู้ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโอนตามคำพิพากษาไว้เพื่อประโยชน์ในการจะปฏิบัติตามคำพิพากษาในชั้นบังคับคดี เมื่อการโอนที่ดินให้โจทก์ครึ่งหนึ่งในคดีนี้มีลักษณะเป็นการแบ่งแยกที่ดินของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม สมควรให้เสียภาษีอากร ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการโอนฝ่ายละเท่า ๆ กัน
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของโจทก์และการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวด้านทิศตะวันออกของ พ. โจทก์กับ พ.ได้ตกลงกันให้ พ.เป็นผู้ร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 10228 ทั้งแปลงแต่เพียงผู้เดียว โดยโจทก์จะเป็นพยานในฐานะเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อได้กรรมสิทธิ์แล้ว พ.จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในภายหลัง ต่อมา พ.ได้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินต่อศาลและศาลได้มีคำสั่งให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเป็นของ พ.และ พ.ได้ทำหนังสือยินยอมมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ การที่ได้มีการทำหนังสือสัญญายินยอมมอบที่ดินดังกล่าวโดยระบุส่วนไว้ชัดเจนว่าให้โจทก์ได้ที่ดินทางทิศตะวันตกก็เพื่อให้โจทก์กับ พ.คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยินยอมผ่อนผันให้แก่กัน หากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเกิดขึ้นในภายหลังว่าฝ่ายใดได้ที่ดินส่วนใดแน่ ถึงแม้ข้อความในหนังสือดังกล่าวจะมิได้ระบุถึงข้อที่ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทไว้แต่เมื่อนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาประกอบกับข้อสัญญาที่ระบุไว้แล้วถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ เมื่อ พ.บิดาจำเลยทั้งสองถึงแก่ความตายไปแล้ว จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่ดินดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วย
ในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้น ปรากฏว่าเดิมจำเลยที่ 1 ประสงค์จะโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์มาตั้งแต่แรก แต่โจทก์ไม่ยินยอมเสียภาษีอากรและค่าฤชาธรรมเนียมการโอน จึงไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ ทำให้จำเลยที่ 1 กลับใจไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นเหตุให้เกิดการฟ้องร้องเป็นคดีนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดผู้ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโอนตามคำพิพากษาไว้เพื่อประโยชน์ในการจะปฏิบัติตามคำพิพากษาในชั้นบังคับคดี เมื่อการโอนที่ดินให้โจทก์ครึ่งหนึ่งในคดีนี้มีลักษณะเป็นการแบ่งแยกที่ดินของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม สมควรให้เสียภาษีอากร ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการโอนฝ่ายละเท่า ๆ กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน: สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สิน, อายุความ, และผลผูกพันคำพิพากษา
คดีก่อนอัยการเป็นโจทก์ฟ้องเพื่อประโยชน์ของจำเลยตามป.พ.พ. มาตรา 1562 อันเป็นการฟ้องแทนจำเลยซึ่งห้ามมิให้ฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นบุพการี คำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก ที่พิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองว่าจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ เมื่อประเด็นพิพาทในคดีนี้มีเพียงว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเท่านั้น คดีก็ไม่ต้องสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยอีกต่อไป
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งแปลง แต่ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมแทนโจทก์ด้วย และขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ถือกรรมสิทธิ์รวมออกจากโฉนด จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และไม่พ้นอายุความห้ามมิให้ฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ซึ่งใช้เฉพาะสำหรับกรณีฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตามป.พ.พ. มาตรา 237 เท่านั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งแปลง แต่ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมแทนโจทก์ด้วย และขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ถือกรรมสิทธิ์รวมออกจากโฉนด จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และไม่พ้นอายุความห้ามมิให้ฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ซึ่งใช้เฉพาะสำหรับกรณีฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตามป.พ.พ. มาตรา 237 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้มีชื่อในโฉนดเมื่อถูกฟ้องให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครอง การร้องคัดค้านในชั้นบังคับคดี
ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง และได้มีคำสั่งให้ประกาศนัดไต่สวนทางหนังสือพิมพ์และให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน หากประสงค์จะคัดค้านประการใดให้ยื่นคำคัดค้านต่อศาลภายในวันนัดไต่สวนคำร้อง แต่ก็ไม่มีผู้ใดยื่นคำคัดค้าน จนศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งไปแล้วต่อมาผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถึงแม้ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกคำร้องเพราะเห็นว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีของผู้ร้อง ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188(4) บัญญัติให้ถือว่าบุคคลเช่นนั้นเป็นคู่ความผู้คัดค้านจึงเป็นคู่ความผู้มีส่วนได้เสียในคดีมีสิทธิอุทธรณ์และขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดที่ดินโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ที่ดินมีชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องนำคำสั่งศาลไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเป็นชื่อของผู้ร้อง