พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งศาลที่อาจกระทบคำพิพากษา ต้องวางค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษานั้นด้วย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไปได้ ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที กรณีมิใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือว่างเงินค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่ศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์มา ก็ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์ของจำเลยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายไปได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ชอบแล้ว และศาลฎีกาก็ไม่อาจกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6432/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มีอำนาจฟ้องคดีเนื่องจากเป็นการกระทำภายในหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่กระทบสิทธิโจทก์โดยตรง
โจทก์ทั้งสองขอรับเงินบำเหน็จตกทอดของนาย ป. กับนาง อ. ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งถูกคนร้ายยิงถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงทำหนังสือเสนอให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังพิจารณา แต่กรมบัญชีกลางแจ้งให้จำเลยที่ 1 สอบสวนข้อเท็จจริงก่อนว่าการตายของนาย ป. กับ นาง อ. มีสาเหตุเนื่องมาจากความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของผู้ตายทั้งสองหรือไม่ เพื่อประกอบการพิจารณาสั่งจ่ายเงินบำเหน็จตกทอด จำเลยที่ 1 จึงมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงดังกล่าว คณะกรรมการดังกล่าวสอบสวนแล้วมีความเห็นหรือมติว่าสาเหตุการตายของนาย ป. เนื่องมาจากความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของนาย ป. ส่วนสาเหตุการตายของนาง อ. ไม่ได้เนื่องมาจากความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของนาง อ. กรมบัญชีกลางจึงไม่จ่ายเงินบำเหน็จตกทอดของนาย ป. ให้แก่โจทก์ทั้งสอง คงจ่ายให้เฉพาะส่วนของนาง อ. การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวหาได้กระทำการใดอันจะถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสอง ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นการกระทำในอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่ความเห็นดังกล่าวหามีผลเป็นการวินิจฉัยชี้ขาด หรือฟังเป็นยุติที่กรมบัญชีกลางจะต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใดไม่ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ได้กระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองเช่นเดียวกัน โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งเจ็ด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยานกระทบคำพิพากษา จำเลยต้องวางค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย
การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยนั้น ย่อมมีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้สิ้นผลบังคับไปในตัวด้วย แต่จำเลยเลี่ยงไปอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยเพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาด้วย แม้จะเป็นสิทธิของจำเลยที่กระทำได้โดยชอบ ซึ่งจำเลยได้ประโยชน์ที่ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์ โดยเสียเพียงค่าอุทธรณ์คำสั่ง 200 บาทเท่านั้นก็ตาม แต่การที่จำเลยอุทธรณ์เช่นนี้ทำให้มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลชั้นต้นพร้อมอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินของตนเองไม่กระทบสิทธิภารจำยอมเดิมของผู้อื่น
โจทก์จำเลยตกลงประนีประนอมยอมความโดยจำเลยจะไปดำเนินการจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่1915และ23121ตามเนื้อที่ดินทั้งหมดในโฉนดให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่16281ของโจทก์ศาลพิพากษาตามยอมการที่ต่อมาจำเลยจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่1915และ23121ให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่23115ถึง23120ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียวนั้นจำเลยชอบที่จะทำได้และการจดทะเบียนภารจำยอมดังกล่าวก็มิใช่เป็นการจำหน่ายหรือทำให้ภารจำยอมของโจทก์ตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมของโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องลดลงไปหรือเสื่อมความสะดวกแก่การใช้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: การจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินของจำเลยเอง ไม่กระทบสิทธิภารจำยอมของผู้อื่น
ที่ดินโฉนดเลขที่1915และ23121ทั้ง2แปลงและที่ดินอีก6แปลงตามโฉนดเลขที่23115ถึง23120เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียวจำเลยชอบที่จะจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินทั้ง2แปลงให้แก่ที่ดินของจำเลยอีก6แปลงได้ทั้งการจดทะเบียนภารจำยอมของจำเลยดังกล่าวก็มิใช่เป็นการจำหน่ายหรือทำให้ภารจำยอมของโจทก์ตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมของโจทก์ต้องลดลงไปหรอื*เสื่อมความสะดวกแก่การใช้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งกระทบสิทธิบุคคลภายนอก – ไม่อาจบังคับได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวและที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของตึกแถวและที่ดินพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องและฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ ศ. และ อ.เป็นโมฆะ โดย ศ. และ อ. รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้จากจำเลย จำเลยไม่เคยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เป็นการต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ เป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม แต่เมื่อมีผลกระทบถึงสิทธิของ ศ. และ อ. บุคคลภายนอกที่มิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย จึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่อาจบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับมรดกฟ้องคดี หากคำพิพากษาตามยอมกระทบสิทธิในการรับมรดก
แม้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมไม่ได้ก็ตาม แต่ถ้าตามฟ้องของโจทก์เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้แสดงว่า คำพิพากษาตามยอมนั้นจะบังคับเอาจากกองมรดกซึ่งโจทก์เป็นผู้รับมรดกด้วยไม่ได้ เพราะถ้าบังคับเอาจากกองมรดกแล้ว ทำให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกน้อยลงกว่าที่ควรจะได้รับ เช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีดังกล่าวได้
(ประชุมใหญ่ ครั้ง 28/2503)
(ประชุมใหญ่ ครั้ง 28/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเจ้าของทรัพย์สินในคำฟ้อง ถือเป็นข้อสำคัญกระทบต่อการพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องระบุอ้างว่า กระบือที่ท่านเป็นของคนๆหนึ่งจ้างผู้มีชื่อเสียง แม้ได้ความว่าอยู่ในความครอบครองของผู้เลี้ยงนั้นก็จริง แต่ได้ความว่ากระบือนั้นเป็นของอีกคนหนึ่ง ซึ่งไม่ปรากฎในคำฟ้องดังนี้ ถือว่าทางพิจารณาต่างกับฟ้องในข้อสำคัญในคดี ต้องพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3171/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 229 ป.วิ.พ. เฉพาะอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งที่กระทบคำพิพากษาเท่านั้น
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติว่า "การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย..." บทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้น ตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่น ๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดีนี้ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ให้ยกคำร้อง จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้ หากศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองไว้พิจารณาและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้ไม่มีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้สิ้นผลบังคับแต่อย่างใด เมื่ออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229