คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กระแสไฟฟ้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1923/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันทรัพย์สินโดยชอบด้วยกฎหมาย: การใช้กระแสไฟฟ้าป้องกันการลักทรัพย์
โรงเก็บของของจำเลยอยู่ในบริเวณสวนของจำเลย มีรั้วต้นพู่ระหงปลูกเป็นแนวเขต จำเลยเก็บของอันมีค่าเช่นเครื่องยนต์สูบน้ำและอุปกรณ์อื่นๆไว้ ทรัพย์สินที่จำเลยเก็บไว้ในโรงเก็บของเคยถูกคนร้ายลักไปในตำบลที่เกิดเหตุมีคนร้ายชุกชุม จำเลยเอาเส้นลวดขึงที่โรงเก็บของและปล่อยกระแสไฟฟ้าจากบ้านไว้เพื่อป้องกันคนร้ายผู้ตายกับพวกอีก 3 คนบุกรุกเข้าไปที่โรงเก็บของในเวลาวิกาล โดยเจตนาจะลักทรัพย์ ในมือผู้ตายมีเหล็กไขควง 1 อัน แต่ผู้ตายไปถูกเส้นลวดที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้ถึงแก่ความตายเสียก่อน มิฉะนั้นผู้ตายกับพวกย่อมลักทรัพย์ของจำเลยไปได้ นับได้ว่าภยันตรายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สินของจำเลยใกล้จะถึงแล้ว ถ้าจำเลยไปพบเห็นเข้า จำเลยย่อมมีสิทธิทำร้ายผู้ตายกับพวกเพื่อป้องกันทรัพย์สินของจำเลยได้ ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันสิทธิของตนโดยชอบด้วยกฎหมาย และพอสมควรแก่เหตุ จำเลยจึงไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดต่อความเสียหายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร: การประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการสายโทรเลขและขอบเขตความรับผิดของเจ้าของทรัพย์
กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 2 ไม่ตรวจตราดูแลในการขึงสายโทรเลขซึ่งอยู่เหนือสายไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงสายโทรเลขจึงขาดลงมาพาดสายไฟฟ้าตรงที่ไม่มียางหุ้ม เพราะสายไฟฟ้านี้ใช้มานานจนยางที่หุ้มผุเปื่อยขาดโดยไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง จนเป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกได้ ปลายสายโทรเลขที่ขาดนั้นทอดไปตกยังพื้นดินที่ถนน กระแสไฟฟ้าจึงแล่นตามสายโทรเลขนั้นดูดกระบือของโจทก์ที่เดินมาถูกสายโทรเลขถึงแก่ความตายแม้ตามปกติสายโทรเลขจะมีกระแสไฟฟ้าไม่เป็นอันตรายแก่บุคคลและสัตว์ แต่เห็นได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิด ไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัย แม้จะมีข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 2 กับการไฟฟ้าฯ จำเลยที่ 1 ว่าในการขึงสายไฟฟ้าที่ผ่านสายโทรเลขให้ขึงอยู่สูงต่ำกว่ากันแค่ไหนจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2หลุดพ้นความรับผิดต่อโจทก์ แต่เมื่อได้ความว่าตรงจุดที่สายโทรเลขพาดกับสายไฟฟ้าซึ่งกระแสไฟฟ้ารั่วไหลได้นั้นเป็นสายไฟฟ้าที่อยู่ภายในช่วงที่ต่อจากหม้อวัดไฟเข้าไปยังบ้านของ น. ผู้ขอใช้ไฟ จึงถือไม่ได้ว่าสายไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพนั้นอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 วรรค 2 จำเลยที่ 1 จึงหาต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดต่อความเสียหายจากกระแสไฟฟ้า: ผู้ใช้ไฟฟ้ามีหน้าที่ระมัดระวังอุปกรณ์เสริม
โจทก์ซื้อกระแสไฟฟ้า 220 โวลท์จากจำเลย จำเลยส่งกระแสไฟฟ้าตกลงมากรับโทรทัศน์ไม่ได้ โจทก์จึงต้องเพิ่มไฟโดยหม้อเพิ่มไฟเพื่อให้ได้รับภาพได้ตามปกติ แล้วไฟฟ้าดับลง ต่อมาไฟจึงติดขึ้นใหม่แรงขึ้นสูงในทันทีทันใดทำให้เครื่องอัตโนมัติโทรทัศน์ของโจทก์เสีย ระหว่างที่ไฟฟ้าดับนั้น โจทก์ไม่ได้ลดหรือปลดหม้อเพิ่มไฟและไม่ได้ปิดเครื่องรับโทรทัศน์ ดังนี้ เห็นว่าโจทก์เป็นผู้นำเอาหม้อเพิ่มไฟมาใช้เองเป็นพิเศษ โจทก์ต้องมีหน้าที่ระมัดระวังควบคุมหม้อเพิ่มไฟนั้นจะถือว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่หรือขาดความระมัดระวังเป็นการประมาทเลินเล่อไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จำหน่ายกระแสไฟฟ้าต่อความเสียหายจากกระแสไฟฟ้าที่เกิดจากความชำรุดของอุปกรณ์
กระแสร์ไฟฟ้าถือว่าเป็นของที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพหรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หากเกิดความเสียหายขึ้นแก่ผู้ใดเพราะกระแสร์ไฟฟ้านั้น โดยเจ้าของผู้จำหน่ายไม่สามารถพิศูจน์ได้ว่าเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายเองแล้ว เจ้าของผู้จำหน่ายกระแสร์ไฟฟ้านั้นต้องรับผิด โดยมิต้องคำนึงถึงว่าเจ้าของผู้จำหน่ายกระแสร์ไฟฟ้าได้กระทำการโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของสัมปทานไฟฟ้าต่อความเสียหายจากกระแสไฟฟ้าอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อ
กระแสไฟฟ้าถือว่าเป็นของที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพหรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หากเกิดความเสียหายขึ้นแก่ผู้ใดเพราะกระแสไฟฟ้านั้น โดยเจ้าของผู้จำหน่ายไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายเองแล้ว เจ้าของผู้จำหน่ายกระแสไฟฟ้านั้นต้องรับผิดโดยมิต้องคำนึงถึงว่าเจ้าของผู้จำหน่ายกระแสไฟฟ้าได้กระทำการโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยกระแสไฟฟ้าใส่ผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย ถือเป็นการทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย
ปล่อยกระแสไฟฟ้าไปตามสายลวดเพื่อให้คนจับเข้ากะตุกถือว่าเป็นการทำร้ายร่างกายอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย จำเลยต้องมีผิดตาม ม.251

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7650/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันสิทธิโดยเกินสมควรแก่เหตุ: ความรับผิดทางอาญาจากการใช้กระแสไฟฟ้าป้องกันทรัพย์สิน
จำเลยจะไม่ยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยกระทำโดยป้องกันสิทธิของตนพอสมควรแก่เหตุขึ้นว่ากล่าวมาแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยขึงเส้นลวดและปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้บริเวณหน้าต่างห้องพักของจำเลยเพื่อป้องกันขโมยเข้ามาลักทรัพย์ในห้องพักของจำเลย จึงเป็นเหตุให้เด็กชาย ก. บุตรเลี้ยงของจำเลยซึ่งลักลอบปีนหน้าต่างเพื่อเข้าไปลักทรัพย์ในห้องพักของจำเลยถูกกระแสไฟฟ้าช็อตถึงแก่ความตาย แม้การกระทำของผู้ตายจะถือเป็นการประทุษร้ายอันเป็นละเมิดต่อกฎหมายและต่อทรัพย์สินของจำเลยที่จำเลยมีสิทธิที่จะป้องกันทรัพย์สินของตนได้ แต่พฤติการณ์ที่จำเลยต่อและปล่อยกระแสไฟฟ้าแรงสูงถึง 220 โวลต์ ไปตามเส้นลวดที่ไม่มีฉนวนหุ้มนั้นย่อมเป็นอันตรายร้ายแรงโดยสภาพที่สามารถทำให้ผู้อื่นที่ไปสัมผัสถูกถึงแก่ความตายได้ ดังนั้น แม้จะเป็นการป้องกันคนร้ายที่จะเข้ามาลักทรัพย์สินในห้องพักของจำเลยและทำร้ายจำเลยกับภรรยาได้ แต่การกระทำของจำเลยก็เป็นการเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ตาม ป.อ. มาตรา 69