พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ การเพิกถอนกระบวนการอนุญาโตตุลาการต้องมีเหตุสมควร
ผู้ร้องและบริษัท จ. ตกลงให้ระงับข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นจากสัญญาโดยวิธีอนุญาโตตุลาการภายใต้การจัดการของสถาบันอนุญาโตตุลาการของหอการค้าระหว่างประเทศ ต่อมามีข้อพิพาทเกิดขึ้น บริษัท จ. เสนอข้อพิพาทให้สถาบันอนุญาโตตุลาการดังกล่าวและต่อมามีการแต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการจำนวนสามคนผู้ร้องได้ร้องคัดค้านการแต่งตั้งดังกล่าวต่อศาล กรณีไม่ปรากฏเหตุว่าสัญญาอนุญาโตตุลาการดังกล่าวเป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญา กระบวนการชั้นอนุญาโตตุลาการจึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของสถาบันดังกล่าว วิธีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ รวมทั้งค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ผู้ร้องอ้างว่าสูงเกินสมควร ก็ล้วนอยู่ในข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการดังกล่าวทั้งสิ้น ส่วนการคัดค้านอนุญาโตตุลาการ กฎหมายเปิดช่องให้ทำได้ตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้คู่กรณีสามารถร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ หรือให้คณะอนุญาโตตุลาการกระทำการหรืองดเว้นกระทำการในระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการแต่อย่างใด ส่วนการขอให้ศาลมีคำสั่งให้คณะอนุญาโตตุลาการหยุดการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการนั้น กรณีตามคำร้องยังไม่มีเหตุผลอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้หยุดการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้องชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีอุทธรณ์: การส่งสำเนาคำอุทธรณ์และผลของการไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาล
เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยภายใน 7 วัน หากไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ ถ้าไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ต่อมาเจ้าพนักงานศาลรายงานต่อศาลว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยตามภูมิลำเนาจำเลยไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าให้รอโจทก์แถลง แต่โจทก์ก็ไม่ได้แถลงว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งถ้อยคำสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพื่อพิจารณาสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าว แต่กลับพิจารณาพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาพิพากษาคดี และกรณีดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ใช้ดุลพินิจไม่จำหน่ายคดีฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7903/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความไม่ถูกต้องตามกระบวนการ แต่ศาลไม่จำเป็นต้องแก้ไขเมื่อมีการแต่งตั้งทนายภายหลัง
การที่ ธ.ลงลายมือชื่อในช่องผู้อุทธรณ์ในฐานะทนายจำเลยโดยไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายความในสำนวน คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง ธ. เป็นทนายจำเลยให้มีอำนาจอุทธรณ์และฎีกาแทนจำเลยก่อนยื่นฎีกาฉบับนี้ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องสั่งแก้ไขและถือว่าจำเลยยื่นคำฟ้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว และเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทรธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษาใหม่เพื่อให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7494/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ค่าขึ้นศาล: กำหนดเวลาและกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสาม ให้จำเลยทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มขึ้น เป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะที่จะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 เมื่อจำเลยทั้งสามเห็นว่าอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวมิใช่อุทธรณ์ที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่จำต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามคำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสามย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้ตามนัยของ ป.วิ.พ. มาตรา 227 โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อจำเลยทั้งสามได้ใช้สิทธิดังกล่าวโดยยื่นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2545 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 นั้นแล้ว หากจำเลยทั้งสามประสงค์จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จำเลยทั้งสามก็จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 234 กล่าวคือ จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง และเมื่อปรากฏว่ามีกำหนดให้จำเลยทั้งสามมาทราบคำสั่งดังกล่าวในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นับแต่วันที่กำหนดไว้นั้นแล้ว การที่จำเลยทั้งสามยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์โดยตรงในวันที่ 12 มีนาคม 2545 จึงเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกอุทธรณ์คำสั่งฉบับดังกล่าวของจำเลยทั้งสามนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอฎีกาอนาถาซ้ำโดยไม่แสดงหลักฐานเพิ่มเติม ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ชอบด้วยกระบวนการ
