พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากเหตุรายงานข้อสงสัยผู้บริหารต่อ กลต. และข้อผิดพลาดในการทำงานที่ไม่ร้ายแรง
การทำงานของโจทก์ที่ล่าช้าในการส่งรายการฐานะการเงินให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.) และปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กลต. กำหนด เป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกเปรียบเทียบปรับนั้นเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นปกติและเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในปีแรกที่เพิ่งดำเนินการ ต่อมาโจทก์ก็ไม่เคยทำผิดพลาดอีก ข้อผิดพลาดเช่นนี้บริษัทหลักทรัพย์อื่น ๆ ก็เคยถูกเตือนหรือถูกปรับเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกันหรือสูงกว่าอีกทั้งส่วนงานอื่นของจำเลยก็เคยถูก กลต. มีมติให้เปรียบเทียบปรับเช่นกัน การกระทำผิดพลาดของโจทก์จึงมิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายและมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยในกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15645/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจ กลต. และ ป.ร.ส. กับผลของการไม่ปฏิบัติตามระเบียบในการทำธุรกรรม
พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 14 ให้อำนาจคณะกรรมการ กลต. กำกับดูแลในเรื่องหลักทรัพย์และธุรกิจหลักทรัพย์ และให้รวมถึงออกระเบียบหรือข้อกำหนดตาม พ.ร.บ.นี้ ซึ่งคณะกรรมการ กลต. อาศัยอำนาจตามมาตรา 14 และมาตรา 117 ออกข้อกำหนด ตามประกาศคณะกรรมการ กลต. เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ซึ่งเป็นข้อกำหนดเพื่อการยื่นคำขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ซึ่งหากการยื่นคำขอไม่เข้าหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตามข้อกำหนด สำนักงานคณะกรรมการ กลต. ย่อมมีอำนาจที่จะไม่อนุมัติให้จดทะเบียนจัดตั้งกองทุนรวมเสียได้เท่านั้น หาใช่เป็นการออกประกาศข้อกำหนด หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในกิจการ ซึ่งบังคับให้ต้องกระทำหรือห้ามมิให้กระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่หากฝ่าฝืนแล้วจะมีความผิดและต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ การจดทะเบียนจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม แม้ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด จึงมิใช่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะตกเป็นโมฆะ ทั้งข้อกำหนดดังกล่าวก็มิใช่เป็นแบบของนิติกรรมที่กฎหมายบังคับไว้ ซึ่งหากมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบแล้วจะมีผลทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะเช่นกัน
ข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ ที่กำหนดว่า หากผู้ชนะการประมูลต้องการเสนอให้ผู้อื่นลงนามในสัญญาขายแทน ผู้ชนะการประมูลจะต้องระบุชื่อพร้อมกับยื่นเอกสารของผู้ที่จะลงนามในสัญญาขายตามที่ระบุในรายละเอียดเอกสารเพิ่มเติมมายังองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ป.ร.ส.) ภายใน 2 วัน ทำการ นับจากวันประมูลนั้น เป็นเพียงระเบียบที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินกำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกและความเป็นระเบียบในการประมูล หาใช่เป็นบทกฎหมายที่หากไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนแล้วจะมีผลทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ การที่ ป.ร.ส. ไม่ได้ยึดถือข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ ดังกล่าวที่กำหนด เกี่ยวกับวันเวลาตามที่บริษัทเงินทุน ก. โอนสิทธิที่จะเข้าทำสัญญาขายแก่โจทก์เกินกำหนดเวลา 2 วันทำการ นับจากวันประมูล จึงไม่ทำให้สัญญาขายเสียไปและการที่โจทก์เข้าทำสัญญาซื้อขาย โดยไม่ได้เข้าประมูลแข่งขันก็ไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 30 วรรคห้า เพราะข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ เป็นระเบียบที่ออกมาเพื่อเป็นข้อปฏิบัติภายหลังจากที่มีการประมูลซื้อทรัพย์สินเปิดประมูลโดยเปิดเผยแล้ว
ข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ ที่กำหนดว่า หากผู้ชนะการประมูลต้องการเสนอให้ผู้อื่นลงนามในสัญญาขายแทน ผู้ชนะการประมูลจะต้องระบุชื่อพร้อมกับยื่นเอกสารของผู้ที่จะลงนามในสัญญาขายตามที่ระบุในรายละเอียดเอกสารเพิ่มเติมมายังองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ป.ร.ส.) ภายใน 2 วัน ทำการ นับจากวันประมูลนั้น เป็นเพียงระเบียบที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินกำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกและความเป็นระเบียบในการประมูล หาใช่เป็นบทกฎหมายที่หากไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนแล้วจะมีผลทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ การที่ ป.ร.ส. ไม่ได้ยึดถือข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ ดังกล่าวที่กำหนด เกี่ยวกับวันเวลาตามที่บริษัทเงินทุน ก. โอนสิทธิที่จะเข้าทำสัญญาขายแก่โจทก์เกินกำหนดเวลา 2 วันทำการ นับจากวันประมูล จึงไม่ทำให้สัญญาขายเสียไปและการที่โจทก์เข้าทำสัญญาซื้อขาย โดยไม่ได้เข้าประมูลแข่งขันก็ไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 30 วรรคห้า เพราะข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ เป็นระเบียบที่ออกมาเพื่อเป็นข้อปฏิบัติภายหลังจากที่มีการประมูลซื้อทรัพย์สินเปิดประมูลโดยเปิดเผยแล้ว