คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กระบวนการพิจารณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลสั่งให้ดำเนินกระบวนการพิจารณาใหม่ หลังพบข้อผิดพลาดในการรวม/แยกคำฟ้อง และคืนค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 2 ฉบับ ซึ่งจำเลยใช้เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดและสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินรวมกันมา กับให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยทรัพย์ที่จำนองซึ่งโจทก์ชำระแทนจำเลยไปก่อน และมีคำขอให้บังคับจำนอง ซึ่งตามสัญญาจำนองระบุว่า จำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้า โดยไม่ได้แบ่งแยกว่าทรัพย์รายใดประกันหนี้ประเภทใด เป็นจำนวนเท่าใด การที่ศาลจะพิพากษาบังคับจำนองได้หรือไม่เพียงใด จำต้องพิจารณาก่อนว่าลูกหนี้ตามสัญญาแต่ละฉบับเมื่อรวมกันแล้วมียอดหนี้เป็นจำนวนเท่าใด มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้ โจทก์จึงชอบที่จะนำมูลหนี้ตามสัญญาทุกฉบับมารวมกันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องฟ้องเป็นคดีเดียวกันและชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1) ก. ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องข้อหากู้เบิกเงินเกินบัญชีและขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินออกเป็นแต่ละคดี กับให้เสียค่าขึ้นศาลตามรายคดีที่แยกฟ้องโดยอ้างเหตุผลว่าการรวมพิจารณาข้อหาเหล่านี้ด้วยกันจะเป็นการไม่สะดวก โดยศาลชั้นต้นไม่ได้ฟังคู่ความทุกฝ่ายก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 29 วรรคสอง และมีผลให้โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นโดยไม่ควรจะต้องเสียย่อมเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่การสั่งให้โจทก์แยกฟ้องแต่ละข้อหาออกเป็นแต่ละคดี กับให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเป็นรายคดีที่แยกฟ้องรวมทั้งการที่ศาลชั้นต้นอาศัยเหตุที่โจทก์ไม่ดำเนินการแยกฟ้องตามคำสั่งศาลดังกล่าวแล้วมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบไปด้วย
โจทก์ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขมานั้น จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ที่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา แต่เมื่อปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกาหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และเห็นสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องตามมาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์และการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องของศาลล่าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
คดีนี้ก่อนสืบพยานศาลชั้นต้นเห็นว่า ตามคำฟ้องและคำให้การคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดสืบพยานแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิ์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งหกรับผิดตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสี่ได้ พิพากษายกฟ้อง เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 การที่โจทก์ทั้งสี่อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว แม้จะมีคำขอท้ายอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้โจทก์ทั้งสี่ชนะคดีตามฟ้องก็ตาม แต่ถ้าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่แล้ว เห็นว่า อุทธรณ์ดังกล่าวฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ทั้งสี่ชนะคดีได้ เพราะยังไม่มีข้อเท็จจริงในสำนวนที่จะให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งหกจะต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่เพียงใด เนื่องจากศาลชั้นต้นงดสืบพยาน กรณีจึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป ดังนั้น การอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่ในกรณีเช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก.) ท้าย ป.วิ.พ. มิใช่เสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ทั้งสี่เรียกร้องแต่ปรากฏว่าในการยื่นอุทธรณ์โจทก์ทั้งสี่สำคัญผิดว่าจะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ทั้งสี่เรียกร้อง จึงได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียม ทั้งที่ในวันยื่นอุทธรณ์โจทก์ทั้งสี่ได้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาวางต่อศาลแล้วบางส่วนจำนวน 19,000 บาท ต่อมามีการวางเงินค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมอีกสองครั้งรวมค่าธรรมเนียมที่โจทก์ทั้งสี่ชำระมา 82,000 บาท ซึ่งเกินกว่าเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์กับเงินค่าธรรมเนียมที่โจทก์ทั้งสี่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เสียอีก กรณีไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมฉบับดังกล่าวและมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่ เพราะเหตุว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วน และเมื่อโจทก์ทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียม ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่อีกโดยอ้างเหตุว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่วางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 และการที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่ในเวลาต่อมา เป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยผิดหลงและไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ทั้งสี่มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการมีทนาย – กระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่ชอบ – ผลกระทบต่อการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ในการพิจารณาคดีก่อนถามคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วให้ส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพื่อพิจารณาพิพากษา ก็ไม่อาจแก้ไขกระบวนการพิจารณาที่เสียไปแล้วตั้งแต่ต้นให้กลับมาเป็นชอบด้วยกฎหมายได้ ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามขั้นตอน ทำให้กระบวนการพิจารณาที่ตามมาไม่ชอบ