โจทก์ยื่นฎีกาวันที่ 12 เมษายน 2544 พร้อมกับยื่นคำร้องขอฎีกาอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องวันที่ 9 กรกฎาคม 2544 แต่ไม่มีคู่ความมาศาล ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่า โจทก์ไม่นำพยานมาไต่สวน ให้ยกคำร้อง ให้โจทก์นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาชำระภายใน 7 วัน ต่อมาวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นฎีกาอย่างคนอนาถาใหม่ ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ฉบับแรกโดยวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องของโจทก์แล้วว่า โจทก์ไม่ใช่คนอนาถาการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ ย่อมถือเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ ซึ่งโจทก์จะต้องขออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจน แต่คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ของโจทก์ มิได้ขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมโดยระบุถึงเหตุที่มิได้ระบุหรืออ้างไว้ในการไต่สวนครั้งแรกประกอบกับไม่มีการไต่สวนพยานโจทก์จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 156 วรรคสี่ ที่ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ของโจทก์ไว้ไต่สวนจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7877/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีข้อยุ่งยาก: การขาดนัดพิจารณาและการดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 การดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ศาลต้องออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 ประกอบมาตรา 193 และถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ศาลต้องมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วจึงพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว และพิพากษาโดยเร็วเท่าที่พึงกระทำได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (3) โดยศาลอาจพิพากษาในวันนัดพิจารณานั่นเอง หรืออาจเลื่อนคดีไปพิพากษาในวันอื่นก็ได้ ดังนั้น การพิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยาก โจทก์จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง จึงไม่ชอบ
การดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (3) บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่า ถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง แล้วให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
การดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (3) บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่า ถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง แล้วให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4378/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาใหม่ที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน ทำให้กระบวนการทั้งหมดเป็นโมฆะ
จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นยกคำร้องเพราะจำเลยไม่ไปศาลศาลจึงสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวก็ชอบที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 เพื่อขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณานัดไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างเหตุมิได้จงใจไม่มาศาลในวันนัดไต่สวน ขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าไต่สวนใหม่จึงไม่ชอบเพราะกรณีมิใช่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตามมาตรา 27 ฉะนั้น กระบวนพิจารณานับแต่วันที่ศาลชั้นต้นรับคำร้องของจำเลยและนัดไต่สวนตลอดมาจนกระทั่งมีคำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่มิชอบ ฎีกาของจำเลยจึงถือมิได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7380/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดวันสืบพยานก่อนครบกำหนดเวลายื่นคำให้การ ถือเป็นกระบวนการที่ไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะเข้าใจผิดเรื่องวันนัด
++ เรื่อง ประกันภัย ละเมิด รับช่วงสิทธิ (ชั้นขอให้พิจารณาใหม่) ++
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (10) "วันสืบพยาน" หมายความว่าวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน
โจทก์ยื่นคำฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันให้รับฟ้องและนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 21 กรกฎาคม 2541 เวลา 9 นาฬิกา เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยได้โดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน2541 จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำให้การได้ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2541 ฉะนั้นวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นวันสืบพยานโจทก์นัดแรกนั้นแม้โจทก์และพยานโจทก์จะมาศาลก็ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ได้เพราะยังไม่พ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้เลื่อนคดีเพื่อรอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดเวลายื่นคำให้การหากจำเลยไม่ยื่นคำให้การ วันที่ 21 กรกฎาคม2541 จึงมิใช่ "วันสืบพยาน" ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนี้แม้โจทก์จะมิได้ไปศาลในวันดังกล่าวโดยเข้าใจว่าวันนัดคลาดเคลื่อนไปเพราะความผิดพลาดของโจทก์ แต่ก็เป็นคนละเหตุที่จะให้ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความโดยเห็นว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงถูกต้องแล้ว
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (10) "วันสืบพยาน" หมายความว่าวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน
โจทก์ยื่นคำฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันให้รับฟ้องและนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 21 กรกฎาคม 2541 เวลา 9 นาฬิกา เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยได้โดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน2541 จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำให้การได้ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2541 ฉะนั้นวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นวันสืบพยานโจทก์นัดแรกนั้นแม้โจทก์และพยานโจทก์จะมาศาลก็ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ได้เพราะยังไม่พ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้เลื่อนคดีเพื่อรอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดเวลายื่นคำให้การหากจำเลยไม่ยื่นคำให้การ วันที่ 21 กรกฎาคม2541 จึงมิใช่ "วันสืบพยาน" ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนี้แม้โจทก์จะมิได้ไปศาลในวันดังกล่าวโดยเข้าใจว่าวันนัดคลาดเคลื่อนไปเพราะความผิดพลาดของโจทก์ แต่ก็เป็นคนละเหตุที่จะให้ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความโดยเห็นว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6415/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลที่ชอบด้วยกฎหมาย และการส่งคำร้องอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้อง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาชำระเงินค่าธรรมเนียมศาล เนื่องมาจากศาลฎีกามีคำสั่งให้ยก คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเสียนั้น มิใช่คำสั่งในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ดำเนินคดี อย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา อันจะต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย แต่เป็นการสั่งไปตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ให้อำนาจไว้ หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว จะต้องอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ตามมาตรา 223 ที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยมายังศาลฎีกาจึงไม่ชอบ
การขอขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. หรือตามที่ศาลกำหนดไว้หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วย วิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในกฎหมายอื่นเพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้น ระยะเวลานั้น ให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 23
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินค่าธรรมเนียมศาลเมื่อสิ้นระยะเวลาที่ศาลฎีกาได้กำหนดไว้เพื่อให้จำเลยชำระเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยฎีกาว่า เหตุที่ไม่ได้ชำระภายในกำหนดเพราะหลงผิดไปว่าศาลชั้นต้นจะแจ้งคิดรายการจำนวนเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องเสียเท่าไรให้จำเลยทราบอีกครึ่งหนึ่งนั้น มิได้เป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ได้
การขอขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. หรือตามที่ศาลกำหนดไว้หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วย วิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในกฎหมายอื่นเพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้น ระยะเวลานั้น ให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 23
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินค่าธรรมเนียมศาลเมื่อสิ้นระยะเวลาที่ศาลฎีกาได้กำหนดไว้เพื่อให้จำเลยชำระเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยฎีกาว่า เหตุที่ไม่ได้ชำระภายในกำหนดเพราะหลงผิดไปว่าศาลชั้นต้นจะแจ้งคิดรายการจำนวนเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องเสียเท่าไรให้จำเลยทราบอีกครึ่งหนึ่งนั้น มิได้เป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาตามยอมต้องมีคำสั่งรับฟ้องก่อน มิฉะนั้นเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
การประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลจะพิพากษาตามยอมได้ ศาลจะต้องมีคำสั่งรับฟ้องคดีนั้นแล้ว
โจทก์ฟ้องพร้อมยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้อง ส่วนคำฟ้องรอไว้สั่งเมื่อไต่สวนคำร้องขออนาถาเสร็จแล้วระหว่างไต่สวน โจทก์จำเลยทั้งหกตกลงกันได้และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมโดยศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งให้รับฟ้องโจทก์ก่อนจึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27บัญญัติไว้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงไม่ชอบ คำบังคับและหมายบังคับคดีที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามไปด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของจำเลย ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบด้วยมาตรา 247 และให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดของจำเลย
โจทก์ฟ้องพร้อมยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้อง ส่วนคำฟ้องรอไว้สั่งเมื่อไต่สวนคำร้องขออนาถาเสร็จแล้วระหว่างไต่สวน โจทก์จำเลยทั้งหกตกลงกันได้และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมโดยศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งให้รับฟ้องโจทก์ก่อนจึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27บัญญัติไว้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงไม่ชอบ คำบังคับและหมายบังคับคดีที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามไปด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของจำเลย ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบด้วยมาตรา 247 และให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดของจำเลย