พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกล่าวถ้อยคำสบประมาทต่อหน้า: ความผิดฐานดูหมิ่น vs. หมิ่นประมาท
จำเลยกล่าวถ้อยคำต่อหน้าโจทก์ร่วมและลูกน้องของโจทก์ร่วมว่า"แม่มึงไม่ต้องไปฟัง กูจะเอาอย่างนี้ ถ้าเซ็นไม่ได้ก็ไม่เป็นไร คุณเป็นหัวหน้าคนได้อย่างไร ทำงานไม่รับผิดชอบ ตัดสินปัญหาไม่ได้ พอมีปัญหาก็โยนกันไปโยนกันมา คนร.ส.พ.ทำงานกันอย่างนี้หรือ" โดยกล่าวในที่ทำงานของโจทก์ร่วมขณะที่โจทก์ร่วมกำลังปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นการสบประมาทโจทก์ร่วม ทำให้โจทก์ร่วมอับอายขายหน้าเป็นการดูหมิ่นโจทก์ร่วมซึ่งหน้า ตาม ป.อ. มาตรา 393 และเนื่องจากถ้อยคำดังกล่าวเป็นการวิจารณ์การทำงานของโจทก์ร่วมที่กล่าวต่อโจทก์ร่วมโดยตรง ไม่มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาทต้องระบุข้อความเสียหายชัดเจน และการกล่าวต้องต่อหน้าหรือต่อคนอื่น
ฟ้องหาว่าหมิ่นประมาทโดยกล่าวว่า จำเลยมีจดหมายอันมีข้อความหมิ่นประมาทถึงและว่าจำเลยส่งสำเนาโฆษณาไปยังอีกคนหนึ่งด้วย ดังนี้ ยังไม่เป็นการกล่าวต่อหน้าหรือกล่าวแก่คนสองคน ไม่ต้องด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาท
ฟ้องความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น เพียงแต่อ้างหนังสือที่ว่าหมิ่นประมาทมาท้ายฟ้องไม่พอจะต้องระบุในฟ้องให้ชัดเจนด้วยว่า ข้อความตอนไหนเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
ฟ้องความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น เพียงแต่อ้างหนังสือที่ว่าหมิ่นประมาทมาท้ายฟ้องไม่พอจะต้องระบุในฟ้องให้ชัดเจนด้วยว่า ข้อความตอนไหนเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์