ย่อมถือได้ว่าเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ย่อมจะเกิดความเสียหายแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิผู้คัดค้านจึงชอบที่จะร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้าไปในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกคดีจึงสามารถพิสูจน์ในชั้นนี้ได้ว่า ผู้คัดค้านมีสิทธิดีกว่าผู้ร้องคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ผูกพันผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) โดยไม่ต้องให้ผู้คัดค้านไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ศาลชั้นต้นต้องรับคำร้องของผู้คัดค้านไว้เพื่อวินิจฉัยถึงข้อโต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่และการพิสูจน์ที่มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน: ศาลวินิจฉัยตามพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง แม้รายละเอียดต่างจากที่ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยเป็นผู้อาศัยโจทก์อยู่ ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอาศัยต่อไปอีก จึงบอกกล่าวให้จำเลยออกไป จำเลยไม่ยอมออกทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนข้อความที่ว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอย่างไร เมื่อใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ฟ้องโจทก์อ้างว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก น. โจทก์ให้จำเลยอาศัยที่ดินพิพาทอยู่ การที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยกู้เงินโจทก์เพื่อนำไปชำระหนี้ไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพิพาทจาก น.และในที่สุดจำเลยตกลงจะโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์หลังจากไถ่ถอนการขายฝากแล้ว โดยโจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายกันไว้ ต่อมาเมื่อมีการนำเงินไปชำระหนี้ค่าไถ่ถอนการขายฝากให้ น. แล้วจำเลยไม่มีเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากเพื่อโอนที่ดินกลับเป็นของจำเลย โจทก์จำเลยและ น. จึงตกลงกันให้ น. จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งการซื้อที่ดินพิพาทจาก น. ว่ามีขั้นตอนอย่างไรจนผลสุดท้ายเกิดการโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น. กับโจทก์โดยผลจากการที่โจทก์ได้เป็นผู้ออกเงินค่าที่ดินในการที่ได้ที่ดินพิพาทมา ศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีจากพยานหลักฐานเกี่ยวกับที่มาแห่งการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้รายละเอียดการซื้อขายไม่ตรงกับที่กล่าวอ้างในคำร้อง
ผู้ร้องกล่าวในคำร้องว่า ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทจาก ช.แต่นำสืบว่า จ. มารดาผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทจาก ช. แล้วผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทต่อจาก จ. อีกทีหนึ่ง เป็นการนำสืบถึงที่มาของที่ดินพิพาทและการได้ที่ดินพิพาทมา ไม่ถือว่าทางนำสืบต่างกับคำร้องถึงขนาดเป็นเหตุให้รับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเนื่องจากมีการปลอมเอกมอบอำนาจ และการซื้อขายไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 ใช้ใบมอบอำนาจของ อ. ซึ่งเป็นใบมอบอำนาจปลอมโอนขายที่ดินของ อ. ให้จำเลยที่ 2 โดย อ. มิได้รู้เห็นยินยอม แล้วจำเลยที่ 2 นำที่ดินไปขายฝากแก่จำเลยที่ 3 ดังนี้ จำเลยที่ 2 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและย่อมไม่มีอำนาจที่จะนำไปขายฝากแก่จำเลยที่ 3 ได้ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ อ. จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกลับคืนมาเป็นของ อ. ตามเดิมได้
โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินซึ่งตั้งอยู่ในเขตศาลจังหวัดนครปฐม การที่ศาลแพ่งรับฟ้องรับคำให้การ ตลอดจนสืบพยานจนเสร็จการพิจารณาย่อมแสดงว่าศาลแพ่งยอมรับพิจารณาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (4) แล้ว
โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินซึ่งตั้งอยู่ในเขตศาลจังหวัดนครปฐม การที่ศาลแพ่งรับฟ้องรับคำให้การ ตลอดจนสืบพยานจนเสร็จการพิจารณาย่อมแสดงว่าศาลแพ่งยอมรับพิจารณาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (4) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การถมที่และล้อมรั้วถือเป็นการครอบครอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าได้สิทธิเหนือที่พิพาทโดยซื้อมาจากเจ้าของเดิมก็ดี โดยการครอบครองปรปักษ์ก็ดี หรือที่พิพาทตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอมแก่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยก็ดีพร้อมกับฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ให้โจทก์ไปจดทะเบียนภาระจำยอมแก่จำเลยนั้น ฟ้องแย้งของจำเลยก็คือเหตุผลอันเดียวกับที่ให้การไว้ ซึ่งจำเลยชอบที่จะอ้างสิทธิต่าง ๆ ขึ้นใช้ยันโจทก์ เพราะไม่แน่ว่าศาลจะฟังข้อเท็จจริงในรูปใด ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขัดแย้งกันเองและไม่เคลือบคลุม
การที่บุคคลเข้าไปถมที่และล้อมรั้วเพื่อแสดงแนวเขตที่แน่นอนในที่ดินของบุคคลอื่น แม้บุคคลนั้นจะมิได้เข้าอยู่อาศัยหรือมอบหมายให้ผู้ใดเข้าอยู่แทนในที่ดินนั้นก็ตามถือได้ว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของบุคคลอื่นแล้ว
การที่บุคคลเข้าไปถมที่และล้อมรั้วเพื่อแสดงแนวเขตที่แน่นอนในที่ดินของบุคคลอื่น แม้บุคคลนั้นจะมิได้เข้าอยู่อาศัยหรือมอบหมายให้ผู้ใดเข้าอยู่แทนในที่ดินนั้นก็ตามถือได้ว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของบุคคลอื่นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์ ศาลไม่จำกัดว่าผู้ร้องต้องครอบครองขณะยื่นคำร้อง
การยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าผู้ร้องจะต้องเป็นผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะยื่นคำร้องขอต่อศาล และคำสั่งของศาล ที่แสดงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามคำร้องขอนั้น ก็เป็นเพียงคำสั่งที่รับรองว่าการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้ร้องตามที่ได้ครอบครองมาแล้วนั้น เป็นผลให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แล้ว เพื่อที่ผู้ร้องจะได้นำคำพิพากษาไปจดทะเบียนสิทธิต่อเจ้าพนักงานที่ดินต่อไปเท่านั้น