พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าด้วยปืนทำเอง กระสุนด้าน ไม่สำเร็จ
ยิงด้วยปืนชนิดทำเอง ใช้กระสุนเอ็ม 16 สับนก 3 ที กระสุนด้านไม่ลั่น คงอยู่ในรังเพลิง เป็นพยายามฆ่าคน แต่ไม่เกิดผลโดยบังเอิญตาม มาตรา 80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 783/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าโดยใช้กระสุนด้าน แม้ไม่ระเบิดแต่เจตนาประสงค์ต่อชีวิตผู้ถูกยิง
จำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหาย ปรากฏว่ากระสุนปืนที่จำเลยใช้ยิงนั้นเป็นกระสุนปืนด้าน ใช้ยิงไม่ได้ แต่จำเลยเข้าใจว่ายังคงใช้ได้จึงใช้ยิงผู้เสียหาย ถึงแม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากระสุนของกลางนัดนี้เคยใช้ยิงมาก่อนแล้ว 3 ครั้ง กระสุนด้าน จำเลยนำมาใช้ยิงครั้งนี้อีกเป็นครั้งที่ 4กระสุนก็ด้านอีก ย่อมเห็นได้ว่าการที่จำเลยนำกระสุนด้านดังกล่าวมาใช้ยิงผู้เสียหาย และกระสุนยังคงด้านไม่ระเบิดออกนั้น เป็นแต่เพียงการที่เป็นไปไม่ได้โดยเผอิญ หาเป็นการแน่แท้ว่าจะไม่สามารถทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงของจำเลยเช่นนั้นไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะพยายามกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 81 กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2513)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 783/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าด้วยปืนกระสุนด้าน: เจตนาและความเป็นไปได้ที่จะเกิดอันตราย
จำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหาย ปรากฏว่ากระสุนปืนที่จำเลยใช้ยิงนั้นเป็นกระสุนปืนด้านใช้ยิงไม่ได้ แต่จำเลยเข้าใจว่ายังคงใช้ได้จึงใช้ยิงผู้เสียหาย ถึงแม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากระสุนของกลางนัดนี้เคยใช้ยิงมาก่อนแล้ว 3 ครั้ง กระสุนด้าน จำเลยนำมาใช้ยิงครั้งนี้อีกเป็นครั้งที่ 4กระสุนก็ด้านอีก ย่อมเห็นได้ว่าการที่จำเลยนำกระสุนด้านดังกล่าวมาใช้ยิงผู้เสียหายและกระสุนยังคงด้านไม่ระเบิดออกนั้น เป็นแต่เพียงการที่เป็นไปไม่ได้โดยเผอิญ หาเป็นการแน่แท้ว่าจะไม่สามารถทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงของจำเลยเช่นนั้นไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะพยายามกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81 กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2513)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพยายามฆ่าด้วยอาวุธที่มีกระสุน หากกระสุนด้านแต่ยังมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอันตราย ต้องลงโทษตามมาตรา 80 ไม่ใช่ 81
กรณีที่จะปรับด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81 นั้นเกี่ยวกับปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เช่น ใช้ปืนที่มิได้มีกระสุนบรรจุอยู่เลยยิงคน โดยเข้าใจผิดคิดว่ามีกระสุนบรรจุอยู่พร้อมแล้ว ซึ่งอย่างไรๆ ก็ย่อมจะทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงมิได้เลย ดั่งนี้ จึงจะถือได้ว่า เป็นกรณีที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้
จำเลยใช้ปืนที่มีกระสุนบรรจุอยู่ถึง 7 นัดยิงโจทก์ร่วม กระสุนนัดแรกด้านไม่ระเบิดออกซึ่งอาจเป็นเพราะกระสุนเสื่อมคุณภาพหรือเพราะเหตุบังเอิญอย่างใดไม่ปรากฏ มิฉะนั้นแล้ว กระสุนก็ต้องระเบิดออกและอาจเกิดอันตรายแก่โจทก์ร่วมได้ หาเป็นการแน่แท้ไม่ว่าจะไม่สามารถกระทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงของจำเลยเช่นนั้นกรณีนี้ต้องปรับด้วย มาตรา 80 ไม่ใช่มาตรา 81และถ้าหากไม่มีคนเข้าขัดขวางจำเลยไว้ทันท่วงที จำเลยอาจยิงโจทก์ร่วมด้วยกระสุนที่ยังเหลือบรรจุอยู่นั้นต่อไปอีกก็ได้ ย่อมเห็นชัดว่า ไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามความหมายใน มาตรา 81
จำเลยใช้ปืนที่มีกระสุนบรรจุอยู่ถึง 7 นัดยิงโจทก์ร่วม กระสุนนัดแรกด้านไม่ระเบิดออกซึ่งอาจเป็นเพราะกระสุนเสื่อมคุณภาพหรือเพราะเหตุบังเอิญอย่างใดไม่ปรากฏ มิฉะนั้นแล้ว กระสุนก็ต้องระเบิดออกและอาจเกิดอันตรายแก่โจทก์ร่วมได้ หาเป็นการแน่แท้ไม่ว่าจะไม่สามารถกระทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงของจำเลยเช่นนั้นกรณีนี้ต้องปรับด้วย มาตรา 80 ไม่ใช่มาตรา 81และถ้าหากไม่มีคนเข้าขัดขวางจำเลยไว้ทันท่วงที จำเลยอาจยิงโจทก์ร่วมด้วยกระสุนที่ยังเหลือบรรจุอยู่นั้นต่อไปอีกก็ได้ ย่อมเห็นชัดว่า ไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามความหมายใน มาตรา 81
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9121/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษพยายามฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) และการคำนวณโทษกึ่งหนึ่งเมื่อกระสุนด้าน
ตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ต้องระวางโทษประหารชีวิต การคำนวณโทษกึ่งหนึ่งของโทษประหารชีวิตอย่างใดกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ จึงต้องนำ ป.อ. มาตรา 52 (2) มาใช้ในการกำหนดโทษ โทษกึ่งหนึ่งที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 คือ โทษจำคุกตลอดชีวิต หรือโทษจำคุกตั้งแต่ยี่สิบปีถึงห้าสิบปี ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตลอดชีวิตตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก่อนลดมาตราส่วนโทษหนึ่งในสามเป็นจำคุกคนละ 33 ปี 4 เดือน นั้น เป็นการลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดสำหรับความผิดนั้นแล้ว