คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กระทำการแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนนิติบุคคล: ผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามกฎหมายเท่านั้นที่พนักงานสอบสวนจะสอบสวนได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณีคำว่า ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้นย่อมหมายถึง ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นตามกฎหมายเช่น กรรมการผู้จัดการของบริษัท
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ก. กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวน อ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยและตามบันทึกคำให้การของ ก. มีข้อความว่า ก. ไม่ขอให้การชั้นสอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก. เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ ก. ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจให้ ก. กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก. ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลยโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเป็นคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนนิติบุคคล: ต้องสอบสวนผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามกฎหมายเท่านั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณีคำว่า ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้นย่อมหมายถึง ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นตามกฎหมายเช่น กรรมการผู้จัดการของบริษัท พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนก. กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวนอ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยและตามบันทึกคำให้การของก. มีข้อความว่าก. ไม่ขอให้การชี้สอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก.เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ก.ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจ ให้ก. กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก. ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลย โดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลย เป็นคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นนิติบุคคล: ผู้ว่าฯ เป็นผู้แทนกระทำการ
แม้ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามมิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วยแต่จังหวัดมหาสารคามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยสภาพแล้วไม่สามารถกระทำการด้วยตนเองได้ เว้นแต่จะกระทำโดยทางผู้แทนดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามจึงเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ในการแสดงเจตนาแทน คำสั่งของ ส. ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ที่ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์จึงเป็นคำสั่งของจำเลยที่ 1 นั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 แม้ประเด็นที่พิพาทคู่ความได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวเสียเองได้แต่เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของบริษัทจำกัด: กรรมการต้องดำเนินการตามข้อบังคับบริษัท และมีอำนาจกระทำการแทนตามที่จดทะเบียน
ฟ้องโจทก์ได้ความว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด มีกรรมการ3 คน คือ โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 7 ที่ 8 กรรมการสองคนในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราสำคัญของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ กรณีจะมีการฟ้องคดีในฐานะที่บริษัทเป็นโจทก์จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทที่จดทะเบียนไว้ ถึงแม้ในคำฟ้องของบริษัทโจทก์ที่ 1 จะกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 7 ที่ 8ร่วมกับจำเลยอื่นทำให้บริษัทเสียหาย โจทก์ที่ 2 ในฐานะที่เป็นกรรมการของบริษัทคนหนึ่งนั้นจะมีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องตามกรณีที่กล่าวอ้างในคำฟ้องได้ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่จะต้องดำเนินการในฐานะนั้นเท่านั้น ไม่อาจดำเนินการฟ้องร้องในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทอันจะถือว่าบริษัทเป็นผู้ฟ้องคดีได้ เพราะในกรณีที่บริษัทจำกัดฟ้องคดีนั้น บริษัทจำกัดจะต้องเข้าไปรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในกรณีที่ศาลจะให้ใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่งโดยบังคับเอาจากทรัพย์สินของบริษัทมิใช่ผู้ฟ้องคดีแทนจะต้องรับผิดหรือบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีแทน การที่โจทก์ที่ 2 เพียงผู้เดียวแม้จะเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์ที่ 1 แต่ก็ไม่อาจที่จะมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ได้ โจทก์ที่ 2จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์ที่ 1 ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลได้ กรณีเป็นเรื่องบริษัทโจทก์ที่ 1 ในฐานะนิติบุคคลฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจกระทำแทนได้ เป็นเรื่องฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจไม่ใช่กรณีที่เป็นเรื่องบกพร่องในความสามารถที่ศาลต้องสั่งให้แก้ไขก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 แต่เป็นกรณีที่ความประสงค์ของนิติบุคคลนั้นไม่แสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75 คำฟ้องของโจทก์ที่ 1ซึ่งดำเนินการโดยโจทก์ที่ 2 จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบริษัทจากกรรมการกระทำการแทน แม้ไม่เป็นไปตามข้อบังคับ
บริษัทจำกัดกู้เงิน ทำหนังสือรับสภาพหนี้และประนีประนอมยอมความนอกศาลและในศาล ใช้หนี้จำนวนหนึ่งตามเช็คไปแล้ว โจทก์มาฟ้องเรียกจำนวนที่เหลือ การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการทำแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมา ถือว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับการกระทำของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในการที่จำเลยที่ 2 กู้เงินและรับสภาพหนี้เดิมแม้ตามข้อบังคับต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อและประทับตราของบริษัทก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ทนายหลังถอนมอบอำนาจ: การแจ้งผลคำพิพากษาและการกระทำการแทนตัวความ
โจทก์แต่งให้จำเลยเป็นทนายฟ้องคดีให้โจทก์ จำเลยได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์ขอถอนจำเลยออกจากการเป็นทนายใหม่เป็นผู้ดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์ต่อมา ดังนี้ หน้าที่ทนายความระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นอันสิ้นสุดลง แต่ในแง่ที่เกี่ยวกับศาลและคนอื่น จำเลยยังเป็นทนายของโจทก์อยู่ เพราะโจทก์จำเลยยังหาได้แจ้งถอนหรือเลิกการแต่งตั้งไม่
การที่จำเลยเซ็นรับทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีซึ่งตนพ้นจากหน้าที่ทนายแล้ว มีผลเท่ากับจำเลยทำกิจการแทนโจทก์ โดยที่ตนไม่มีสิทธิ์ที่จะกระทำการนั้น จำเลยต้องบอกกล่าวแก่โจทก์โดยเร็ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16243/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามเช็ค: การลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโดยไม่ได้ระบุว่ากระทำการแทนผู้อื่น
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง บุคคลผู้ลงลายมือชื่อในเช็คต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค และบุคคลผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คจะปฏิเสธความรับผิดตามเนื้อความในเช็คได้ก็ต่อเมื่อกระทำแทนบุคคลอื่นและเขียนแถลงว่ากระทำการแทนบุคคลอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 901
การที่เช็คพิพาทมีลายมือชื่อของจำเลยทั้งสามเป็นผู้สั่งจ่ายโดยมีชื่อกองทุนสวัสดิการฯ ไว้ แต่ไม่ได้เขียนข้อความให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามกระทำการแทนกองทุนสวัสดิการฯ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามสั่งจ่ายเช็คพิพาทแทนกองทุนสวัสดิการฯ จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาท