พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6917/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามชิงทรัพย์ไก่ชนกลางคืน: การกระทำไม่สำเร็จและบทลงโทษ
ผู้เสียหายเบิกความโดยไม่ได้ความว่าไก่ชนของผู้เสียหายพ้นขึ้นมาจากสุ่มไก่ แล้วหรือไม่ หรือจำเลยปล่อยไก่ชนในสุ่มไก่หรือปล่อยไว้บนลานดินนอก สุ่ม ไก่ อันจะเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเอาไก่ชนของผู้เสียหายแยกออกจากสุ่มไก่ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ไก่ชนติดอยู่ภายในไม่สามารถนำเอาออกไปได้ เมื่อกรณียังมีข้อสงสัยต้องฟังข้อเท็จจริงให้เป็นคุณแก่จำเลยคือจำเลยยังไม่ได้เอาไก่ชนของผู้เสียหายออกจากสุ่มไก่การกระทำของจำเลยจึงเป็นการลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่การยึดถือเอาไก่นั้นยังไม่บรรลุผล จึงอยู่ในขั้นพยายามลักทรัพย์ เมื่อจำเลยลงมือกระทำความผิดในเวลากลางคืนโดยใช้ฉมวกเป็นอาวุธขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายเพื่อให้พ้นจากการจับกุม จึงเป็นความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบมาตรา 80 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยว่ามีความผิดตามมาตรา 339 วรรคแรก และวางโทษจำคุก 5 ปี แล้วลดโทษให้หนึ่งในสามคงเหลือจำคุก 3 ปี 4 เดือน ต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของมาตรา 339 วรรคสอง ประกอบมาตรา 80 โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ จำเลยเป็นฝ่ายอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ เมื่อจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสองประกอบมาตรา 80 ศาลฎีกาก็ลงโทษจำเลยได้ไม่เกินโทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถจอดกีดขวาง-ชนท้ายกลางคืน: ไม่ต้องแจ้งเหตุตาม พรบ.จราจร
รถที่จอดอยู่เกือบกึ่งกลางถนนในเวลากลางคืนโดยไม่มีไฟให้เห็น ถูกรถที่ขับมาชนท้าย รถที่จอดและถูกชนมิใช่รถที่ขับอยู่ในทางผู้ขับรถคันนี้ไม่ต้องแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 30 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเวลาความผิดทางอาญา: การพิจารณาช่วงเวลากลางคืนและก่อนย่ำรุ่ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิดในระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกวันที่ 3 สิงหาคม 2490 ถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นวันที่ 4 สิงหาคม 2490 อันเป็นเวลากลางคืนตามกฎหมาย แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2490 เวลา 2.00 น. ซึ่งเป็นเวลาก่อนย่ำรุ่งของวันที่ 3 สิงหาคม 2490 ถือได้ว่าเป็นเวลาคนละคืนกับที่โจทก์ฟ้อง ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 192 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเวลา 'กลางคืน' ทางกฎหมาย: พิจารณาจากดวงอาทิตย์ขึ้น/ตก ไม่ใช่แค่มีแสงสว่าง
เวลาเกิดเหตุมีแสงอาทิจแล้วแต่ดวงอาทิจยังไม่ขึ้นจากขอบฟ้งดังนี้ ถือว่าเปนเวลากลางคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเวลา 'กลางคืน' ทางกฎหมาย และผลต่อการฟ้องคดีอาญา
กลางคืนหมายความว่าขอลาระหว่างตั้งแต่พระอาทิตย์ตกไปจนพระอาทิตย์ขึ้น
ฟ้องว่ากระทำผิดในคืนวันที่ 10 ได้ความว่ากระทำผิดในคืนวันที่ 9 แม้จะเป็นเวลาเที่ยงคืนล่วงแล้วก็ต้องยกฟ้อง
อ้างฎีกาที่ 1272/2479
ฟ้องว่ากระทำผิดในคืนวันที่ 10 ได้ความว่ากระทำผิดในคืนวันที่ 9 แม้จะเป็นเวลาเที่ยงคืนล่วงแล้วก็ต้องยกฟ้อง
อ้างฎีกาที่ 1272/2479
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456-457/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเวลา 'กลางคืน' ในความผิดอาญา: ต้องเป็นช่วงระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นของวันเดียวกัน
กลางคืนย่อมหมายความว่าเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกไปจนถึงพระทิตย์ขึ้น
ฟ้องว่ากระทำผิดในวันแรม 1 ค่ำเวลากลางคืนฟ้องหมายความว่ากระทำผิดในระหว่างเวลาพระทิตย์ตกและขึ้นของวันแรม 1 ค่ำ หากทางพิจารณาได้ความว่ากระทำผิดในระหว่างเวลาพระทิตย์ตกและขึ้นของวันขึ้น 15 ค่ำ แล้วต้องยกฟ้อง
อ้างฎีกาที่ 1272/2479
ฟ้องว่ากระทำผิดในวันแรม 1 ค่ำเวลากลางคืนฟ้องหมายความว่ากระทำผิดในระหว่างเวลาพระทิตย์ตกและขึ้นของวันแรม 1 ค่ำ หากทางพิจารณาได้ความว่ากระทำผิดในระหว่างเวลาพระทิตย์ตกและขึ้นของวันขึ้น 15 ค่ำ แล้วต้องยกฟ้อง
อ้างฎีกาที่ 1272/2479
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุในสถานการณ์คับขันช่วงกลางคืน
ผู้ตายขึ้นไปบนเรือนในเวลาค่ำคืน จำเลยเข้าใจว่าเป็นผู้ร้ายลักทรัพย์จึงใช้ขวานแลมีคดีผู้ตาย ๆ ถอยออกไปข้างนอก จำเลยยังติดตามไปตีอีกโดยเป็นเวลาขณะติดพันกันอยู่ ผู้ตายถึงแก่ความตายที่นั้นดังนี้ ถือ ว่าเป็นการกระทำเพื่อฟ้องกันตัวแลทรัพย์พอสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเวลา 'กลางคืน' ทางกฎหมาย: เวลาโพล้เพล้ยังไม่มืดไม่ถือเป็นกลางคืน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดเวลากลางวัน พิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำผิดเวลาจวนพลบค่ำยังไม่มืดดังนี้ ไม่เรียกว่าเป็นฟ้องผิดเวลาลงโทษจำเลยได้
เวลาจวนพลบค่ำยังไม่มืดนั้น ไม่เรียกว่าเป็นเวลากลางคืนตามความหมายใน ม.6(24)
เวลาจวนพลบค่ำยังไม่มืดนั้น ไม่เรียกว่าเป็นเวลากลางคืนตามความหมายใน ม.6(24)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องผิดวันในความผิดอาญา: การตีความ 'กลางคืน' และวันเวลาที่กระทำผิด
ฟ้อง แปลฟ้องโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดวันแรม 8-9 ค่ำเวลากลางคืนติดต่อกัน ต้องแปลว่าจำเลยกระทำผิดในเวลาตลอดคืนแห่งวันแรม 8 ค่ำกับ + ค่ำต่อกัน ฎีกาอุทธรณ์ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริง+แปลวันในฟ้องว่าเป็นวันไหนนั้น เป็นข้อกฎหมายปัญหาที่ว่าโจทก์ฟ้องผิดวันแล้วจำเลยหลงต่อสู้หรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริง