คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรุงเทพมหานคร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเพิกถอนสูติบัตร: กรุงเทพมหานครไม่ใช่หน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย
กรุงเทพมหานครไม่ใช่นายทะเบียนผู้มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตรตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจึงไม่อาจฟ้องบังคับกรุงเทพมหานครให้เพิกถอนสูติบัตรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่นายทะเบียนเพิกถอนสูติบัตร: กรุงเทพมหานครไม่ใช่ผู้มีอำนาจเพิกถอน
กรุงเทพมหานครไม่ใช่นายทะเบียนผู้มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตรตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจึงไม่อาจฟ้องบังคับกรุงเทพมหานครให้เพิกถอนสูติบัตรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงเรือนรุกล้ำที่ดิน: ภารจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือน, รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างอื่น, ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครไม่ผูกพันเจ้าของที่ดิน
การสร้างโรงเรือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 หมายถึงการสร้างบ้านสำหรับอยู่อาศัย ดังนั้นโรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำ และแท็งก์น้ำจึงมิใช่โรงเรือนตามความหมายของบทบัญญัติมาตรานี้ และไม่ถือว่าเป็น ส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงเรือนด้วย แม้จำเลยจะสร้างหรือทำ โดยสุจริต ก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง จำเลยต้องรื้อถอน ออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ทั้งสองไปจดทะเบียนภารจำยอมให้จำเลยเฉพาะส่วนที่โรงเรือนของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โดยให้วัดเป็นแนวดิ่ง ตามแนวชายคาหรือส่วนใดส่วนหนึ่งที่ยื่นล้ำออกจากตัวโรงเรือน ตั้งฉากกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองยาวตลอดแนวที่ปลูกสร้างรุกล้ำ นั้นเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนภารจำยอมไว้ ชัดแจ้งแล้ว ไม่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์ทั้งสอง กับจำเลยซึ่งจะต้องตกลงกันอีกแต่อย่างใด และตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 นั้น ย่อมหมายถึง ให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่ รุกล้ำเท่านั้น ไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำ เข้าไปในที่ดินของผู้อื่นได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของ ผู้อื่นอีก 2 เมตร โดยวัดจากตัวโรงเรือนส่วนที่รุกล้ำเข้าไป แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 74 กำหนดให้อาคารที่ปลูกในที่ดินเอกชน ให้ผนังด้านที่มีหน้าต่างประตูหรือช่องระบายอากาศ อยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตร ก็ตามก็เป็นคนละกรณีกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8298/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบูรณะสะพานของกรุงเทพมหานครไม่เป็นละเมิด แม้จะกระทบต่อทรัพย์สินของประชาชน หากเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่และกฎหมาย
สะพาน น.เป็นสะพานที่ก่อสร้างและเปิดใช้การมานานประมาณ 50 ปีแล้ว มีความชำรุดเสื่อมโทรมมากจนอาจจะเกิด อันตรายต่อบุคคลผู้ใช้ยานพาหนะและแก่ประชาชนทั่วไปผู้ใช้สัญจรไปมา การที่กรุงเทพมหานครจำเลยดำเนินการบูรณะ และซ่อมแซมสะพานดังกล่าวตามหลักวิชาการ เพื่อให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อประโยชน์แก่ผู้ใช้ยานพาหนะและแก่ประชาชนทั่วไปให้ได้รับความปลอดภัย ถือได้ว่าการกระทำ ของจำเลยเป็นการบำรุงรักษาสะพานซึ่งเป็นทางสัญจรทางบกอันเป็นอำนาจและหน้าที่ของจำเลย ตามที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 89(6)บัญญัติไว้ แม้การก่อสร้างนั้นจะทำให้บันไดทางขึ้นลงสะพานต้องเปลี่ยนจากแนวเดิมเป็นแนวใหม่ทอดยาวไปตามถนนเกือบ สุดแนวตึกแถวหรือร้านค้าของโจทก์ และทำให้สะพานกับเสาสะพาน ปิดบังหน้าร้านค้าของโจทก์ก่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายบ้าง ก็ตาม แต่เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่มีกฎหมาย รับรองให้กระทำได้ จำเลยมิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ กระทำต่อโจทก์เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยผิดกฎหมาย จึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการเช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร: การมอบอำนาจที่ไม่ถูกต้องทำให้สัญญาเช่าเป็นโมฆะ
ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า หนังสือสัญญาเช่าเป็นโมฆะหรือไม่นั้น ย่อมครอบคลุมถึงประเด็นที่ว่า หนังสือสัญญาเช่าและการจดทะเบียนการเช่ามีผลผูกพันโจทก์หรือไม่
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การทรัพย์สิน พ.ศ.2529ข้อ 12 ระบุว่า การให้เช่าทรัพย์สินต้องมีเงื่อนไข ดังนี้
"(1) ระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 3 ปี รวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน 3 ปี ให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา เว้นแต่ปลัดกรุงเทพมหานครจะมีความเห็นเป็นอย่างอื่น (2) ระยะเวลาการเช่าเกิน 3 ปี รวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งเกิน 3 ปี ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา เว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะสั่งการเป็นอย่างอื่น"ซึ่งข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 9 พฤษภาคม 2529 แล้ว การที่ ส.ในฐานะปลัดกรุงเทพมหานครทำหนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่ 7 ตุลาคม 2529 ให้ ว.ทำหนังสือสัญญาเช่ากับจำเลยตามเอกสารหมาย จ.1 และทำหนังสือสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าอาคารพิพาทตามหนังสือสัญญาเช่าและหลักฐานการจดทะเบียนการเช่าเอกสารหมาย จ.2และ จ.3 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 ซึ่งเป็นวันที่ทำหลังจากวันที่ 9 พฤษภาคม2529 แล้ว และรวมทั้งได้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยทรัพย์สิน พ.ศ.2525ข้อ 12 ว่า "การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา เว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะสั่งการเป็นอย่างอื่น โดยมีเงื่อนไขดังนี้ (1) การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 1 ปี รวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน 1 ปี ให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานคร(2) การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี รวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน 3 ปี ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(3) การให้เช่าทรัพย์ของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาเช่าเกิน 3 ปี รวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข้อ 13 ในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่สมควรยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือซึ่งมิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้รายงานขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นราย ๆ ไป" และระเบียบกรุงเทพมหานครนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2525 เป็นต้นไปดังนั้นเมื่ออาคารพิพาทเป็นของกรุงเทพมหานครโจทก์แล้ว ส.ในฐานะปลัดกรุงเทพมหานครจึงจะนำอาคารพิพาทของโจทก์ไปให้จำเลยเช่าและทำหนังสือสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าเป็นระยะเวลา 15 ปี โดยลำพังหาได้ไม่หนังสือสัญญาเช่าและการจดทะเบียนการเช่าที่ ส.ทำกับจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเป็นโมฆะเมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และโจทก์มีสิทธิขับไล่จำเลยออกจากอาคาร
ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่าหนังสือสัญญาเช่าเป็นโมฆะหรือไม่นั้นย่อมครอบคลุมถึงประเด็นที่ว่าหนังสือสัญญาเช่าและการจดทะเบียนการเช่ามีผลผูกพันโจทก์หรือไม่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการทรัพย์สินพ.ศ.2529ข้อ12ระบุว่าการให้เช่าทรัพย์สินต้องมีเงื่อนไขดังนี้ "(1)ระยะเวลาการเช่าไม่เกิน3ปีรวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน3ปีให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคาเว้นแต่ปลัดกรุงเทพมหานครจะมีความเห็นเป็นอย่างอื่น(2)ระยะเวลาการเช่าเกิน3ปีรวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งเกิน3ปีให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคาเว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะสั่งการเป็นอย่างอื่น"ซึ่งข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือวันที่9พฤษภาคม2529แล้วการที่ส. ในฐานะปลัดกรุงเทพมหานครทำหนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่7ตุลาคม2529ให้ว. ทำหนังสือสัญญาเช่ากับจำเลยตามเอกสารหมายจ.1และทำหนังสือสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าอาคารพิพาทตามหนังสือสัญญาเช่าและหลักฐานการจดทะเบียนการเช่าเอกสารหมายจ.2และจ.3ลงวันที่20พฤศจิกายน2529ซึ่งเป็นวันที่ทำหลังจากวันที่9พฤษภาคม2529แล้วและรวมทั้งได้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยทรัพย์สินพ.ศ.2525ข้อ12ว่า"การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคาเว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะสั่งการเป็นอย่างอื่นโดยมีเงื่อนไขดังนี้(1)การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเช่าไม่เกิน1ปีรวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน1ปีให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานคร(2)การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกิน1ปีแต่ไม่เกิน3ปีรวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน3ปีให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(3)การให้เช่าทรัพย์ของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาเช่าเกิน3ปีรวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยข้อ13ในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่สมควรยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือซึ่งมิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้รายงานขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นรายๆไป"และระเบียบกรุงเทพมหานครนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่1มกราคมพ.ศ.2525เป็นต้นไปดังนั้นเมื่ออาคารพิพาทเป็นของกรุงเทพมหานครโจทก์แล้วส. ในฐานะปลัดกรุงเทพมหานครจึงจะนำอาคารพิพาทของโจทก์ไปให้จำเลยเช่าและทำหนังสือสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าเป็นระยะเวลา15ปีโดยลำพังหาได้ไม่หนังสือสัญญาเช่าและการจดทะเบียนการเช่าที่ส. ทำกับจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7325/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างตึกแถวผิดแบบ เว้นที่ว่างด้านหลังไม่เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
ตึกแถวที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตโดยด้านหลังตึกแถวสร้างชิดเขตที่ดินแม้จะไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ75เพราะเป็นผนังทึบแต่อาคารที่จำเลยครอบครองเป็นตึกแถวจึงอยู่ในบังคับของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ76ที่จะต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า2.00เมตรจึงไม่อาจสร้างให้ด้านหลังชิดเขตที่ดินติดต่อได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5325/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักรเพื่อประดิษฐ์ดอกไม้เทียมเข้าข่ายเป็นการค้าที่รังเกียจหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การอัดกลีบตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหมายถึงการอัดกลีบผ้าหรือสิ่งอื่นใดเพื่อให้เป็นจีบหรือเป็นกลีบแม้การอัดกลีบแล้วผ้าที่ได้อัดกลีบนั้นจะเปลี่ยนสภาพจากผ้าที่ใช้สอยเป็นสิ่งประดิษฐ์อย่างอื่นด้วยเช่นประดิษฐ์เป็นกลีบดอกไม้หรือใบไม้ถ้าหากเป็นการอัดกลีบโดยใช้เครื่องจักรแล้วก็ถือได้ว่าเป็นการค้าซึ่งเป็นที่รังเกียจหรืออาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการเวนคืน: กทม.ละเลยแจ้งข้อมูลเวนคืน ทำให้ผู้ซื้อเสียหาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดให้เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 9 เมื่อพระราช-กฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาว พ.ศ. 2517 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ดังนั้น กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินกรุงเทพ-มหานครทราบตามมาตรา 9 ค. เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้แจ้ง จึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หากจำเลยที่ 1 ไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อโจทก์มาจดทะเบียนการซื้อขาย เจ้าพนักงานที่ดินก็จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทจะต้องถูกเวนคืน โจทก์ก็คงจะไม่ซื้อที่ดินและอาคารพิพาท การละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 1ดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงก่อให้บังเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 ไม่แจ้งให้บริษัท ธ.ทราบ เป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท ธ. หากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่บริษัท ธ.จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 2 ส่วนโจทก์ซึ่งรับโอนอาคารพิพาทจากบริษัท ธ. ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อหนึ่งนั้น โจทก์หาได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 ไม่ ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะที่ดินถูกเวนคืนและอาคารพิพาทถูกรื้อ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2529 ถือได้ว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่กล่าวนี้เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่มูลละเมิดเกิดขึ้น คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสำนักงานปุ๋ย: ไม่ใช่ส่วนราชการ กทม. ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศคุ้มครองแรงงาน
แม้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2518 ได้ถูกยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ก็ตาม แต่การจัดระเบียบ ราชการกรุงเทพมหานครที่บัญญัติไว้ในมาตรา 60 ก็เป็น ทำนองเดียวกับมาตรา 11 ที่ถูกยกเลิก ซึ่งหาได้มีสำนักงานปุ๋ย กรุงเทพมหานคร รวมอยู่ด้วยไม่ เมื่อสำนักงานปุ๋ยฯ ได้จัดตั้ง ขึ้นครั้งแรกโดยกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้อนุมัติให้ เทศบาลนครกรุงเทพเป็นผู้จัดตั้งและดำเนินการ โดยมิได้จัดตั้ง ขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากนี้ตาม ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการควบคุมและดำเนินงานของ สำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2507 ก็ให้มี คณะกรรมการบริหาร มีหน้าที่บริหารกิจการของสำนักงานปุ๋ยฯ โดยเฉพาะ แยกไปจากการบริหารราชการของเทศบาลนครกรุงเทพมหานครอีกทั้งในบทเฉพาะกาลข้อ 26 ในระยะเริ่มแรกซึ่งตั้งสำนักงานปุ๋ยฯ เทศบาลนครกรุงเทพก็ตั้งค่าใช้จ่ายและทุน ดำเนินงานให้ต่างหากโดยจัดสรรเงินทุนหมุนเวียนให้ และใน ข้อ 27 ยังได้ระบุไว้ด้วยว่า การดำเนินกิจการของสำนักงานปุ๋ยฯ เมื่อปรากฏผลกำไรจากกำไรสุทธิให้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งส่งให้เป็นรายได้ของเทศบาลนครกรุงเทพอีกส่วนหนึ่งให้เป็นเงินสำรองเพื่อปรับปรุงขยายกิจการหรือลงทุนเพิ่มขึ้น แสดงว่าการจัดตั้งสำนักงานปุ๋ยฯ ขึ้นก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ดังนี้สำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพหรือสำนักงานปุ๋ยกรุงเทพมหานครจึงไม่ใช่ส่วนราชการของกรุงเทพมหานครและไม่เป็นราชการส่วนท้องถิ่น จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 1(3) จำเลยที่ 1 ในฐานะนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของสำนักงานปุ๋ยกรุงเทพมหานคร รวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารและเป็นผู้อำนวยการจำเลยที่ 1 ตามลำดับ ในฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 จึงมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง
of 2