พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน: จำเลยคือคณะกรรมการในฐานะตำแหน่งหน้าที่
การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนกระทำในรูปคณะบุคคลอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนก็มีผลผูกพันกรรมการทุกคนไม่ว่าจะได้เข้าร่วมประชุมพิจารณาวินิจฉัยด้วยหรือไม่ ดังนั้น การฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจึงไม่ใช่เป็นการฟ้องคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนในฐานะส่วนตัวแต่เป็นการฟ้องในทางตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมาย คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนทั้งคณะจึงถูกฟ้องเป็นจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7493/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนในการระงับการจ่ายเงินทดแทนชั่วคราวขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ตามที่ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 32 (5)ระบุว่า คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 52 นั้น หมายความว่ามีอำนาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่าเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ให้จ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบห้าหรือไม่ แต่จะมีคำสั่งระงับการจ่ายเงินทดแทนเป็นการชั่วคราวหาได้ไม่ เพราะการมีคำสั่งดังกล่าวย่อมมีผลเป็นการทุเลาการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ อันเป็นการขัดต่อมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 ที่บัญญัติเป็นใจความว่าการอุทธรณ์หรือนำคดีไปสู่ศาลไม่เป็นการทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือของคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี
แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมีอำนาจในการรวบรวมพยานหลักฐานโดยจะเป็นผู้รวบรวมเอง หรือแต่งตั้งคณะอนุกรรมการช่วยรวบรวมก็เป็นการกระทำเพื่อนำมาพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์นั่นเอง และเมื่อยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าเห็นด้วยกับอุทธรณ์และสั่งให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของพนักงานเงินทดแทนที่ให้จ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามสิบห้า ซึ่งคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนยังต้องวินิจฉัยต่อไปแต่ยังอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมพยานหลักฐาน ถ้าถือว่าคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีอำนาจที่จะมีคำสั่งระงับการจ่ายเงินทดแทนเป็นการชั่วคราวแล้วก็จะมีผลเป็นการเปิดช่องให้มีการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติของมาตรา 54 ได้ ย่อมไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ของบทบัญญัติในมาตราดังกล่าว
แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมีอำนาจในการรวบรวมพยานหลักฐานโดยจะเป็นผู้รวบรวมเอง หรือแต่งตั้งคณะอนุกรรมการช่วยรวบรวมก็เป็นการกระทำเพื่อนำมาพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์นั่นเอง และเมื่อยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าเห็นด้วยกับอุทธรณ์และสั่งให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของพนักงานเงินทดแทนที่ให้จ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามสิบห้า ซึ่งคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนยังต้องวินิจฉัยต่อไปแต่ยังอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมพยานหลักฐาน ถ้าถือว่าคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีอำนาจที่จะมีคำสั่งระงับการจ่ายเงินทดแทนเป็นการชั่วคราวแล้วก็จะมีผลเป็นการเปิดช่องให้มีการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติของมาตรา 54 ได้ ย่อมไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ของบทบัญญัติในมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7493/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนในการระงับจ่ายเงินทดแทนระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ขัดต่อหลักการตามพรบ.เงินทดแทนมาตรา 54
ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ.2537มาตรา32(5)คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีอำนาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่าเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ให้จ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่แต่จะมีคำสั่งระงับการจ่ายเงินทดแทนเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของนายจ้างหาได้ไม่เพราะการมีคำสั่งดังกล่าวย่อมมีผลเป็นการทุเลาการปฎิบัติตามคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่อันเป็นการขัดต่อมาตรา54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดอายุความฟ้องร้องการกำหนดรหัสประเภทกิจการและการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสมทบของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 6 และข้อ 23 ว่า สำนักงานกองทุนเงินทดแทนเป็นผู้กำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่พอใจจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน
โจทก์ยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับการกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2536 คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้วินิจฉัยแล้วมีมติว่า โจทก์อยู่ในรหัสประเภทกิจการ 1004"การประกอบรถยนต์" อัตราเงินสมทบร้อยละ 0.6 และรหัสประเภทกิจการอื่น ๆเพิ่มเติมตามประเภทกิจการของผู้ว่าจ้างโจทก์ โดยโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2536 การที่โจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์ต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยตามข้อ 25 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวข้างต้น แต่โจทก์มิได้ฟ้องคดีภายในกำหนดโดยฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2537 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนและการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 8 เป็นกรณีที่ถ้าปรากฏว่ารหัสประเภทกิจการที่กำหนดไว้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนวินิจฉัยและเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของนายจ้างให้ตรงกับข้อเท็จจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของโจทก์แต่อย่างใด ทั้งการอุทธรณ์ตามข้อ 8 ก็ไม่ต้องขอให้สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่ 1 วินิจฉัยก่อน ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงไม่เป็นการอุทธรณ์ตามข้อ 8แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น
โจทก์ยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับการกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2536 คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้วินิจฉัยแล้วมีมติว่า โจทก์อยู่ในรหัสประเภทกิจการ 1004"การประกอบรถยนต์" อัตราเงินสมทบร้อยละ 0.6 และรหัสประเภทกิจการอื่น ๆเพิ่มเติมตามประเภทกิจการของผู้ว่าจ้างโจทก์ โดยโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2536 การที่โจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์ต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยตามข้อ 25 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวข้างต้น แต่โจทก์มิได้ฟ้องคดีภายในกำหนดโดยฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2537 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนและการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 8 เป็นกรณีที่ถ้าปรากฏว่ารหัสประเภทกิจการที่กำหนดไว้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนวินิจฉัยและเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของนายจ้างให้ตรงกับข้อเท็จจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของโจทก์แต่อย่างใด ทั้งการอุทธรณ์ตามข้อ 8 ก็ไม่ต้องขอให้สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่ 1 วินิจฉัยก่อน ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงไม่เป็นการอุทธรณ์ตามข้อ 8แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดรหัสประเภทกิจการเงินสมทบทุนกองทุนเงินทดแทนและการหมดอายุการฟ้องร้อง
การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงนั้นมิใช่เป็นการอุทธรณ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องอัตราและวิธีเก็บเงินสมทบการวางเงินทดแทน ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่11มิถุนายนพ.ศ.2516ในข้อ8เนื่องจากไม่ปรากฏว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของโจทก์แต่อย่างใดและการอุทธรณ์ตามข้อ8ไม่ต้องขอให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนวินิจฉัยก่อนดังนั้นเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์มิได้ยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยโจทก์จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดรหัสประเภทกิจการและการหมดอายุสิทธิฟ้องร้องกรณีอุทธรณ์ผลการพิจารณาของกองทุนเงินทดแทน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่11มิถุนายน2516ข้อ6และข้อ23ว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนเป็นผู้กำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่พอใจจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน โจทก์ยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับการกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเมื่อวันที่29เมษายน2536คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้วินิจฉัยแล้วมีมติว่าโจทก์อยู่ในรหัสประเภทกิจการ1004"การประกอบรถยนต์"อัตราเงินสมทบร้อยละ0.6และรหัสประเภทกิจการอื่นๆเพิ่มเติมตามประเภทกิจการของผู้ว่าจ้างโจทก์โดยโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อวันที่24พฤศจิกายน2536การที่โจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์ต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนัดแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยตามข้อ25ของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวข้างต้นแต่โจทก์มิได้ฟ้องคดีภายในกำหนดโดยฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่23กันยายน2537โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่11มิถุนายน2516ข้อ8เป็นกรณีที่ถ้าปรากฎว่ารหัสประเภทกิจการที่กำหนดไว้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนวินิจฉัยและเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของนายจ้างให้ตรงกับข้อเท็จจริงเมื่อไม่ปรากฎว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของโจทก์แต่อย่างใดทั้งการอุทธรณ์ตามข้อ8ก็ไม่ต้องขอให้สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่1วินิจฉัยก่อนดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงไม่เป็นการอุทธรณ์ตามข้อ8แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของกองทุนเงินทดแทน: การบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมกีฬาถือเป็นการทำงาน
อำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและผู้เป็นเจ้าของกองทุนเงินทดแทนคือกรมแรงงาน
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน คือหน่วยงานหนึ่งของกรมแรงงานการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กับของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนถือเป็นการกระทำของกรมแรงงาน เมื่อโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องกรมแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2527 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบในตารางที่ 1 ท้ายประกาศ โดยกำหนดประเภทกิจการเป็นรหัส และอัตราเงินสมทบแตกต่างกัน ก็เพื่อจะเรียกเก็บเงินสมทบมากน้อยตามประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงไม่เท่ากันในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน มิใช่เป็นการจำกัดความรับผิดว่า ถ้าลูกจ้างไม่ได้ประสบอันตรายเพราะการทำงานปกติหรือตามวัตถุประสงค์ของนายจ้างแล้ว สำนักงานกองทุนเงินทดแทนก็ไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน เพราะประเภทกิจการอย่างหนึ่งของนายจ้างอาจมีงานอื่น ๆ นอกเหนือจากสภาพการทำงานปกติของลูกจ้างรวมอยู่ด้วย เมื่อนายจ้างของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นนักกีฬาฟุตบอล เพื่อแข่งขันกีฬาระหว่างธนาคารซึ่งระเบียบของนายจ้างถือว่าการแข่งขันและการฝึกซ้อมกีฬาเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร การที่โจทก์ประสบอันตรายในขณะฝึกซ้อมฟุตบอล จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน คือหน่วยงานหนึ่งของกรมแรงงานการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กับของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนถือเป็นการกระทำของกรมแรงงาน เมื่อโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องกรมแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2527 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบในตารางที่ 1 ท้ายประกาศ โดยกำหนดประเภทกิจการเป็นรหัส และอัตราเงินสมทบแตกต่างกัน ก็เพื่อจะเรียกเก็บเงินสมทบมากน้อยตามประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงไม่เท่ากันในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน มิใช่เป็นการจำกัดความรับผิดว่า ถ้าลูกจ้างไม่ได้ประสบอันตรายเพราะการทำงานปกติหรือตามวัตถุประสงค์ของนายจ้างแล้ว สำนักงานกองทุนเงินทดแทนก็ไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน เพราะประเภทกิจการอย่างหนึ่งของนายจ้างอาจมีงานอื่น ๆ นอกเหนือจากสภาพการทำงานปกติของลูกจ้างรวมอยู่ด้วย เมื่อนายจ้างของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นนักกีฬาฟุตบอล เพื่อแข่งขันกีฬาระหว่างธนาคารซึ่งระเบียบของนายจ้างถือว่าการแข่งขันและการฝึกซ้อมกีฬาเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร การที่โจทก์ประสบอันตรายในขณะฝึกซ้อมฟุตบอล จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของกองทุนเงินทดแทน กรณีลูกจ้างประสบอันตรายจากการฝึกซ้อมกีฬาเพื่อการทำงาน
อำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและผู้เป็นเจ้าของกองทุนเงินทดแทนคือกรมแรงงาน สำนักงานกองทุนเงินทดแทน คือหน่วยงานหนึ่งของ กรมแรงงานการปฏิบัติหน้าที่ของ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน กับของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนถือเป็นการกระทำของ กรมแรงงาน เมื่อโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง กรมแรงงาน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2527 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบในตารางที่ 1 ท้ายประกาศ โดยกำหนดประเภทกิจการเป็นรหัส และอัตราเงินสมทบแตกต่างกัน ก็เพื่อจะเรียกเก็บเงินสมทบมากน้อยตามประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงไม่เท่ากันในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน มิใช่เป็นการจำกัดความรับผิดว่า ถ้าลูกจ้างไม่ได้ประสบอันตรายเพราะการทำงานปกติหรือตาม วัตถุประสงค์ของนายจ้างแล้ว สำนักงานกองทุนเงินทดแทนก็ไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน เพราะประเภทกิจการอย่างหนึ่งของนายจ้างอาจมีงานอื่น ๆ นอกเหนือจากสภาพการทำงานปกติของลูกจ้างรวมอยู่ด้วยเมื่อนายจ้างของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นนักกีฬาฟุตบอลเพื่อแข่งขันกีฬาระหว่างธนาคารซึ่ง ระเบียบของนายจ้างถือว่าการแข่งขันและการฝึกซ้อมกีฬาเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร การที่โจทก์ประสบอันตรายในขณะฝึกซ้อมฟุตบอล จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวทนายและการหมดอายุความคดีกองทุนเงินทดแทน ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลแรงงานกลาง
การจะอนุญาตให้ทนายความถอนตนจากการตั้งแต่ง เป็นทนายความของตัวความในคดีหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตัวจากการเป็นทนายความของจำเลย แล้วทนายจำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางควรให้ทนายจำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขอถอนตัวไปให้จำเลยทราบเสียก่อน และควรมีคำสั่งเลื่อนการพิจารณาคดีไปก่อนนั้น เท่ากับเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่าศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตนจากการตั้งแต่งเป็นทนายความของจำเลยโดยไม่ชอบ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การฟ้องเรียกเงินที่ นายจ้าง ต้องจ่ายเข้าสมทบกองทุนเงินทดแทนไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือใช้อายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนด 10 ปี
การฟ้องเรียกเงินที่ นายจ้าง ต้องจ่ายเข้าสมทบกองทุนเงินทดแทนไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือใช้อายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนด 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวทนาย & อายุความฟ้องเรียกเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
การจะอนุญาตให้ทนายความถอนตนจากการแต่งตั้งเป็นทนายความหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตัวจากการเป็นทนายความของจำเลย ทนายจำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานควรให้ทนายจำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขอถอนตัวไปให้จำเลยทราบเสียก่อน และควรมีคำสั่งเลื่อนการพิจารณาคดีไปก่อนนั้นเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 การฟ้องเรียกเงินที่นายจ้างต้องจ่ายเข้าสมทบกองทุนเงินทดแทนไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี