คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กระทรวงมหาดไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีที่ดินทับซ้อนพื้นที่สงวนเลี้ยงสัตว์และการปฏิบัติตามหนังสือเวียนของกระทรวงมหาดไทย
แม้ที่ดินที่โจทก์ขอให้ออกหนังสือรับการทำประโยชน์มิได้อยู่ในเขตท้องที่ที่ได้ประกาศเป็นที่สาธารณประโยชน์ ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในบันทึกของช่างรังวัดซึ่งเสนอนายอำเภอ ว่า ที่ดินที่โจทก์ขอให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตั้งอยู่ในทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ในกรณีเช่นนี้นายอำเภอจะต้องปฏิบัติตามหนังสือเวียนของกระทรวงมหาดไทย โดยเมื่อนายอำเภอหาดใหญ่รับเรื่องราวและดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องส่งเรื่องราวทั้งหมดไปให้กรมที่ดินพิจารณาก่อน แต่กลับปรากฏว่ามีประกาศของนายอำเภอว่าผู้ใดจะคัดค้านการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ให้คัดค้านภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศ และต่อมาก็ไม่ปรากฏว่านายอำเภอได้ส่งเรื่องของโจทก์ไปยังกรมที่ดินหรือแจ้งให้โจทก์ทราบเกี่ยวกับการดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด จนกระทั่งได้เปลี่ยนแปลงเขตการปกครองโดยย้ายที่ดินแปลงพิพาทที่โจทก์ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์จึงได้ทำหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ในฐานะปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอให้สั่งการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ ดังนี้การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่า จากการตรวจสอบเรื่องราวการขอรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ปรากฏว่า ที่ดินแปลงที่โจทก์ขอให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์อยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการได้สงวนหวงห้ามไว้ให้เป็นที่สำหรับประชาชนใช้เลี้ยงสัตว์ซึ่งก่อนที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะต้องส่งเรื่องราวทั้งหมดไปให้กรมที่ดินพิจารณาก่อน ทั้งก่อนส่งเรื่องราวดังกล่าวไปให้กรมที่ดินพิจารณาจะต้องทำการตรวจสอบโดยละเอียดรอบคอบก่อนว่าส.ค.1 ฉบับที่โจทก์นำไปเป็นหลักฐานในการขอรับรองการทำประโยชน์ นั้นเป็น ส.ค.1 ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และกำลังดำเนินการ พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการอยู่ พร้อมทั้งรวบรวมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้ครบถ้วนก่อนส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินพิจารณา กรณีเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ยังมิได้ปฏิเสธที่จะไม่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามหนังสือเวียนของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้นและอยู่ในระหว่างดำเนินการอยู่ โจทก์ก็มาฟ้องเป็นคดีนี้โดยที่จำเลยที่ 1 ยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่อย่างใด ทั้งกรณีของโจทก์นี้ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ให้สิทธิโจทก์ฟ้องคดีต่อศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5976/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงกระทรวงกลาโหม-มหาดไทย มิใช่กฎหมาย การปฏิบัติผิดข้อตกลงไม่กระทบการสอบสวน
ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหาย หรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.2498 ข้อ 26 ทวิ มิใช่กฎหมาย แม้มีการปฏิบัติผิดข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เวลาพักงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย: การกำหนดเวลาพักต้องไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน และเป็นช่วงเวลาที่อยู่ในระหว่างการทำงาน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6 และข้อ2 นายจ้างจะต้องให้ลูกจ้างมีเวลาพักในระหว่างการทำงานไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง โดยจะให้มีเวลาพักเป็นหลายครั้งก็ได้ แต่เมื่อรวมเวลาพักแล้วจะต้องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และเวลาพักจะต้องเป็นระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการทำงานด้วย การที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานระหว่างเวลา 8.00 นาฬิกา -16.00 นาฬิกา และระหว่างเวลา 16.00 นาฬิกา ถึง24.00 นาฬิกาโดยให้มีเวลาพักกะละครึ่งชั่วโมง จึงเป็นการกำหนดเวลาพักที่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
กรณีดังกล่าวแม้ลูกจ้างทำงานในช่วงเวลาพักก็เป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติ หาใช่นอกเวลาทำงานปกติอันจะทำให้ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาไม่ ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้แต่เพียงค่าจ้างโดยคำนวณเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละเดือนเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาเพื่อดูแลมารดาป่วยหนัก ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ
การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) หมายถึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน มิใช่หมายถึงการละทิ้งหน้าที่นั้นกระทำไปโดยไม่สมควรเพราะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง ผู้คัดค้านลากิจกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดเพราะมารดาป่วยหนัก ครบกำหนดลากิจแล้วอาการของมารดาของผู้คัดค้านไม่ทุเลาลง ต้องเข้ารักษาที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลตามลำดับ ผู้คัดค้านได้โทรเลขถึงเพื่อนร่วมงานขอให้ลาต่อแทนดังนี้ การละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านมีเหตุอันสมควร กรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 47(4) ผู้ร้องจะขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดที่ดิน: ผลของการฟ้องคดีต่อศาลและการขยายเวลาอายัดตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย
การขออายัดที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 นั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่รับอายัดไว้แล้ว ผู้ขออายัดต้องไปดำเนินคดีทางศาลภายในเวลาที่รับอายัดไว้ถ้าไม่ดำเนินคดีทางศาล การอายัดนั้นก็สิ้นผลเมื่อพ้นเวลาที่รับอายัด แต่ถ้าผู้ขออายัดไปดำเนินคดีทางศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าว การอายัดก็ยังคงมีผลอยู่ต่อไป จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาแล้วคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 189/2498 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์2498 ข้อ 7 ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดินหรือ ป.วิ.พ.แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเงินทดแทน: กรมแรงงานในฐานะผู้แทนกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องคุ้มครองแรงงาน ข้อ 60 ให้อำนาจอธิบดีกรมแรงงานพิจารณาชี้ขาดอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ได้นั้น ถือได้ว่าอธิบดีกรมแรงงานกระทำในฐานะผู้แทนกรมแรงงานโดยตำแหน่งหน้าที่ ทั้งกรมแรงงานก็เป็นส่วนราชการของกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานโดยตรง โจทก์มีอำนาจฟ้องกรมแรงงานซึ่งโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 215/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: กระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้แต่งตั้งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ มิได้เป็นตัวการหรือตัวแทน
กระทรวงมหาดไทยจำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เพื่อทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ฯลฯ เป็นการปฏิบัติการตามบทบัญญัติของกฎหมาย คณะกรรมการ+สัมพันธ์ที่จำเลยแต่งตั้งมีอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลย+คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หาใช่ความสัมพันธ์ระหว่างตัวการและตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ แต่เป็นการที่จำเลยและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่างก็จะต้องปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: ความสัมพันธ์ระหว่างกระทรวงฯ กับคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ มิใช่ตัวการตัวแทน
กระทรวงมหาดไทยจำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เพื่อทำหน้าชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ฯลฯ เป็นการปฏิบัติการตามบทบัญญัติของกฎหมาย คณะกรรมการสัมพันธ์ที่จำเลยแต่งตั้งมีอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หาใช่ความสัมพันธ์ระหว่างตัวการและตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ แต่เป็นการที่จำเลยและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่างก็จะต้องปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยกระทำผิดฐานพยายามข่มขืนตามประกาศคณะปฏิวัติ และหนังสือกระทรวงมหาดไทย
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 กล่าวถึงบุคคลที่กระทำการรังแก ข่มเหงผู้อื่น หรือประกอบอาชีพในทางผิดกฎหมายบางจำพวกว่าเป็นบุคคลที่ประพฤติตนเป็นอันธพาลโดยมิได้จำแนกไว้โดยชัดเจนว่าบุคคลเหล่านั้นรังแกข่มเหงขู่เข็ญหรือรบกวนผู้อื่นเป็นลักษณะความผิดอะไรบ้าง ส่วนหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ 2498/2502 กล่าวถึงผู้กระทำผิดในคดีฉุดคร่าอนาจาร ล่อลวงข่มขืน และลวงไปฆ่าว่าเป็นภัยแก่สังคม ทั้งนี้ความผิดดังกล่าวก็มีลักษณะเป็นการรังแกข่มเหงผู้อื่นตามประกาศคณะปฏิบัติฉบับที่ 21 นั่นเอง จึงเท่ากับเป็นการชี้ถึงความผิดทั้ง 4 ประเภทโดยเฉพาะว่าเป็นการกระทำของบุคคลที่ประพฤติตนเป็นอันธพาล
ผู้เสียหายถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดฐานพยายามข่มขืน กระทำชำเราและกระทำอนาจาร การกระทำของผู้เสียหายจึงเข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 และหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ 2498/2502 จำเลยจึงมีอำนาจควบคุมตัวไว้เพื่อสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้คำสั่งเนรเทศ: อำนาจศาลในการแก้ไขโทษเนรเทศที่ออกโดยกระทรวงมหาดไทย
คำสั่งกระทรวงมหาดไทยวิธีพิจารณาอาญาอำนาจศาลฎีกาที่จะแก้โทษ