พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักตัวชาวต่างชาติที่ถูกสั่งห้ามเข้าประเทศและการใช้ดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีคำสั่งไม่อนุญาตให้อ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร เพราะมีพฤติการณ์ค้ายาเสพติดและเป็นธุระจัดหาผู้หญิงเพื่อส่งไปประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 16 อ.ย่อมมีลักษณะต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 12(10) คำสั่งนั้นย่อม มีผลใช้บังคับได้จนกว่าถูกยกเลิกหรือเพิกถอน หลังจากนั้นอ. ได้เดินทางเข้าออกราชอาณาจักรหลายครั้ง โดยได้รับอนุญาตและมีหนังสือเดินทางถูกต้อง แต่ก็หามีผลทำให้อ. กลับกลายเป็นคนต่างด้าวที่มีลักษณะไม่ต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักรไม่ ดังนั้นเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจพบ อ. ในราชอาณาจักร จึงจับอ.ส่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามมาตรา 22และ 54 แต่พนักงานอัยการขอรับตัว อ.มาฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลในความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469ก่อนแม้ศาลในคดีดังกล่าวจะอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว อ.กับห้ามมิให้อ.เดินทางออกนอกราชอาณาจักร และแม้อ. จะมีกำหนดเดินทางออกนอกราชอาณาจักรก่อนถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมไม่กี่วันก็ตาม แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมืองฯ มาตรา 54 วรรคสาม ก็มีอำนาจรับตัวและกักตัว อ. ไว้ต่อไปได้ ณ สถานที่ใดเป็นเวลานานเท่าใดตามความจำเป็นเนื่องจาก อ.เป็นคนต่างด้าวเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตดังกล่าว เมื่อไม่ได้ความว่าคำสั่งของ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ให้กักตัว อ. เพื่อรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงถือไม่ได้ว่าการกักตัว อ. เป็นการคุมขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันจะเป็นเหตุให้ศาลสั่งปล่อยตัว อ.ตามที่ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาของ อ. ร้องต่อศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 240 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการกักตัวคนต่างด้าวที่อยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 33, 38 หาได้จำกัดเฉพาะคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ เมื่อคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่จะส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ย่อมมีอำนาจฝากกักคนต่างด้าวนั้นไว้ที่สถานีตำรวจภูธรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกักตัวคนต่างด้าวที่อยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 33,38 หาได้จำกัดเฉพาะคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไม่เมื่อคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตพนักงานเจ้าหน้าที่จะส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ย่อมมีอำนาจฝากกักคนต่างด้าวนั้นไว้ที่สถานีตำรวจภูธรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจช่วยเหลือคนต่างด้าวหลบหนีจากศูนย์กักตัว ไม่ถึงขั้นละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้ร่วมกับพวกช่วยพาคนต่างด้าวสัญชาติลาวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493ไปเสียจากที่ควบคุมเพื่อมิให้ต้องถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศลาวตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยจำเลยกับพวกนำรถยนต์มารับคนลาวดังกล่าวไป จำเลยเห็นแต่ละเลยไม่จับกุมดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 58 แต่ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมข้อพิพาทเรื่องกระบือหายและการกักตัวผู้ต้องสงสัย ศาลตัดสินว่าไม่มีเจตนาทุจริต
ลูกบ้านได้ขอให้กำนันเอาผู้เสียหายไปสอบถามให้แน่นอนในเรื่องที่ลูกบ้านสงสัยว่าผู้เสียหายซ่อนกระบือของตนที่หายไป กำนันจึงเอาตัวผู้เสียหายไปบ้านกำนัน เรียกร้องให้ผู้เสียหายใช้ราคากระบือแก่ลูกบ้านแล้วลูกบ้านจะไม่เอาเรื่อง ผู้เสียหายก็ยอมเสียค่ากระบือให้ลูกบ้าน ๆ ก็ไม่เอาเรื่องต่อไปและกำนันได้จัดการทำหนังสือปรองดองกันไว้ แล้วไม่เอาตัวผู้เสียหายส่งไปยังพนักงานสอบสวน ดังไม่ใช่มีเจตนาจะกระทำการทุจจริตต่อหน้าที่ จึงไม่มีผิดฐานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ทางทุจริติตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 136,137,138,+42 และการที่กำนันกักตัวผู้เสียหายไว้จนชำระเงินกันแล้ว +ปล่อยนั้นเมื่อกำนันคิดว่ากำนันก็อำนาจทำได้ ไม่มีเจตนาที่จะกักขังให้ผู้เสียหายเสื่อมเสียอิสสระภาพแล้ว กำนันก็ยังไม่ผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 268,270
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10072/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการจับกุมและการฟ้องคดีอาญา: การกักตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหารภายใต้กฎอัยการศึก
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 ร้อยเอก ธ. กับพวก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตรวจสอบรถบรรทุกลากจูงและรถพ่วงที่จำเลยขับโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457 ซึ่งมาตรา 15 ทวิ บัญญัติว่า "ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลใดจะเป็นราชศัตรูหรือได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้หรือต่อคำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจกักตัวบุคคลนั้นไว้เพื่อการสอบถามหรือตามความจำเป็นของทางราชการทหารได้ แต่ต้องกักไว้ไม่เกินกว่า 7 วัน" การที่ร้อยเอก ธ. กับพวกกักตัวจำเลยไว้ก่อนที่จำเลยจะหลบหนีจึงเป็นการกักตัวตามที่พระราชบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจหน้าที่ฝ่ายทหารไว้เฉพาะ มิใช่การจับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 78 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 แม้ขณะกักตัวจำเลยจะมีเจ้าพนักงานตำรวจอยู่ด้วยก็ตาม ทั้งนี้การจับบุคคลใดจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เมื่อยังไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลและไม่เข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้จะมี เจ้าพนักงานตำรวจร่วมอยู่ด้วยในการกักตัวจำเลยก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับ ดังนี้ วันที่ 20 พฤษภาคม 2558 จำเลยจึงยังไม่ถูกจับ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ที่โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2558 การที่พนักงานสอบสวนดำเนินการฝากขังจำเลยในคดีนี้ จึงชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักตัวคนต่างด้าวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สถานที่กักขังไม่เหมาะสม และการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง
การกักตัวคนต่างด้าวตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ไม่อยู่ในความหมายบทนิยาม "คุมขัง" ตาม ป.อ. มาตรา 1 (12) โดยที่ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองกักตัวคนต่างด้าวไว้ ณ สถานที่ใดตามที่เห็นเหมาะสม แต่การที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองไม่มีห้องกักตัวที่เหมาะสมเป็นของตัวเอง แล้วนำผู้ร้องซึ่งเป็นคนต่างด้าวไปกักตัวไว้ในห้องคุมตัวหรือควบคุมผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาของสถานีตำรวจ จึงมิใช่เป็นการกักตัวผู้ร้องไว้ ณ สถานที่เหมาะสม และกรณีมีเหตุจำเป็นต้องกักตัวผู้ร้องไว้เกินกำหนดเจ็ดวัน โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองไม่ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีอำนาจกักตัวคนต่างด้าวต่อไปอีก เป็นการไม่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 20 วรรคสอง การกักตัวผู้ร้องไว้ในห้องคุมตัวหรือควบคุมผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาของสถานีตำรวจดังกล่าว จึงเป็นการคุมขังในกรณีอื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90