คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรอบกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์บางส่วน: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างที่เหลือใช้การไม่ได้ต้องใช้สิทธิภายในกรอบกฎหมาย
โจทก์เป็นเจ้าของสถานฝึกซ้อมไดร์กอล์ฟและอาคารแจ้งวัฒนะกอล์ฟไดร์วิ่งเร้น ซึ่งเป็นอาคารตึก 2 ชั้น จำนวน 1 หลัง เสาโครงเหล็กจำนวน 52 ต้น และสนามกอล์ฟพื้นที่ 21,513 ตารางเมตร ต่อมาสนามไดร์กอล์ฟของโจทก์ดังกล่าวถูกเวนคืนบางส่วนผ่ากลางสนามหญ้า โดยมีการรื้อถอนเสาโครงเหล็กบางส่วน โจทก์จึงเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ซึ่งมีอยู่ในที่ดินที่ถูกเวนคืน เมื่อการเวนคืนดังกล่าวมีผลทำให้เสาโครงเหล็กตาข่ายและสนามหญ้าที่เหลือใช้การไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ จึงเป็นการเวนคืนสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นแต่เพียงบางส่วน ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 19 และโจทก์ฟ้องขอเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากตัวทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนอันเป็นกรณีตามมาตรา 19 มิใช่กรณีตามมาตรา 21 วรรคท้าย ซึ่งหมายถึงค่าเสียหายโดยตรงที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ดังนั้นหากโจทก์เห็นว่าสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลืออยู่ใช้การไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์และโจทก์ประสงค์จะให้เวนคืน โจทก์จะต้องร้องขอต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนให้เวนคืนส่วนที่เหลืออยู่ซึ่งใช้การไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์นั้นด้วย ถ้าจำเลยที่ 2 ไม่ยอมเวนคืนตามคำร้องของโจทก์ โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ฯ ภายใน 60 วัน ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 19 เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการตามขั้นตอนตามกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนทรัพย์สินส่วนนี้ที่เหลือจากการเวนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4918/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน, อัตราดอกเบี้ย, การปรับเปลี่ยนดอกเบี้ย, กรอบกฎหมาย, การบังคับชำระหนี้
หนังสือสัญญากู้เงินระบุว่า ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศธนาคาร สัญญาข้อนี้เป็นขอตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาโดยอนุวัตตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการกำหนดสถานบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้ธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี โดยไม่มีข้อกำหนดให้ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว จึงไม่ตกเป็นโมฆะและแม้จะมีประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยเกินกว่าประกาศของโจทก์ไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติจริงโจทก์คิดดอกเบี้ยและปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอยู่ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารโจทก์และประกาศกระทรวงการคลัง การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับ เพราะโจทก์อุทธรณ์ข้อเท็จจริง เกินกรอบ พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์
ศาลเดิมวาง ม.251-55-53 จำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์แก้วาง ม.251 แล 55 เท่านั้นจำคุก 4 ปี 8 เดือน โจทก์ฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6377/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับรายวันเกินกว่าที่ฟ้อง และการเพิ่มโทษเกินกรอบตามกฎหมาย ศาลฎีกาแก้เป็นไปตามฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ไม่มีเลขที่ 1 หลัง ขนาดประมาณ 8.08 เมตร x 10.00 เมตร สูง 10.07 เมตร มีพื้นที่ 251 ตารางเมตร ตั้งอยู่ที่ซอยซานเมืองแยก 7 ถนนประชาสงเคราะห์ แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร บนที่ดินโฉนดเลขที่ 29634 จากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อพักอยู่อาศัย เมื่อระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 29 มีนาคม 2549 จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารไม่มีเลขที่ตั้งอยู่ที่ซอยซานเมืองแยก 7 ถนนประชาสงเคราะห์ แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ตามที่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว เป็น 4 ชั้น ขนาดกว้าง 8.08 เมตร ยาว 10.00 สูง 10.17 เมตร เพื่อพาณิชยกรรม อันเป็นการก่อสร้างผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการที่ได้รับอนุญาต มิใช่เป็นการซ่อมแซมหรือดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งว่าจำเลยเจตนาก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชย์กรรมผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการที่ได้รับอนุญาต มิใช่เป็นการซ่อมแซมหรือดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยก่อสร้างผิดแบบโดยขออนุญาตก่อสร้างเพื่อพักอยู่อาศัย แต่มาปรับเพื่อพาณิชยกรรม หรือจำเลยมีเจตนาหรือจงใจที่จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารที่ก่อสร้างเพื่อพาณิชยกรรม ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดกระทงที่สี่ฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร จำคุก 2 เดือน และปรับ 50,000 บาท และปรับอีกวันละ 200 บาท นับแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2549 ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 และต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายการที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษปรับ 25,000 บาท และปรับอีกวันละ 100 บาท ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องลงโทษจำคุก 1 เดือน ด้วย เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้วางโทษจำเลยเป็นสองเท่าของโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดของจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 70 ย่อมถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ในทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษแก่จำเลยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ระวางโทษจำคุกจำเลยในกระทงที่สี่เป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และเมื่อลดโทษกึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษจำคุก 2 เดือนจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานก่อสร้างอาคารผิดแบบที่ได้รับอนุญาตระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 29 มีนาคม 2549 ฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารผิดแบบระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 และฐานฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเช่นนี้ แสดงว่าหลังจากวันที่ 29 มีนาคม 2549 และวันที่ 9 ตุลาคม 2549 ตามลำดับ จำเลยมิได้กระทำการอันเป็นความผิดนั้นๆ แล้ว การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันหลังจากวันดังกล่าวจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5632/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษจำคุกคดียาเสพติดเกินกรอบตามกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษได้
ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 12 บัญญัติว่า การกำหนดโทษจำคุกที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 ให้กำหนดโทษจำคุกอย่างสูงที่สุดได้ไม่เกินห้าสิบปี ดังนั้นสำหรับข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งมีระวางโทษจำคุก 4 ปี ถึงตลอดชีวิต ระวางโทษสามเท่าจึงเป็นจำคุก 12 ปี ถึงตลอดชีวิต ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 เป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าวเป็นจำคุก 54 ปี จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225