การส่งหมายให้แก่คู่ความโดยวิธีอื่นแทนการส่งหมายโดยวิธีธรรมดาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึงมาตรา 78 แล้ว การที่ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสามทราบโดยปิดประกาศไว้ที่หน้าศาลโดยมิได้ส่งหมายนัดให้จำเลยทั้งสามทราบโดยวิธีธรรมดาก่อนจึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมาย ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 79 ทำให้การแจ้งวันนัดดังกล่าวไม่ชอบ อันมีผลทำให้กระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดไต่สวนที่ไม่ถูกต้องตามภูมิลำเนาของผู้รับหมาย ทำให้ผู้รับหมายไม่ได้รับโอกาสคัดค้านกระบวนการพิจารณา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง โดยมีสำเนาทะเบียนบ้านแนบท้ายคำร้องซึ่งมีข้อความระบุว่าผู้ร้องย้ายภูมิลำเนาจากบ้านเลขที่ 17/115 ไปที่บ้านเลขที่ 30/5 ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ปิดหมายตามคำแถลงของโจทก์ นอกจากนี้ตามบันทึกการปิดหมายของเจ้าหน้าที่ศาลก็ระบุว่า เจ้าหน้าที่ศาลได้รับแจ้งจากบุคคลใกล้เคียงว่า ผู้ร้องได้ย้ายบ้านใหม่แล้ว กรณีเช่นว่านี้นับว่ามีเหตุผลตามสมควรที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงที่แน่ชัดเสียก่อนว่าในขณะที่มีการส่งหมายนัดไต่สวนนั้น ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ ณ บ้านที่มีการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องหรือไม่ เพราะหากข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องย่อมเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบและทำให้ผู้ร้องเสียหายเพราะไม่มีโอกาสได้คัดค้านคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ทำการไต่สวนคำร้องให้ทราบข้อเท็จริงแน่ชัดเสียก่อนเช่นนี้ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661-6664/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้อนสำนวน – การรับฟังพยานเดิม – กระบวนการพิจารณาชอบ – ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 และคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ตั้งแต่วันที่เริ่มต้นทำการสืบพยาน แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เนื่องจากศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งแสดงว่า จำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้น กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ขาดนัดพิจารณาและทำไว้ก่อนศาลฎีกาพิพากษาให้ย้อนสำนวนเป็นไปโดยชอบ ต้องสืบพยานใหม่เฉพาะระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ศาลชั้นต้นหยิบยกคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสี่ดังกล่าวมาวินิจฉัย จึงไม่เป็นการผิดระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบ
ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (2) (3) เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะรับแก้ต่างให้ก็ได้ พนักงงานอัยการจึงมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การและบัญชีพยานจำเลยที่ 2 ลงนามแต่งตั้งให้ น. พนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษเป็นทนายความไว้แล้ว แต่ครั้นเมื่อมีการยื่นคำให้การและบัญชีพยานดังกล่าว กลับกลายเป็น ร. อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งเขต 3 สาขาศรีสะเกษ เป็นผู้ลงชื่อในคำให้การและบัญชีพยาน โดยจำเลยที่ 2 มิได้ลงนามแต่งตั้งให้ ร. เป็นทนายความของตน จึงมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3464/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดพลาด: ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์จำเลย ศาลฎีกายกให้ย้อนสำนวน
แม้จำเลยให้การรับสารภาพในส่วนความผิดฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้ผ่านช่องทางที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และมิได้ผ่านการตรวจอนุญาต กับฐานเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามคำฟ้องซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยนั้น ปรากฏว่าในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยนำสืบปฏิเสธว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดสองกระทงนี้ และในชั้นอุทธรณ์จำเลยยังได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วยว่า โจทก์เป็นผู้กล่าวหาจำเลย แต่โจทก์ไม่ได้พิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดสองกระทงนี้แต่อย่างใด ส่วนจำเลยมีพยานหลักฐานตามเอกสารหมาย ล. 1 ถึง ล. 3 มาพิสูจน์ให้เห็นว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดสองกระทงนี้ดังที่โจทก์ฟ้องและขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดสองกระทงนี้ด้วย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษาโดยผิดหลงไปว่าจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดสองกระทงนี้ด้วย และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยในความผิดสองกระทงนี้ โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และพิพากษาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ทำการพิจารณาและพิพากษาใหม่สำหรับความผิดสองกระทงดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8989/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตายของคู่ความก่อนศาลอ่านคำพิพากษา และการดำเนินการหาผู้แทนตามกฎหมาย
ในคดีแพ่ง แม้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตายก่อนศาลพิพากษา แต่ปรากฏต่อศาลเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาก็คงสมบูรณ์
โจทก์จึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แต่ปรากฏต่อศาลหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว เมื่อคดีอยู่ระหว่างระยะยื่นฎีกาศาลชั้นต้นย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาหาบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ รวมทั้งมีคำสั่งในการที่เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ตามนัยมาตรา 42, 43 และ 44 แห่ง ป.วิ.พ. การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวเสียก่อนแล้วมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์และจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8989/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตายของโจทก์หลังศาลอ่านคำพิพากษา แต่ก่อนฎีกา ศาลต้องหาผู้แทนก่อนรับฎีกา
ในคดีแพ่ง แม้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตายก่อนศาลพิพากษา แต่ปรากฏต่อศาลเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาก็คงสมบูรณ์
โจทก์ถึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แต่ปรากฏต่อศาลหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว เมื่อคดีอยู่ระหว่างระยะยื่นฎีกาศาลชั้นต้นย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาหาบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ รวมทั้งมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ตามนัย มาตรา 42, 43 และ 44 แห่ง ป.วิ.พ. การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวเสียก่อนแล้วมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์และจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
of 16